Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

อ้อยแดง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum sinense Roxb
วงศ์ GRAMINEAE
ชื่ออื่น ๆ อ้อยดำ อ้อยขม
ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นสูง 1–3 เมตร ลำต้นมีข้อปล้องเห็นชัดเจน สีของลำต้นแดงคล้ำแต่ละปล้องอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ ใบออกที่ข้อแบบสลับ และร่วงง่าย จึงพบเฉพาะตามปลายยอดโดยมีกาบใบโอบหุ้มข้ออยู่ รูปใบเรียว ปลายแหลม ขนาดยาว 50–175 ซม. กว้าง 4–10 ซม. ขอบใบจักละเอียดและคม ดอกออกเป็นช่อใหญ่อยู่ตรงปลายยอด ขนาด 40–80 ซม. สีขาว ประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก และมีขนยาว
ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้ ขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นวันละ 1 กำมือ (สด 70–90 กรัม) แห้ง 30–40 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
การขยายพันธุ์ ใช้ลำต้นหั่นเป็นท่อน เลือกท่อนที่มีตาติดประมาณ 3 ตา เพื่อใช้เป็นท่อนพันธุ์ ใช้เพาะเมล็ด
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี และมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปลูกได้เกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงที่ฝนตกหนักเกินไป
การปลูก เตรียมดินโดยไถดินให้ลึกที่สุดหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุย ปรับระดับพื้นที่ให้เรียบ โดยอาจให้เอียงไปทางใดทางหนึ่งเพื่อการระบายน้ำก็ได้ ยกร่องสำหรับปลูก ใส่ปุ๋ยก้นร่องแล้วเอาดินกลบ จากนั้นจึงวางท่อนแม่พันธุ์ลงในร่องในลักษณะตาอยู่ด้านข้าง แล้วเอาดินกลบให้แน่นพอควร
การบำรุงรักษา ในระยะเริ่มแรกของการปลูก อ้อยต้องการน้ำน้อย แต่ต้องการเพิ่มขึ้นตามลำดับ และเมื่อโตเต็มที่จะต้องการน้ำน้อยลง จึงควรให้น้ำตามที่พืชต้องการ พรวนดินระหว่างแถว และกำจัดวัชพืชเป็นครั้งคราว

 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม