Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

ว่านมหากาฬ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura pseudochina DC. Var. hispida Thv.
วงศ์ COMPOSITAE
ชื่ออื่น ๆ ว่านมหากาฬ (กรุงเทพ ฯ) ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์) หนาดแห้ง (โคราช)ผักกาดนกเขา (สุราษฏร์ธานี–ใต้) คำโคก (ขอนแก่น เลย – อีสาน)
ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุกลงมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำเลื้อยทอดยาวไปตามดิน ชูยอดตั้งขึ้น ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5–8 ซม. ยา 6–30 ม. ขอบใบหยักด่าง ๆ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขน เส้นใบเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลืองทอง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน
สรรพคุณและวิธีใช้ แก้ฝี แผลพุพอง
  1. นำหัวว่านมหากาฬตำพอก หรือฝนกับน้ำปูนใส ทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพอง วันละ 3–4 ครั้ง
  2. ใช้ใบสดโขลกผสมกับเหล้า ใช้พอกฝีหรือหัวสำมะรอก ทำให้เย็น ถอนพิษ บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
  3. ใช้ใบสดโขลกผสมกับเหล้า กินดับพิษกาฬ พิษร้อน พิษไข้เซื่องซึม กระสับกระส่าย รักษาพิษอักเสบ
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนซุย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื่น ปลูกได้ทุกฤดู
การปลูก เตรียมดินโดยขุดดินตากแดดไว้ให้ร่วนซุย ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดกลบหน้าพอสมควร หลังจากตากดินแล้วจึงขุดกลับคืน ย่อยดินเพื่อให้ร่วนซุยอีกครั้ง ใช้หน่อพร้อมติดดินและรากด้วย ฝังไว้ในหลุมที่ขุดไว้หลุมละ 1 หน่อ กลบดินเท่ากับความลึกของหน่อที่ขุดจากที่เดิม
การบำรุงรักษา ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น การใส่ปุ๋ยอาจใส่เดือนละครั้ง ปุ๋ยที่ให้ควรเป็นปุ๋ยบำรุงใบและบำรุงส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน

 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม