Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

แมงลัก

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum americanum Linn. (Syn. O. canum Sims.)
วงศ์ LABIATAE
ชื่ออื่น ๆ มังลัก (ภาคกลาง) ก้อมก้อขาว (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุก ส่วนของต้นมีกลิ่นหอม และมีขนทั่วไป ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงกันข้ามก้านใบยาว 1–2 ซม. รูปร่างคล้ายรูปไข่เรียวยาวหรือรียาว กว้าง 1–2 ซม. ยาว 2–5 ซม. ปลายใบแหลมมากกว่าโคนใบ ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกออกรวมเป็นช่อที่ปลายยอดแต่ละดอกติดรอบแกนช่อเป็น ชั้น ๆ อาจมีหนึ่งช่อหรือหลายช่อรวมเป็นช่อใหญ่ แต่ละช่อยาว 5–10 ซม. ที่โคนดอกมีใบประดับรองรับอยู่ ดอกสีขาวขนาด 4–6 มม. เมล็ดเล็ก 3–4 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้เมล็ดแห้ง 0.5–1 ช้อนคาว หรือหนัก 5–10 กรัม แช่น้ำเย็นประมาณ 1 แก้ว รับประทานหลังอาหารเช้าหรือเย็น หรือก่อนนอน
การขยายพันธุ์ ใช้ปักชำและเพาะเมล็ด
สภาพดินฟ้าอากาศ ขึ้นได้ทั่วไป ไม่เลือกชนิดของดิน แต่ไม่ชอบที่น้ำขัง
การปลูก ตัดกิ่งแก่ยาวพอควร ริดใบออกจนเกือบหมด ปักชำลงในดินและรดน้ำให้ชุ่มทันที กิ่งชำจะแตกยอดใหม่ในเวลา 1–2 สัปดาห์ หรืออาจปลูกโดยเพาะเมล็ดในกระบะเพาะก็ได้ ย้ายปลูกเมื่ออายุ 25–30 วัน ถ้าต้องการปลูกในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางดินหรือรังไม้ ควรใช้ดินเหนียวผสมทรายและปุ๋ยคอกในปริมาณเท่า ๆ กันเป็นดินปลูก จะช่วยให้เจริญเติบโตได้ดี
การบำรุงรักษา แมงลักเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และมักไม่มีแมลงรบกวนจึงไม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่มากนัก นอกจากคอยสังเกตความชื้นของดิน และกำจัดวัชพืชให้บ้าง

 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม