Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร

 

ความหมายของการขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช หมายถึง การเพิ่มจำนวนต้นพืชและพันธุ์ที่มีอยู่ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยไม่ได้นำมาจากที่อื่น ทั้งยังคงพันธุ์ในด้านลักษณะ คุณสมบัติและคุณภาพที่ดีไว้ให้เหมือนเดิมหรือให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย

ประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช

  1. เพื่อเพิ่มหรือทวีจำนวนให้มากยิ่งขึ้น
  2. รักษาพันธุ์พืชที่มีอยู่ไม่ให้สูญพันธุ์ และสามารถรักษาลักษณะพันธุ์เดิมเอาไว้
  3. เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งจะได้พันธุ์ใหม่ ๆ
  4. เพื่อหาพันธุ์ที่ดี ทนทานต่อโรคและเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม

วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการขยายพันธุ์พืช

ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องการขยายพันธุ์พืชนั้น จะกล่าวถึงเรื่องของวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ก่อน เพราะว่าในขั้นตอนของการปฏิบัตินั้น ผู้ทำการขยายพันธุ์พืชจะต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ดังต่อไปนี้

  1. วัสดุ วัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในงานขยายพันธุ์พืช ได้แก่
    • ทรายหยาบ ทรายหยาบนี้จะต้องเป็นทรายน้ำจืด
    • ขี้เถ้าแกลบ คือแกลบเผานั่นเอง แต่ยังไม่ถึงกับเป็นผงซะทีเดียว
    • ขุยมะพร้าว
    • ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ควรเป็นปุ๋ยที่ผ่านกรรมวิธีอบหรือตากจนแห้งสนิท ปราศจากเชื้อ โรคและแมลงศัตรูพืช
    • ดินร่วน
    • สารเคมีสำหรับป้องกันและกำจัดโรคและแมลง
    • ปูนแดง
    • ฮอร์โมนเร่งราก
    • ทั้งนี้วัสดุต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชนั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานนั้น ๆ ด้วย เช่น การตอนกิ่ง กิ่ง ก็จะใช้มีดคม ๆ ,ถุงพลาสติก, เชือกฟาง และ ขุยมะพร้าวส่วนการปักชำนั้นใช้ได้ทั้ง ทราย ขี้เถ้าแกลบ และขุยมะพร้าว

    • อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้ ได้แก่
      • กระบะเพาะชำ กระบะเพาะชำนี้อาจจะทำมาจากไม้ สูงประมาณ 5-6 นิ้ว และควรมีร่องหรือรูให้น้ำระบายออกได้ด้วย ส่วนการชำหรือการเพาะเมล็ดจำนวนเล็กน้อย ก็อาจจะใช้ตะกร้าพลาสติก ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูกแทนก็ได้ แต่ควรปูพื้นด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์สักชั้นหนึ่งก่อน เพื่อช่วยซับน้ำเอาไว้ไม่ให้ไหลระบายออกเร็วเกินไป หรือถ้าหาทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้ ก็อาจใช้กระถางแตกหรือภาชนะต่าง ๆ ที่ชำรุดแล้วก็ได้
      • กระบะเพาะชำ
      • ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกที่จะใช้ในงานขยายพันธุ์พืชนี้มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดใสและชนิดดำ ซึ่งชนิดใสนั้นจะนิยมใช้ในการทาบกิ่ง ส่วนชนิดสีดำ จะเป็นถุงที่นิยมใช้ในการเพาะชำ ซึ่งจะหนากว่าชนิดใสและมีรูระบายน้ำที่เจาะเอาไว้เรียบร้อยแล้ว และนิยมใช้กันตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
      • พลาสติกพันกิ่ง พลาสติกพันกิ่งนี้มีให้เลือกได้หลายขนาด หลายสี แต่ที่นิยมใช้ คือชนิดใสและขนาดความกว้างก็ไม่เกิน 1 นิ้ว
      • ผ้าพลาสติก โดยทั่วไปจะขายเป็นม้วน แต่ก็สามารถแบ่งซื้อเป็นเมตรได้
      • พลาสติกพันกิ่ง
        ผ้าพลาสติก

         

      • เชือกฟางและลวด ในการขยายพันธุ์พืชบางวิธีเช่น การตอน การทาบกิ่ง และการเปลี่ยน ยอด ก็จำเป็นจะต้องใช้เชือกฟางหรือลวด เพื่อให้เกิดความกระชับแน่น
      เชือกฟาง
    • เครื่องมือ ในการขยายพันธุ์พืช เครื่องมือเครื่องใช้ต่อไปนี้มีความสำคัญและจำเป็นมาก
      • กรรไกรตัดกิ่ง มีความจำเป็นมากในการขยายพันธุ์พืช ใช้สำหรับต้ดกิ่งไม้ในการปักชำ ในการตัดกิ่งนั้นให้ตัดตรงจุดกึ่งกลางของใบมีดพอดี และกิ่งที่จะตัดจะต้องเป็นกิ่งที่มีเนื้อไม้ไม่แข็งจนเกินไป มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 0.5 นิ้ว การตัดควรตัดให้เอียงทำมุม 45 องศา เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรดูแลใบมีดให้คมอยู่เสมอ ชะโลมน้ำมันแล้วล็อคเก็บไว้
      กรรไกรตัดกิ่ง

       

      • มีดตอนหรือมีดติดตา มีดตอนหรือมีดติดตานี้สำคัญมากเพราะการขยายพันธุ์โดยการตอน การติดตา การต่อกิ่ง หรือการเสียบยอด จะต้องอาศัยมีดที่มีความคมและใช้งานได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน คือ ปลายมีดใช้กรีดเปลือกต้นตอ คมมีดใช้เฉือนแผ่นตา เฉือนยอด เฉือนกิ่ง และการเตรียมแผลต่าง ๆ บนต้นตอ ส่วนด้ามมีดก็จะมีเขาหรือกระดูกสำหรับลอกหรือเผยอเปลือกออก ปัจจุบันนิยมใช้มีดตัดโฟมหรือที่เรียกว่า คัทเตอร์ (Cutter) กันมาก เพราะมีราคาถูกและคมสามารถหักส่วนที่ใช้แล้วที่ไม่คมออกไปและเปลี่ยนใบมีดใหม่ได้
      •  
      • เครื่องมืออื่น ๆ เช่น มีด เลื่อย ขวาน จอบ เสียม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและลักษณะของงานที่จะใช้

      การบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือหลังจากการใช้งาน

      ในเรื่องของการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือหลังจากการใช้งานนี้ จะกล่าวถึงแต่เฉพาะในเรื่องของมีดที่จะใช้ในการตอน, ติดตา หรือต่อกิ่ง และกรรไกรตัดกิ่งเท่านั้น

      1. มีด มีดหลังจากใช้งานแล้วจะต้องทำความสะอาดและลับให้คมเช่นเดิม เพื่อความสะดวก สบายในการนำมาใช้งานครั้งต่อไปและก่อนการเก็บใบมีดทุกครั้ง ควรจะชะโลมน้ำมันให้ทั่วใบมีดเพื่อกันสนิม
      2. กรรไกรตัดกิ่ง เช่นเดียวกันกับมีด คือจะต้องทำความสะอาด และลับคมกรรไกรเช่นกันโดยส่วนมากแล้วกรรไกรตัดกิ่งนี้จะลับคมก็ต่อเมื่อผ่านการใช้งานมาอย่างหนักหรือเมื่อเริ่มรู้สึกว่าความคมของกรรไกรเริ่มลดลง ปัจจุบันกรรไกรมีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่ถอดใบมีดได้และแบบใบมีดในตัว เมื่อลับคมเสร็จแล้วก็ชะโลมน้ำมันกันสนิม

      การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

      1. การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด คือ การนำเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ไปเพาะเป็นต้นกล้าให้เจริญเติบโตเป็นต้นต่อไปซึ่งลักษณะต้นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมีลักษณะที่ดีกว่าเดิม หรือเลวกว่าเดิมก็ได้วิธีขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนี้มีข้อดีคือ พืชมีรากแก้ว เป็นวิธีที่เหมาะกับการขยายพันธุ์พืชจำนวนมาก มีวิธีการและขั้นตอนไม่มากนักแต่มีข้อเสียที่กลายพันธุ์ได้ ต้นใหญ่ และกว่าจะออกผลต้องใช้เวลานาน พืชสมุนไพรหลายชนิดขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ เช่น ต้นคูน, ยอ และฟ้าทะลายโจร วิธีการที่สะดวกและนิยมกันมาก คือการเพาะใส่กระถาง หรือถุงพลาสติก วัสดุที่ใช้ คือ ขี้เถ้าแกลบ ทรายหยาบ หรือดินปนทราย แต่ที่เหมาะที่สุด คือ ขี้เถ้าแกลบ เพราะขี้เถ้าแกลบไม่จับตัวแข็ง ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี แดดส่องสะดวก ถุงพลาสติกที่ใช้ต้องเจาะรูให้น้ำไหลได้ วิธีทำโดยใส่ขี้เถ้าแกลบลงในถุงพลาสติกเสร็จแล้วล้างขี้เถ้าแกลบให้หมดด่างเสียก่อนถ้าหากไม่ใช้ขี้เถ้าแกลบจะใช้ดินร่วนปนทราย โดยใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมให้เข้ากันดี หยอดเมล็ดให้ลึกขนาด 3 เท่า ของเมล็ดที่ใช้เพาะ ถุงละ 2-3 เมล็ด (ถ้าเมล็ดใหญ่ใช้ 1 เมล็ด) ดูอย่าให้แดดจัด รดน้ำพอประมาณ วันละครั้งอย่าให้น้ำขังเพราะจะทำให้เมล็ดเน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ถูกแดดบ้างเมื่อต้นเจริญเติบโตพอควร ก็แยกไปปลูกในที่ที่ต้องการได้
      2. การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืช คือการขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น กิ่ง,หน่อ,หัว,ใบ,เหง้า,ไหล เป็นต้น โดยนำไป ชำ,ตอน,แบ่งแยก,ติดตา,เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้ ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืช คือ ไม่กลายพันธุ์สะดวกต่อการดูแลรักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่นหากสนใจสามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร
      1. การแยกหน่อ หรือกอ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย, กล้วย, ตะไคร้, ขิง, ข่า,หอม, เตย และ ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
      2. หรือกอ ทำได้โดยแยกหน่อจะต้องเลือกหน่อที่แข็งแรงมีใบ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเพื่อให้ดินนุ่ม ขุดแยกออกมาอย่างระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกมาแล้วเอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย นำหน่อที่แยกตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มเก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงแปลงก็บังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง ระวังอย่าให้น้ำขัง
      3. การแยกหอม
         การแยกหน่อข่า

         

      4. การปักชำ พืชสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว, ขลู่ และ ดีปลี ปักชำได้ง่ายโดยใช้ลำต้น หรือกิ่งโดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกรที่คมตัดเฉียง โดยใช้กิ่งชำมีตาติดอยู่สัก 3-4 ตา ตัดแล้วริดใบออกให้เหลือใบแต่น้อย ใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อรา นำไปปักลงบนกระบะที่บรรจุขี้เถ้าแกลบ หรือดินร่วนปนทรายผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด การปักให้ปักเอน 45-60 องศา ให้ปลายชี้ไปทางทิศตะวันตก เพื่อให้ตาที่จะแตกออกมาอยู่ในทางทิศตะวันออก ไม้ใหญ่ปักห่างหน่อย ไม้เล็กปักถี่หน่อย กลบดินให้แน่นไม่ให้โยกคลอน การรดน้ำให้สม่ำเสมอ และอย่าให้แฉะ และอย่ารดน้ำแรงจะทำให้กิ่งโยกคลอน เมื่อรากแตกและมีใบเจริญขึ้นก็ย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ได้
      5. การปักชำกิ่ง
      6. การตอนกิ่ง เหมาะที่จะขยายพันธุ์พืช ที่มีกิ่งค่อนข้างแข็งแรง พืชสมุนไพร เช่น กานพลู นิยมใช้การตอน ทำได้โดยใช้มีดควั่นเปลือกให้เป็น 2 รอยห่างกันประมาณเส้นรอบวงของกิ่งนั้น ลอกเปลือกและขูดเปลือกออก วิธีหุ้มและห่อกิ่งตอนซึ่งปกติจะทำ 2 ขั้นตอนคือ จะหุ้มกิ่งเสียก่อน แล้วจึงห่อกิ่งด้วยพลาสติก แต่ปัจจุบันจะทำการหุ้มและห่อในคราวเดียวกัน นั่นคือจะนำขุยมะพร้าวที่ชื้นมาอัดใส่ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะกับตุ้มกิ่งตอน โดยอัดให้แน่นพอตึงมือ มัดปากถุงพอแน่น เมื่อจะใช้ก็ผ่าถุงออกตามยาว คว่ำปากถุงลง สอดถุงเข้าทางด้านข้างของกิ่ง ดันถุงให้แผลกิ่งตอนอยู่กลางถุง ดึงชายถุงพลาสติกที่ผ่าให้ทับซ้อนกัน แล้วมัดถุงติดกับกิ่งตอนให้แน่น ทิ้งไว้ 20-30 วัน รากจะเริ่มงอกรอจนรากแก่มีสีน้ำตาล จึงตัดกิ่งที่ตอนนำไปปลูกลงแปลงต่อไป
      7. การกรีดและลอก
        ถุงบรรจุขุยมะพร้าว
        การกรีดถุงบรรจุขุยมะพร้าว
        การหุ้มกิ่งตอน
        ใช้เชือกฟางมัดหัวท้ายให้แน่น
        กิ่งตอนที่ออกรากแล้ว
 
   
   
 
<< PreviousNext >>
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม