Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

   

เมธินเภสัช

แนะนำยาโดยเภสัชกร เมธิน ผดุงกิจ

 
หน้าหลัก
ประวัติเภสัช
แผ่นพับสุขภาพ
สถานการณ์สุขภาพ
ความรู้เรื่องยา
ความรู้เรื่องสมุนไพร
ตอบปัญหายา-สมุนไพร
เว็บอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

บทที่ 2 หลักการใช้ยาทั่วไป

                                                                                                                  . ภก. เมธิน ผดุงกิจ

  เนื่องจากยามีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ผลในการรักษาโรคไม่ดี หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ จึงขอสรุปหลักการใช้ยาพอให้เข้าใจได้ดังนี้

หลักทั่วไปและข้อปฏิบัติในการใช้ยา

1.       ใช้ให้ถูกโรค เช่นท้องเสียต้องกินยาแก้ท้องเสียเป็นต้น

2.       ใช้ให้ถูกคน  เช่นยาสำหรับนายสมหมาย ก็ให้ใช้กับนายสมหมายเท่านั้น ไม่ควรใช้กับคนอื่นโดยเพียงสังเกตุว่า มีอาการเดียวกัน

3.       ใช้ให้ถูกขนาดและระยะเวลาในการรักษา ไม่ควรกินยาเป็นสองเท่าตามที่สั่ง เนื่องจากจะก่อให้เกิดพิษของยาได้

4.       หมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อย หรือใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน

5.       ต้องรู้รายละเอียดกับผู้ใช้ยา เช่น อายุ น้ำหนัก ประวัติการแพ้ยา มีครรภ์หรือให้นมบุตรหรือไม่ โรคประจำตัวอื่นๆ

6.       ถ้าไม่มั่นใจในการใช้ยาให้ปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านท่าน เช่นร้านขายยา โรงพยาบาล หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

เวลารับประทานยา

  -ยาก่อนอาหาร  ให้กินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง  เช่น ยาเพนนิซิลิน วี ยาปฏิชีวนะ Ampicillin , Cloxacillin , ยาแก้เบาหวาน Daonil

  - ยาหลังอาหาร -ถ้าไม่ระบุหลัง 15 นาที

  - ยาแก้ปวดข้อหลังอาหารทันที  เช่น ยาแก้ปวดข้อ เพียแคมâ  จอยท์ â  ยาแอสไพริน                                 

                - ยาลดกรด ควรกินหลังอาหาร  1 ชม เช่น แอนตาซิลâ  แม็ก 77â

                - ยาที่กินวันละ 2 เวลา ปกติจะให้กิน

                       เช้า-เย็น      ยกเว้นยาขับปัสสาวะ ให้กิน  เช้า-เที่ยง

                - ยาที่กินวันละ 4 เวลา ปกติจะให้กิน   เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน  หรือทุก 6 ชั่วโมง

การชั่งตวงทางเภสัชกรรมที่ควรรู้

                ในชีวิตประจำวันจะพบหน่วยที่ใช้ในการชั่งหรือตวงในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาอยู่บ่อย ๆ เช่น 

 1  ช้อนชา                                                               ประมาณ       5   ml

 1  ช้อนโต๊ะ                                                                                   15   ml

1 ขวดแม่โขงกลม   ‘                                                                 750   ml

                                1 ออนซ์                                                                                        30   ml

                                1 ถ้วยชา                                                                                        180   ml

                                1 ถ้วยแก้ว                                                      240   ml

                                1 gram  ( ระบบเมตริก )                                                 15   grains ( ระบบอะโพทีคารี่ )

                                1 grain                                                                                            60  milligrams ( mg )

                                                  - เช่น   แอสไพริน   เกรน V   หมายถึง แอสไพริน  300  mg

                            1 Kilogram                                                                                     2.2  pounds

อันตรายจากการใช้ยา

                ปกติยาจะมีทั้งคุณและโทษฉะนั้นก่อนใช้ยาควรที่จะทราบรายละเอียดของตัวยาแต่ละชนิดที่จะใช้  อันตรายของยามีสาเหตุมาจาก

                1.  การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage  toxicity)   เช่น   กินยาแก้ปวด Paracetamol มากจะทำให้ตับวายได้  ปกติไม่ควรกินยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน

2. ผลข้างเคียงของยา(Side effect)  เป็นผลเสียของยาที่เราไม่ต้องการ เช่น Tetracycline ทำให้เด็กฟันเหลืองถาวร ยาแก้แพ้ ทำให้ง่วง

ฉะนั้นจึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรถ้าใช้ยากลุ่มนี้

3. การแพ้ยา (Drug allergy)

                     มีอาการได้ตั้งแต่

·        เป็นน้อย : ผื่นคัน หนังตาบวม

·        ปานกลาง : ใจสั่น แน่นหน้าอก หอบ

·        มาก:เป็นลมShock ,หนังลอกไปทั้งตับ

                    ยาที่แพ้ได้บ่อยๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ กลุ่มเพนนิซิลิน ยาต้านจุลชีพ กลุ่ม Sulfonamide

                    การแก้ไข : ให้หยุดยา  ถ้าเป็นน้อยให้ยาแก้แพ้กิน เช่น     Chlorpheniramine 1 เม็ด วันละ 3 เวลา หลังอาหาร ถ้าเป็นมาก ให้ยาแก้แพ้ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

4. การดื้อยา -  Drug resistance

                   มักจะเกิดกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่นใช้ยาไม่ครบระยะเวลารักษา  ปกติยากลุ่มนี้ควรกินติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน

5. การใช้ยาในทางที่ผิด – Drug abuse

มีการใช้ยาในทางที่ผิดมากมายในสังคมไทย เช่น

- การติดยาเสพติด เช่น เฮโรอีน Amphetamine,  ฝิ่นมอร์ฟีน, ยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาเสพติดประเภทที่ 3 ให้ใช้เฉพาะที่เช่นจำเป็น เช่น Lomotilâ  ( ให้ใช้ในกรณีที่ท้องเสียที่เกิดจากการ ไม่ติดเชื้อ และเมื่อหายจากอาการท้องเสียให้หยุดยา ยาแก้ไอที่มี Codeine เป็นส่วนประกอบ เช่น Ropectâ   ( ยาตัวนี้ใช้ในกรณีที่มีไอมากๆ และไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน )          

- นำฮอร์โมน มาเป็นยาขับประจำเดือนโดยหวังผลในการทำแท้ง

                6. ปฏิกิริยาต่อกันของยา–Drug interaction

                ยาตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเมื่อให้ร่วมกัน อาจทำปฏิกิริยากัน ซึ่งอาจส่งผลให้

                - เสริมฤทธิ์กัน

                - ต้านฤทธิ์กัน

                เช่น ยาTetracycline (ยาปฏิชีวนะ) เมือกินร่วมกับนม ยาลดกรด หรือยาบำรุงเลือดพวกยา FeSO4 ทำให้การดูดซึมยา Tetracycline ลดลง (เป็นแบบต้านฤทธิ์กัน)

การป้องกันอันตรายจากการใช้ยา

1.       ต้องทำความรู้จักยาก่อนใช้  เช่นอ่านฉลากยา หรือสอบถามจากผู้รู้

2.       ต้องทราบประวัติคนที่จะใช้ยา

3.       เช่นมีโรคประจำตัวอยู่หรือไม่ เช่น เบาหวาน โรคไต ประวัติการแพ้ยา

4.       ควรแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักโทษของยา

5.       อย่าฉีดยาโดยไม่จำเป็น เพราะการฉีดยาใช้เฉพาะยามจำเป็นเท่านั้น

6.       ข้อเสีย : แพ้ยาได้รุนแรงกว่า แผลติดเชื้อได้บริเวณรอยฉีด อาจฉีดถูกเส้นประสาท

การใช้ยาในการรักษาโรคเรื้อรังบางชนิด

  1. โรคเบาหวาน

1.1    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวาน

                                  -  เบาหวานมีสองชนิดคือ  ชนิดที่ 1 เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน ซึ่งพบในวัยก่อนอายุ 30 พบประมาณร้อยละ 10 ตับอ่อนมักจะไม่ผลิตอินซูลิน และชนิดที่ 2

                                      เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลง และอินซูลินไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องรักษาด้วยการจัดอาหารให้

                                      เหมาะสม ลดน้ำหนักซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอ้วนอยู่แล้ว ถ้าไม่ได้ผลจะให้ยา ลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรับประทาน หรือต้องฉีด อินซูลิน เป็นระยะ ๆ

                                  - อาการที่มักบ่งบอกว่าเป็นเบาหวาน  ผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการดังนี้ หิวน้ำบ่อย หิวข้าวบ่อย น้ำหนักลด อ่อนเพลียมากๆ ตาพร่ามัว เท้าชารู้สึกแปล๊บ

                                  - อันตรายที่เกิดกับผู้ป่วยเบาหวาน มีทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง  แบบเฉียบพลันได้แก่ ภาวะที่เรียกว่า Ketoacidosis เกิดจากร่างกายใช้ไขมันแทน

                                    น้ำตาล ในการทำให้เกิดพลังงาน จึงมีผลทำให้ระดับ Ketone body ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งร่างกายจะมีสภาพเป็นกรด ถ้ามีมากเกินไป จะทำให้หมดสติ หรือเสีย

                                    ชีวิตได้ อันตรายแบบเรื้อรังมักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รักษาตนเอง มักเกิดความผิดปกติของหลอดเลือด เล็กๆ ที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทำให้มีอาการแทรกซ้อน

                                    ตามมาเช่น ความดันเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ตามัว แผลเน่า ไตวาย ติดเชื้อง่ายเป็นต้น

                    1.2  การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน

                                  -  ยาเบาหวานมีทั้งแบบฉีด ( อินซูลิน ) และแบบกิน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ยาเหล่านี้ ห้ามซื้อยาเพื่อรักษาเองเด็ดขาด

                                  -  การประเมินผลการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาเม็ด ควรได้รับการติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ ๆ โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้เกิน

                                     120 mg / dl ซึ่งถือว่าควบคุมได้ดี

                                    -  การเก็บรักษายา เก็บในขวดที่ปิดสนิท เก็บไว้ในที่ที่มีความร้อนน้อยที่สุด ไม่ให้ยาตากแดด ไม่เก็บยาเม็ดในตู้เย็น เพราะทำให้ยาชื้นได้ง่าย

                                    -  การกินยา ควรกินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาดูดซึมก่อนออกฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลในเลือด ยกเว้นผู้ป่วยบางรายแพทย์จะสั่งให้กินหลังอาหารเพื่อลด 

                                       อาการข้างเคียงที่มีต่อระบบทางเดินอาหาร

              -  ผู้ป่วยไม่ควรลดหรือปรับระดับยาเอง หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ก่อน

  2. ความดันโลหิตสูง

                       2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

                           - ความดันโลหิต หมายถึงแรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ ซึ่งสามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดความดัน โดยวัดที่แขน

                              และมีค่าวัดได้สองค่าคือ

·       ความดันช่วงบน หรือ Systolic blood pressure หมายถึงแรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว  ซึ่งอาจจะสูงขึ้นตามอายุ

·       ความดันช่วงล่าง หรือ Diastolic blood pressure หมายถึงแรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว

            -  ความดันโลหิต สูงสุดที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ  139/89

             - ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันช่วงบน  หรือความดันช่วงล่าง หรือทั้งสองอย่างมากกว่าค่าปกติ

                            - เมื่อเป็นความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษา อาจทำให้เกิด หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย เส้นเลือดในสมองแตก ไตวาย

                          - อาการที่พบเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง   ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ บางรายอาจมีปวดหัว เวียนหัว เหนื่อยง่าย

                        2.2 การรักษา 

                           ปกติถ้าเป็นความดันโลหิตสูงอย่างอ่อนแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการไม่ใช้ยา เช่นให้ผู้ป่วย ลดน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน งดดื่มสุราหรือไม่ให้เกิน 20-30  กรัมต่อวัน งด                           อาหารเค็ม ออกกำลังกายพอควร งดสูบบุหรี่ งดอาหารมัน พยายามไม่เครียด

                         ถ้าไม่ได้ผลแพทย์จึงจะให้ยา และมีข้อแนะนำในการใช้ยากลุ่มนี้ ดังนี้

1)       โรคนี้จะไม่หายขาด ต้องกินยาตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเอง

2)       ห้ามซื้อยามาเพื่อรักษาเองอย่างเด็ดขาด

3)       ผู้ป่วยที่กินยาขับปัสสาวะเป็นประจำ ร่างกายอาจสูญเสีย K ถ้าพบว่ามีอาการ อ่อนแอ เป็นตระคริวง่าย ควรได้รับยา K เสริม ( แพทย์สั่ง) หรือให้รับประทาน

           ผลไม้ที่มี K มากเช่น กล้วย ส้ม

ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยในการใช้ยา

                  1. เชื่อว่ายาแก้อักเสบ สามารถรักษาได้ทั้งแผล ฝี หนอง ปวดกล้ามเนื้อ กระเพาะอาหารอักเสบ ฯ

                    ข้อเท็จจริง  ที่ชาวบ้านเรียกว่ายาแก้อักเสบ แท้จริงแล้วเป็นยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชิวนะ สามารถยับยั้งหรือ ฆ่าเชื้อจุลชีพต่างๆ ได้ ตัวอย่างยาพวกนี้ได้แก่ ยากลุ่มเพนนิซิลิน

                    ยากล่ม Sulfonamide ซึ่งยาพวกนี้ไม่สามารถรักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ปวดเอว ปวดข้อได้ ยาที่ใช้ในการรักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ปวดเอว ปวดข้อ

                    ในทาง เภสัชกรรมเรียกว่า ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์

                  2. ชาวบ้านจะเข้าใจว่า มียาล้างไต ช่วยทำความสะอาดไต เช่นเวลาปวดเอวจะซื้อยาล้างไตกินเป็นต้น

                     ข้อเท็จจริง   - ไม่มียาใดที่จะไปทำความสะอาดไต อาการปวดเอว ไม่ใช่เกิดจากกรวยไตอักเสบเสมอไป จะต้องได้รักการวินิจฉัยอย่างถูกต้องก่อนใช้ยา

                                         - คำว่า ยาล้างไต ที่ชาวบ้านเรียก แท้จริงแล้วคือยากลุ่มพวกสารที่ให้สี เช่น Methyline blue , Phenazopyridine  ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด

                  ในทางเดินปัสสาวะ ฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้อย่างอ่อนๆ เมือกินยาแล้วปัสสาวะจะมีสี เนื่องจากสีของตัวยา ทำให้มีความรู้สึกว่าได้ล้างสิ่งสกปรกออกจากไต

                  ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ๆ  ปัจจุบันแพทย์ไม่นิยมใช้ยากลุ่มนี้

                  3. เชื่อว่ามียาที่ใช้แก้น้ำเหลืองเสีย เวลาเด็กเป็นผื่นคัน มีหนอง

                    ข้อเท็จจริง ไม่มียาใดที่จะไปถ่ายน้ำเหลืองได้ ยาที่จ่ายถ้ามีผื่นคันจะเป็นยาแก้แพ้ ถ้ามีหนอง แสดงว่าผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย จะต้องให้ยาปฏิชีวนะ

                     หรือยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม

                  4. แก้แคปซูลยาปฏิชีวนะโรยแผล

                    ข้อเท็จจริง  เป็นการไม่สมควรที่จะทำเช่นนั้น เพราะนอกจากจะไม่ทำให้แผลหายเร็วแล้วยังทำให้เป็นที่เจริญของเชื้อได้ดี เนื่องสารสารที่โรยแผลนั้น

                   ไม่ได้ประกอบไปด้วย   ตัวยาสำคัญอย่างเดียว ยังคงมีสารอื่นๆ เพื่อใช้ในการผลิตยาอยู่หลายตัว ซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรคได้ ทำให้แผลหายช้ายิ่งขึ้น

                  5. เชื่อว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ กินเพื่อให้หายเหนื่อย

                    ข้อเท็จจริง  ผงน้ำตาลเกลือแร่นำมาใช้เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไป เช่นเวลาท้องเสีย เสียเหงื่อมาก ไม่ใช่กินเพื่อเป็นยาทำให้หายเหนื่อย ในทางตรงข้ามถ้า คนสูงอายุ

                     เด็ก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ จะทำให้เกิดอันตรายได้

 

ส่งเมล์ถึง phadang_p@hotmail.com ร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับยา-สมุนไพร
Copyright © 2003
ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:30/05/46