Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
ประวัติผู้แต่ง

 

 

 

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนักปราชญ์ผู้มีความรู้แตกฉานทั้งทางโลก ทางธรรม ซึ่งได้มาด้วยการศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ ตลอดจนมีประสบการณ์และสัมผัสมาด้วยตนเอง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงเป็นพหูสูต ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไปชีวิตและความเป็นอยู่ส่วนตัวของท่าน ดูเหมือนจะเป็นชีวิตที่ประเสริฐไม่ว่าจะเป็นชาติสกุล เกียรติยศ ชื่อเสียง คุณงามความดี ความรู้ ความสามารถความเคารพนับถือจากผู้อื่น มีพร้อมอยู่ในตัวท่านทุกประการ ถ้าจะพูดถึงเรื่องความรู้ ความสามารถของท่านแล้ว ท่านเป็นอัจฉริยะมีความรอบรู้ทุกด้าน  จัดเป็นปราชญ์คนหนึ่งของเมืองไทย

เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นบุตรพระราชวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ และหม่อมแดง ปราโมช

การศึกษา

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียน Trent College ประเทศอังกฤษ
มหาวิทยาลัย OXFORD ประเทศอังกฤษ วิทยาลัย The Queen's College
อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ
ปริญญา
B.A. (Hons.) (Philosophy,Economics, and Politios) M.A. (OXFORD)
 

การรับราชการ

- เคยรับราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ต่อมาได้ดำรง
ตำแหน่งเป็นเลขานุการ ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
-
เคยรับราชการทหาร ในสงครามอินโดจีน และสงครามมหาเอเซียบูรพา
ได้รับยศเป็นนายสิบตรี
-
ต่อมาได้กลับเข้าทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ในตำแหน่งหัวหน้า
ฝ่ายสำนักผู้ว่าการ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายออกบัตร ธนาคาร
แห่งประเทศไทย

งานด้านการสอน

- สอนวิชาการธนาคาร ในขั้นปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ และการเมือง พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๐
-
สอนวิชาการธนาคารของการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการ
บัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๐
-
สอนในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๔
-
สอนในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๔
-
เป็นผู้บรรยายวิชา " พื้นฐานอารยธรรมไทย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๖
-
เป็นผู้จัดตั้งและฝึกสอนคณะโขนธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๖
-
เป็นศาสตราจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๕
-
เป็นประธานกรรมการอำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๗
-
เป็นนายกกรรมการบริหาร มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรม-
ราชินูปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ ถึง ๒๕๓๑
 

ด้านธุรกิจ

- เคยเป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลำปาง
-
เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ
งานด้านหนังสือพิมพ์และการประพันธ์
-
เป็นผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ "สยามรัฐ" เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๓
-
เป็นผู้เขียนคอลัมน์ต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ "สยามรัฐ"
-
เป็นนักเขียนซึ่งได้รวบรวมงามพิมพ์เป็นเล่มนับจำนวนไม่ถ้วน เช่น
เรื่อง "สี่แผ่นดิน" "ไผ่แดง" "หลายชีวิต" "ฝรั่งศักดินา" ฯลฯ
งานด้านการเมือง
-
เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย ชื่อพรรค "ก้าวหน้า"
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๙
-
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙
-
เป็นกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๔๘๙
-
เป็นผู้ริเริ่ม และจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ
พรรคคนแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐
-
เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชุดที่มี นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๑
-
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๔๙๑
-
ลาออกจากสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๙๑
-
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน
๒๔๙๑ ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๒
-
เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๑
-
เป็นสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๑ - ๒๕๑๔
-
เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๖
-
เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๘
-
เป็นผู้จัดตั้ง และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคม พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙
-
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
-
ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๘ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๑๙
-
ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากการปฏิวัติ ๒๐ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๒๐
-
พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ชื่อ กิจสังคม ซึ่งเป็นพรรคการเมือง
ที่ใหญ่ที่สุด และมีความสำคัญยิ่ง ของประเทศไทยในสมัยนั้น
-
ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๖
-
ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองชื่อ "กิจสังคม" เมื่อ ๒๗ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๒๘
 

ผลงานด้านวรรณศิลป์

บทความ ข้อเขียน เรื่องสั้น เรื่องยาว เรื่องแปล สารคดี บทปาฐกถา คำอภิปราย
คำสนทนา ที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนหรือพูดในวาระต่าง ๆ มานับเป็นเวลาสิบ ๆ ปีนั้น ได้มีผู้รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือเล่มไว้ทั้งหมดไม่น้อยกว่า ๑๑๕ เล่ม  บางเล่มได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง เช่น นวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน ไผ่แดง หลายชีวิต ซูสีไทเฮา เป็นต้น
หนังสือเล่มแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือหนังสือชื่อ "บทความบางเรื่อง" จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์เขษม เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นหนังสือรวมบทความทางเศรษฐกิจ
หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ในโอกาสฉลองอายุครบ ๗๔ ปี คือ "ชรากถา"
จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์สยามรัฐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
รายชื่อหนังสือประมาณ ๑๑๕ เล่มที่รวบรวมนำเสนอต่อไปนี้ได้จากการ
ค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง และห้องสมุดอื่น ๆ อีกบางแห่ง
๑. หนังสือประเภทสังคม เมืองไทยกับคึกฤทธิ์ ปัจจุบันและอนาคตของ
สังคมไทย วัยรุ่น การอภิปรายหน้าพระที่นั่ง ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับประชากร
๒. บทความและบทวิจารณ์ คึกฤทธิ์จากหน้า ๕ สยามรัฐ ๒๕๐๘
๒๕๑๐ - ๒๕๑๖ และ ๒๕๑๘ บทความบางเรื่อง ข้าวนอกนา คึกฤทธิ์กับนักศึกษาเก็บเล็กผสมน้อย ตอบปัญหาหัวใจ ปัญหาประจำวัน โลกกับคน รวมนิราศตอนใหม่และบทวิจารณ์ พรหมปกรณ์กิจ อนุสรณ์ตอบปัญหาประจำวัน
๓. ประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีการตาย ประเพณีการบวชและประเพณีการแต่งงาน พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา วรรณคดีไทยกับนาฏศิลป์ไทย โครงกระดูกในตู้
๔. ประเภทเรื่องแปล อากิตางากะ สิวโนสุเกะ ราโชมอน หรือประตูผี จอนะธันลิฟวิงส์ตัน นางนวล
๕. ประเภทการศึกษา ห้วยมหรรณพ การศึกษากับการสืบทอดและเสริมสร้างวัฒนธรรม
๖. ประเภทศาสนา ปัญหาเกี่ยวกับพุทธศาสนาเซ็นและนิกายวัชรยาน ญี่ปุ่น - พุทธศาสนา คึกฤทธิ์กับพุทธศาสนา วิวาทะระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กับท่านพุทธทาสภิกขุ พุทธศาสนากับสังคมไทย พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์ ฯลฯ
๗. ประเภทประวัติศาสตร์ กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ สังคมสมัยอยุธยา พม่าเสียเมือง พื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย พระสาสนโสภณโบราณ - อคติโบราณคดี
๘. ประเภทเศรษฐกิจ การธนาคารพาณิชย์ การอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจของไทย นิราศต่างแดน
๙. ประเภทสารคดี เมืองมายา ครอบจักรวาล โลกส่วนตัวของผม รายละเอียดในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐ ถกเขมร คึกฤทธิ์ช่วย...ในโอกาสทำบุญฉลองครบ ๕ รอบของคุณธนิต อยู่โพธิ์
๑๐. ประเภทการเมือง มลายูรำกริช เมืองในเมืองนอก ยิว รายงานประชาชนทางสถานีกระจายเสียงและโทรทัศน์ คนของโลก เขมร สีหนุ ชวาซูการ์โน ประมวลจากรายการเพื่อนนอนทางวิทยุ คึกฤทธิ์กับสังคมเมืองไทย รู้จักเพื่อนบ้าน ฉากญี่ปุ่น ถอดหัวโขน ประชาธิปไตยของชาวบ้าน ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ประชุมพงศาวดารประชาธิปไตย ปีศาจการเมือง พระนคร สถานการณ์รอบบ้านเรา สงครามผิว สงครามร้อน สงครามเย็น สัปดาห์จร อเมริกาในเอเซียอาคเนย์ เมืองไทยในสังคมโลก เรื่องของโลกตะวันตก คึกฤทธิ์ถกเมืองไทย คึกฤทธิ์พูด คึกฤทธิ์ว่า คึกฤทธิ์วิจารณ์ เจ้าโลก การเมืองในปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศคอมมูนิสต์

คึกฤทธิ์กับปัญหาของไทยสมัยเลือกตั้งไม่เรียบร้อย โลกส่วนตัวของคอมมูนิสต์ โลก ๔ ทวีป สงครามปาก สงครามเวียดนาม โลกใหม่ สถานการณ์รอบบ้านเรา เพื่อนคุยวัฒนธรรมและกษัยธรรม ทรรศนะคึกฤทธิ์ ทุนนิยม สังคมประชาธิปไตย เบ้งเฮ็ก ฝรั่งศักดินา การบ้านสำคัญกว่าการเมือง ปาฐกถาของคึกฤทธิ์ ปาฐกถาสองเรื่อง
๑๑. ประเภทนวนิยาม ซูสีไทเฮา สามก๊ก สี่แผ่นดิน หลายชีวิต สายฝน ไผ่แดง
๑๒. ประเภทเรื่องสั้น สวัสดีลมร้อน รวมเรื่องสั้น เรื่องของคนรักหมา คึกฤทธิ์พ่อครัวหัวป่าห์ หยดหนึ่งของทะเล
จากผลงานเท่าที่รวบรวมมา คงจะเป็นเครื่องประกอบได้อย่างชัดแจ้งว่า การที่ทางราชการประกาศยกย่อง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นั้นเหมาะสมอย่างที่สุดแล้ว

 

เรื่องย่อ ประวัติผู้แต่ง ศิลปินเอก ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง รายชื่อผู้จัดทำ