Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
 

๑. กำเนิดแห่งชีวิต
๒. อุดมคติแห่งชีวิต
๓. ปณิธานแห่งชีวิต
๔. ผลงานแห่งชีวิต

พุทธทาสรำลึก
โดย อรศรี งามวิทยาพงศ์

ก่อนกำเนิดสวนโมกข์ (๒๔๔๙-๒๔๗๔)
ตามรอยพระอรหันต์ (๒๔๗๕-๒๔๘๔)
ประกาศธรรมทุกทิศ (๒๔๘๕-๒๕๐๔)
ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย (๒๕๐๕-๒๕๒๔)
ธรรมะเพื่อสังคมและโลก(๒๕๒๕-๒๕๓๔)
สวนโมกข์วันนี้
สวนโมกข์ในอนาคต

 

พุทธทาสจักไม่ตาย

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย
แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา

พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย
ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา
ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย

พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย
อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ

แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง

ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง

ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ

 

 

๑. กำเนิดแห่งชีวิต 


พ.ศ. ๒๔๕๓ ด.ช.เงื่อม วัย ๔ ขวบ
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของ พ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้อง สองคน เป็นชาย ชื่อ ยี่เก้ย และ เป็นหญิง ชื่อ กิมซ้อย
บิดาของท่าน มีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลัก คือ การค้าขาย ของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีน นิยมทำกัน ทั่วไป แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจาก บิดา กลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้าน กวี และ ทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงาน อดิเรก ที่รักยิ่ง ของบิดา  

ด.ช.เงื่อม กับ นายเซี้ยง บิดาและ ด.ช.ยี่เก้ย น้องชายส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัย ที่เน้น เรื่อง ความประหยัด เรื่องละเอียดละออ ในการใช้จ่าย และการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ
ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมา ค้าขาย แทนบิดา ซึ่งเสียชีวิต 

พระเงื่อม เมื่อแรกบวช ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตาม คตินิยม ของชายไทย ที่วัด โพธาราม ไชยา ได้รับ ฉายา ว่า "อินทปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึก เป็นสุข และสนุก ในการศึกษา และ เทศน์ แสดงธรรม ทำให้ท่าน ไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคยถามท่าน ขณะที่ เป็น พระเงื่อม ว่า มีความคิดเห็น อย่างไร ในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า "ผมคิดว่า จะใช้ชีวิต ให้เป็น ประโยชน์ แก่ เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด" "..แต่ถ้า ยี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้อง สึก ออกไป อยู่บ้าน ค้าขาย" ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุย กับโยมแม่ ของท่าน ว่า ท่านควรจะ อยู่เป็นพระ ต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้อยชาย ของท่าน นั้น ไม่ต้องบวช ก็ได้ เพราะมีชีวิต เหมือน พระ อยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ ก็ เรียบง่าย ตัดผม สั้นเกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลย ไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด
นาย ยี่เก้ย ต่อมา ก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาส ผู้เป็นกำลังหลัก ของ คณะธรรมทาน ในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ของ สวนโมกขพลาราม

 NEXT

 

ประวัติท่านพุทธทาส คัดจากหนังสือ พุทธสาสนา ปีที่ ๖๗ เล่ม ๒ พุทธศักราช ๒๕๔๒