Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

 

โปรแกรมโน้ตดนตรีไทยเดิม cd.gif (6056 bytes)
เราได้พัฒนา Software โปรแกรมขึ้นเพื่อใช้ คอมพิ้วเต้อร์เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนเพื่อ
แบ่งเบาภาระครูผู้สอน และ ให้เยาวชนได้ฝึกเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ในยามขาดครู (ไม่-
่ได้หมายความว่าเครื่องดีกว่าครู) โดยเครื่องจะเป็นสื่อการสอน ที่สามารถมองเห็นทั้ง
ภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน สามารถเห็นโน้ตอักษรไทยที่วิ่งตามทำนองบรรเลงดน
ตรีไทย   เพื่อให้ผู้ฝึกฝนได้ใช้เครื่องมือดนตรีไทยบรรเลงตามทำนอง โดยสามารถปรับ
ความเร็ว-ช้าของเพลงได ้ ตามความชำนาญ และตามประสงค์ โปรแกรมนี้ใช้ได้ดีโดย
เฉพาะ เครื่อง ขลุ่ย, ซอ, ขิม ฯลฯ. เป็นโปรแกรมที่ ให้เสียง นำ - ตาม, ลูกเหลื่อม,ลูกขัด

จังหวะฉิ่ง,ตามเนื้อเพลงนั้นๆ รวมบันทึกไว้ในแผ่น CD-R สามารถนำมาเปิดได้โดย
การติดตั้ง โปรแกรมโน้ต ใช้ได้กับเครื่องคอมพ์ ตั้งแต่ 386ขึ้นไป มีRam อย่างน้อย 4Mb
พร้อม Sound Card ในเครื่อง โดยที่ต้องมีการลง โปรแกรม Windows ver.3.11-XP
แล้ว เพื่อRun โปรแกรม ควรทำความเข้าใจในสัญลักษณ์ และการบันทึกตัวโน้ตอักษร

ไทยในหนังสือ โน้ต ซอ (
ด้วง-อู้) ก่อนที่จะทำการเปิดใช้งานโปรแกรมเพื่อเข้าใจและ
สามารถอ่านโน้ตได้เรารวบรวมโปรแกรมและเนื้อเพลงไว้แล้ว ๖ชุด(๖ แผ่น 3.5") แต่
ละชุด(๑-๖)มีเพลงมากน้อยต่างกันตามเนื้อเพลง
ชุดที่ ๑ มี ๒๐ เพลงได้แก่ เขมร
เหลือง, แขกบรเทศ,จันทร์โลม, ณ.วันนี้,ทยอยญวน, นางครวญ,มอญดูดาว,มะลิซ้อน,
ยวนเคล้า,ลาวจ้อย,ลาวเจ้าซู,ลาวพุงขาว-ดำ,ลาวล่องน่าน,ลาวเสี่ยงเทียน,ลาวสวย
รวย,สร้อยเวียงพิง,สร้อยสนตัด,โหมโรงมหาอาภรณ์ภิรมย์,องค์อินทร์กำศรวล,
ชุดที่
มี ๑๑เพลง ได้แก่ กล่อมองค์อินทร์, เขมรไทรโยค, เขมรพายเรือ, รอบเวียง,ลาวดวง
เดือน,ลาวดำเนินทราย,โศกพม่า,สร้อยคนธรรพ์,สร้อยลำปาง,แสนคำนึง,โหมโรงอินทร
์บรรเลงพิณ,
ชุดที ่๓มี ๘เพลงได้แก ่ขอมทรงเครื่อง,ค้างคาวกินกล้วย,จระเข้หางยาว
(สักวา),ตับวิวาห์พระสมุทร,แป๊ะ,รอยอินทร์,ลาวคำหอม,โหมโรงจอมสุรางค์,
ชุดที่ ๔
มี ๗ เพลง ได้แก่ ไกลอนงค์,ขึ้นพลับพลา,เขมรขอทาน,คางคกปากบ่อ,ตับลาวเจริญศรี,
ลาวดวงดอกไม้,สายพิรุณ,
ชุดที่๕ มี๘เพลงได้แก่แขกบรเทศ,ต้นวรเชษฐ์,ต้อยตริ่ง,รำ
ฝัดข้าว,ลาวสมเด็จ,โสมส่องแสง,ห่วงอาลัย,และ โหมโรงกระแตไต่ไม้,
ชุดที่ ๖ มี ๑๓
เพลง
ได้แก่ ขยะแขยง,งามแสงเดือน,จักรพรรดิทรงขิม,เต่ากินผักบุ้ง,ธรณีกรรแสง,นาง
นาค,มยุราภิรมย์,มหาชัย,มหาฤกษ์,ศรีนวล,ลาวจ้อย ๓,๒ชั้น,สาริกาเขมร,โหมโรงมหาฤกษ์.

การบันทึกและการอ่าน โน้ตอักษรไทย
เสียงโน้ต ในดนตรีไทยเดิม มี ๗ ระดับ ได้แก่    

ระดับเสียง

บันทึกเป็น

โด

เร

มี

ฟา

ซอล

ลา

ที(ซี)

สำหรับเสียงสูง ในโน้ตเดียวกัน อีก ๑ ระดับ เราใช้สัญลักษณ์  "   '   "  หรือ "    ํ    " 
กำกับลงไป ส่วนเสียงต่ำใช้ "   .   " กำกับเช่น
ระดับเสียง                    เขียนเป็น              
โด (ต่ำ)                               ด.
โด (กลาง)                         ด
โด (สูง)                              ดํ
สำหรับโน้ตซอ ยังมีสัญลักษณ์  >    = ควบคันชักออก ๒โน้ต, <     = ควบคันชัก
เข้า ๒โน้ต, > >    = ลูกสบัดควบคันชักออก  ๓โน้ต ลูกสบัด โน้ตละ ครึ่งจังหวะ
หยุดหลังอีกครึ่งจังหวะ (รวมเป็น ๒จังหวะ)
สำหรับโน้ตขิม มีการบันทึกเป็นโน้ตคู่(ตีมือซ้ายและขวาพร้อมกัน) เช่นเวลารัว,
กรอ,หรือตีลูกเก็บพร้อมกันทั้ง๒มือ การต ีลูกสบัด ควบ ๓ โน้ต (ขวา-ซ้าย-ขวา=
แรง-ค่อย-แรงแล้วหยุดครึ่งจังหวะ)มีสัญลักษณ์เป็นเส้นโค้งคร่อมควบโน้ตสบัด
ทั้ง๓ตัว ตัวอย่างการบันทึก โน้ต ขลุ่ย เพลงแขกบรเทศ ๑ชั้น

-ลลล

-ลลล

-ซซซ

-มมม

-ซ-ดํ

-รํ-มํ

-ซํ-มํ

-รํ-ดํ

-มํ-รํ

-ดํ-ล

-มซล

-ดํ-รํ

-ซ-ดํ

-รํ-มํ

-ซํ-มํ

-รํ-ดํ

บรรเลงซ้ำบรรทัดละ ๒รอบ
โน้ตซอ เพลงลาวพุงขาว ๒ชั้น

(สังเกตุโน้ตควบคันชักออกและโน้ตควบคันชักเข้า)

----

----

-มํ-ลํ

<ซํมํ-ซํ

----

--ดํล

ดํลซมํ

<รํดํ-รํ

-มํ-ลํ

<ซํมํ-รํ

-มํ>ซํรํ

มํรํดํล

ดํลซดํ

-รํ-มํ

ซํลํซํมํ

-รํ-ดํ

บรรเลงซ้ำเมื่อเล่นครบ ๒บรรทัด
ตัวอย่างการบันทึกโน้ตขิม
(สังเกตุ การบันทึกโน้ตคู่ รัวหรือตีพร้อมกันตรงนั้น)

ดํ

รํ

ดํ

ลํ

ด.

ร.

ด.

จาก ตารางโน้ต ข้างบนจะเห็นว่าในหนึ่งบรรทัดโน้ต เราแบ่ง ห้องเป็น ๘ห้อง
โดยในหนึ่งห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ยาว ๔จังหวะ
 (๔ตัวโน้ตอักษรเพราะ ๑ตัว
โน้ตมีความยาวโดยทั่วไปเท่ากับ ๑จังหวะ
ยกเว้นโน้ตลูกสบัด เพราะ ๑ตัว
โน้ตมีความยาวเท่ากับ ครึ่งจังหวะ
๓โน้ตลูกสบัด มีความยาวเท่ากับ ๒จังหวะ
(รวมหยุดหน้าหรือหลังสบัดอีกครึ่งจังหวะ)
ในสมัยก่อนเดิมครูดนตรีไทยได้เคย
รวบรวมและเขียนโน้ตเป็นตัวเลข เพราะไม่เสียเวลา,รวดเร็วต่อการจด มาถึง
ปัจจุบัน โน้ตตัวเลขก็ได้ค่อยๆหายไป มีแต่การบันทึกโน้ต เป็นตัวอักษรไทยแทน
เพราะง่ายต่อการบันทึก และที่สำคัญยิ่งคือ โน้ตตัวอักษร สามารถสื่อระดับ
เสียงดนตรีได้ดีและสามารถท่องเป็นเพลงได้ด
ี เช่นกัน ทำให้ง่ายต่อการจดจำ
เพลง
TN00605A.gif (2512 bytes)
            
มาถึง ยุคแห่งโลกเทคโนโลยี และวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ครูดนตรีไทย
เดิม หลายท่านได้เล็งเห็นถึงคุณค่า ในการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมทางดนตรี
ีไทยจึง ได้พยายามคิดหรือประยุกต์ โปรแกรมขึ้นใช้บันทึก โน้ตทางดนตรีไทย
เป็นอักษรไทย เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน และช่วยให้ครูทางดนตรีไทย
เหน็ดเหนื่อยน้อยลง จากการสอนศิษย์จำนวนมากๆ โดยขาด เครื่องมือช่วย
สอน
( คอมพิ้วเต้อร์และโปรแกรมโน้ตดนตรีไทยเดิม)   ทำให้การสอนสะดวก
สบายขึ้น นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตัวเอง ครูจะคอยแนะแต่เทคนิคกลเม็ด
และทักษะที่ยากและชำนาญขึ้นเท่านั้น จึงมาถึงยุคของ สื่อ Multimedia (ภาพ
แสง,สี,เสียง) ที่มีบทบาทมากขึ้นทุกขณะในยุคไฮเทคนี้ แม้ว่าจะเป็นดนตรีไทย
คลาสสิค (ไทยเดิม)   แต่ก็เข้าถึงเทคโนโลยีแห่งสหัสวรรษที่๒ ได้โดยไม่ล้าหลัง
(หมายเหตุ หาอ่านรายละเอียดโน้ตดนตรีไทยเดิมได้ ในหนังสือ
" ดนตรีไทย "
โน้ต ขิม,ซอ,ขลุ่ย
Dr.Ben

Click

เพื่อศึกษาดรายละเอียดลักษณะโปรแกรมโน้ตดนตรีไทยเดิม

<BAckกลับหน้าเดิม
หน้านี้ปรับปรุงหลังสุดเมื่อ
27/01/11


1