Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

ศูนย์ประสานงานนักเรียนนายสิบทหารบก

ขอต้อนรับสิบตรีใหม่รุ่นที่ 4/43 แห่งกองทัพบกไทย ด้วยความยินดียิ่ง  ....จากพี่ๆ รุ่นที่ 1/40,2/41 และ 3/42    ...Welcome   to  NCO. Coordination  Centre  Homepage....

[กลับสู่หน้าหลัก] [บันทึกสมุดเยี่ยม] [อ่านสมุดเยี่ยม] [ติดต่อผู้จัดทำ] [แจ้งเปลี่ยนที่อยู่] [ขอขอบคุณ]

สิทธิของข้าราชการทหารในขณะประจำการยามปกติ

เครื่องแบบทหารบกชาย

    1. เครื่องแบบพลทหาร มี 5 ชนิด
        1. เครื่องแบบปกติ
        2. เครื่องแบบฝึก
        3. เครื่องแบบสนาม
        4. เครื่องแบบครึ่งยศ
        5. เครื่องแบบเต็มยศ
    2. เครื่องแบบนักเรียนนายสิบและทหารประทวน มี 8 ชนิด
        1. เครื่องแบบปกติขาว
        2. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ
        3. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอพับ
        4. เครื่องแบบปกตินวลแกมเขียวคอพับ
        5. เครื่องแบบฝึก
        6. เครื่องแบบสนาม
        7. เครื่องแบบครึ่งยศ
        8. เครื่องแบบเต็มยศ
    3. เครื่องแบบนักเรียนนายร้อย มี 9 ชนิด
        1. เครื่องแบบปกติขาว
        2. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ
        3. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอพับ
        4. เครื่องแบบปกตินวลแกมเขียวคอพับ
        5. เครื่องแบบฝึก
        6. เครื่องแบบสนาม
        7. เครื่องแบบครึ่งยศ
        8. เครื่องแบบเต็มยศ
        9. เครื่องแบบสโมสร

เครื่องแบบทหารบกหญิง มี 12 ชนิด

    1. เครื่องแบบปกติขาว
    2. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ
    3. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอปก
    4. เครื่องแบบปกติขาวคอปก
    5. เครื่องแบบปกติกากีนวลแกมเขียวคอปก
    6. เครื่องแบบปกติกากีนวลแกมเขียวคอพับ
    7. เครื่องแบบปกติขาวคอพับ
    8. เครื่องแบบฝึก
    9. เครื่องแบบสนาม
    10. เครื่องแบบครึ่งยศ
    11. เครื่องแบบเต็มยศ
    12. เครื่องแบบสโมสร

เงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ

    1. เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา (พ.)
    2. เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.)
    3. เงินเพิ่มนักโดดร่มประจำกอง (พ.ต.ร.)
    4. เงินเพิ่มนักโดดร่มสำรอง (พ.ด.ส.ร.)
    5. เงินเพิ่มนักบินลองเครื่อง (พ.ล.ค.)
    6. เงินเพิ่มครูการบิน (พ.ค.บ.)
    7. เงินเพิ่มนักบินประจำกอง (พ.น.บ.)
    8. เงินเพิ่มนักบินสำรอง (พ.น.บ.ส.)
    9. เงินเพิ่มศิษย์การบินชั้นมัธยม (พ.ศ.ม.)
    10. เงินเพิ่มศิษย์การบินชั้นประถม (พ.ศ.ป.)
    11. เงินเพิ่มผู้ทำการบนอากาศยานเป็นประจำ (พ.ป.อ.)
    12. เงินเพิ่มผู้ปฏิบัติงานทำลายวัตถุระเบิดเป็นประจำ (พ.ท.ล.)
    13. เงินเพิ่มสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (พ.ข.ต.)
    14. เงินเพิ่มพิเศษค่าภาษามลายู (พ.ภ.ม.)
    15. เงินเบี้ยกันดาร
    16. เงินเพิ่มพิเศษผู้บังคับอากาศยาน

เงินประจำตำแหน่ง

    1. เงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
    2. เงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
    3. เงินประจำตำแหน่งประเภทผู้เชียวชาญเฉพาะ
    4. เงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
    5. เงินประจำตำแหน่งประเภทตุลาการพระธรรมนูญและพระอัยการทหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน

    1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536

1.1 ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)

1.2 ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.)เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)

1.3 ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)

1.4 ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)

1.5 ชั้นที่ 3 ตริยาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

1.6 ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

1.7 ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

1.8 ชั้นสูงสุดมหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)

1.9 ชั้นสูงสุดมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ต่ำกว่าชั้นสายสะพาย

ยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ส.ต.

ส.ท.

ส.อ.

จ.ส.ต. – จ.ส.อ.

จ.ส.อ. (พิเศษ)

ร.ต. (น.1 ชั้น 1-2)

ร.ต. (น.1 ชั้น 3)

ร.ท.

ร.อ.

พ.ต.

พ.ท.

พ.อ.

พ.อ.(พิเศษ)

ร.ง.ม. กรณีพิเศษ

ร.ง.ช. กรณีพิเศษ

ร.ท.ม. กรณีพิเศษ

ร.ท.ช. กรณีพิเศษ

ร.ท.ช. – จ.ม. 5 ปี

บ.ม. – บ.ช. 5 ปี

จ.ม.

จ.ม.

จ.ช.

ต.ม.

ต.ช.

ท.ม.

ท.ช.

ชั้นสายสะพาย

ยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หลักเกณฑ์

พ.อ.(พิเศษ) กรณีเกษียณ

ท.ช. – ป.ม. 5 ปี

  • ขอปีเกษียณหรือปีก่อนเกษียณ
  • เงินเดือนเต็มขั้น
  • ตำแหน่งผู้บังคับบัญชา

พ.อ.(พิเศษ)

ท.ช. – ป.ม. 3 ปี

  • เงินเดือนขั้นต้นของ พล.ต.
  • ตำแหน่ง รอง จก.,รอง ผบ.พล.หรือเทียบเท่า

พล.ต.

ท.ช. – ป.ม. 3 ปี

ป.ม. – ป.ช. 3 ปี

ป.ช. – ม.ว.ม. 5 ปี

  • กรณีเกษียณ ขอปีติดกันได้ แต่ไม่เกิน ป.ช.
  •  

พล.ท.

ป.ม. – ป.ช. 3 ปี

ป.ช. – ม.ว.ม. 3 ปี

ม.ว.ม. – ม.ป.ช. 5 ปี

  • กรณีเกษียณ ขอปีติดกันได้ แต่ไม่เกิน ม.ว.ม.
  •  

พล.อ.

ป.ม. – ป.ช. 3 ปี

ป.ช. – ม.ว.ม. 3 ปี

ม.ว.ม. – ม.ป.ช. 3 ปี

  • กรณีเกษียณ ขอปีติดกันได้
  •  

หมายเหตุ.-

    1. ขอครั้งแรกต้องมีเวลารับราชการครบ 5 ปีบริบูรณ์ ถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาไม่น้อยกว่า 60 วัน ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหาร ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน
    2. ขอปีเว้นปีตามชั้นยศ

ค่าเช่าบ้าน

หลักเกณฑ์ ย้ายไปรับราชการต่างท้องที่ มีสิทธิเบิกได้เว้น

    1. บรรจุครั้งแรก
    2. ทางราชการจัดให้แล้ว
    3. มีบ้านเป็นของตนเอง หรือของภรรยาอยู่ในท้องที่นั้น

ท้องที่ กทม.ทุกเขต ถือเป็นท้องที่เดียวกัน ต่างจังหวัด ถือว่า อำเภอหรือกิ่งอำเภอเป็นท้องที่เดียวกัน เมื่อได้รับสิทธิค่าเช่าบ้านแล้ว สามารถเช่าซื้อได้โดยมีเงื่อนไข

    1. ผ่อนได้หลังเดียวภายในท้องที่นั้น
    2. ผ่อนกับสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด
    3. ไม่เคยใช้สิทธิในการเช่าซื้อ ในท้องที่นั้นมาก่อน

อัตราค่าเช่าบ้านในปัจจุบัน ตั้งแต่เดือนละไม่เกิน 800 บาทถึง 4000 บาท

การลา

    1. ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการลา 2536
    2. การเสนอใบลาให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ที่มีอำนาจให้ลา
    3. การนับวันลากิจและลาพักผ่อนประจำปี นับเฉพาะวันทำการ
    4. การลาป่วยหรือลากิจ ซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะเป็นปีเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่ง
    5. หากจะยกเลิกวันลาที่ยังไม่ได้หยุดราชการ ให้เสนอถอนวันลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ที่มีอำนาจอนุญาตการลาป่วย ในรอบปีงบประมาณ (1 ต.ค.- 30 ก.ย. ปีถัดไป)
    6. ลาป่วยได้ไม่เกิน 90 วัน
    7. ป่วยจาก ไอพิษ วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิดหรือเชื้อโรคร้ายแรง ลารักษาตัวต่อได้ไม่เกิน 180 วัน (รวม 270 วัน)
    8. จากการปฏิบัติหน้าที่ในอากาศ ใต้น้ำ ใต้ดิน การรบ ฯลฯ หน้าที่พิเศษหรืออนุมัติจาก ร.ม.ว. กห. จะลาได้ไม่เกิน 365 วัน ถ้าไม่หาย เข้าหลักเกณฑ์ได้รับสงเคราะห์ตามกฎหมาย ลารักษาตัวต่อได้ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี แต่ถ้าระยะเวลา 1 ปี ไม่เพียงพอคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ลาต่ออีกก็ได้ ลาคลอดบุตร ลาได้ 90 วัน โดยไม่รับเงินเดือน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
    9. ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ 150 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน

ลากิจ รอบปีงบประมาณ (1 ต.ค.- 30 ก.ย. ปีถัดไป) ไม่เกิน 45 วันทำการ

    1. ลากิจไปประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย เช่น พม่า ลาว กัมพูชา ไม่เกิน 45 วันทำการ
    2. ลากิจไปทวีปเอเชีย ไม่เกิน 50 วันทำการ
    3. ในทวีปอื่นๆ นอกเหนือจากเอเชีย ไม่เกิน 55 วันทำการ

ลาพักผ่อน รอบปีงบประมาณ (1 ต.ค.- 30 ก.ย. ปีถัดไป) ไม่เกิน 10 วันทำการ

    1. ถ้า 2 ปี ไม่ได้ลาเลย สะสมวันลาได้ 20 วันทำการ
    2. ถ้ารับราชการเกิน 10 ปี ไม่ได้ลาติดต่อกัน 2 ปี สะสมวันลาได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
      1. บรรจุไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
      2. การลากิจ ลาพักผ่อนประจำปีไปต่างประเทศ เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ.ก่อนเดินทางอย่างน้อย 15 วัน

ลาอุปสมบท

    1. ลาบวชกรณีพิเศษอย่างน้อย 15 วัน กพ.ทบ. ดำเนินการ
    2. ลาบวช 120 วัน หรือ 1 พรรษา สบ.ทบ.ดำเนินการ และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ต้องอุปสมบทใน 10 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มลา

ลาไปประกอบพิธีฮัจย์

    1. ลาได้ 120 วัน เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ก่อน 30 วัน
    2. ออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มลา

การครองยศ(สัญญาบัตร)

การนับจำนวนปีที่รับราชการในชั้นยศนายทหารสัญญาบัตร

คุณวุฒิ

ร.ต.

ปี

ร.ท.

ปี

ร.อ.

ปี

พ.ต.

ปี

พ.ท.

ปี

พ.อ.

ปี

พ.อ.

(พ) ปี

  • เลื่อนฐานะ,ปริญญาตรีชั้น 1 หรือไม่ตรงตามวุฒิ
  • ปริญญาตรีต่างประเทศ เงินเดือนต่ำกว่าไทย
  • ปริญญาตรี 4 ปี
  • ปริญญาตรี 5 ปี
  • ปริญญาตรีทันตแพทย์หรือสัตวแพทย์ หรือสถาปัตย์ 6 ปี
  • ปริญญาตรีแพทย์ศาสตร์
  • ปริญญาตรีแพทย์ศาสตร์กับวุฒิบัตร(แพทย์เฉพาะทาง)
  • ปริญญาโท 6 ปี
  • ปริญญาโท 7 ปี
  • ปริญญาโท 8 ปี
  • ปริญญาเอก
โรงเรียนทหารในประเทศ
  • หลักสูตร 3 ปี
  • หลักสูตร 4 ปี
  • หลักสูตร 5 ปี
โรงเรียนทหารในต่างประเทศ
  • หลักสูตร 2 ปี
  • หลักสูตร 3 ปี
  • หลักสูตร 4 ปีขึ้นไป
3
3
3
2
2
2
1
2
2
1
1
 
3
3
2
 
3
3
2
4
4
3
3
3
2
2
3
2
2
2
 
4
3
3
 
4
3
3
4
4
4
4
3
3
2
3
3
3
2
 
4
4
4
 
4
4
4
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
 
3
3
3
 
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
 
3
3
3
 
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
3
 
3
3
3
 
3
3
3
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
 
2
2
2
 
2
2
2

 

การนับจำนวนปีที่รับราชการในชั้นยศประทวน

ตรงตามคุณวุฒิ
ส.ต.
ส.ท.
ส.อ.
จ.ส.ต.-จ.ส.อ.
- ไม่ตรงคุณวุฒิ
2 ปี 8 เดือน
2 ปี
3 ปี
 
  • นร.นายสิบซึ่งต่อจาก ม.3 หรือเทียบเท่า
  • 1 ปี
  • 2 ปี
  • 3 ปี
  • 4 ปี
 
1 ปี 8 เดือน
8 เดือน
8 เดือน
8 เดือน
 
3 ปี
3 ปี
3 ปี
3 ปี
 
3 ปี
3 ปี
3 ปี
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี
  • นร.นายสิบซึ่งต่อจาก ม.6 หรือเทียบเท่า
  • 1 ปี
  • 2 ปี
 
8 เดือน
8 เดือน
 
2 ปี
1 ปี
 
3 ปี
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ป
ีชั้นยศละ 1 ปี
  • ประกาศนียบัตรวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย
  • ทบ.ทร.ทอ.ซึ่งมีหลักสูตรไม่น้อยกว่า 4 ปี 
  • ต่อจากจบ ม.3 หรือเทียบเท่า

      
1 ปี 8 เดือน
 
1 ปี
 
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ปี
  • พลทหารกองหนุน ประเภทที่ 1 ม.3 ขึ้นไป และส.ต.กองประจำการ 
  • ซึ่งมีขั้นความรู้วิชาสามัญหรือวิชาพิเศษ (เช่นพลขับ)
 
1 ปี 8 เดือน
 
3 ปี
 
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ปี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าเปรียญธรรมประโยคหก,เจ็ด,แปด,
  • หรือผู้ช่วยพยาบาล ทบ.ทร.ทอ.ซึ่งมีหลักสูตร 1 ปี ต่อจาก ม.3 หรือเทียบเท่า
 
1 ปี 8 เดือน
 
3 ปี
 
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ปี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพต่อจาก ม.3 หรือเทียบเท่า(ปวช.)
  • 1 ปี
  • 2 ปี
  • 3 ปี
 
1 ปี 8 เดือน
8 เดือน
8 เดือน
 
3 ปี
3 ปี
2 ปี
 
3 ปี
3 ปี
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพต่อจาก ม.6 หรือเทียบเท่า (ปวท.ปวส.)
  • 1 ปี
  • 2 ปี
 
8 เดือน
8 เดือน
 
3 ปี
2 ปี
 
3 ปี
3 ปี
 
ชั้นยศละ 1 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี
  • นร.ดุริยางค์ ของ ทบ.ทร.ทอ.ซึ่งต่อจาก ป.6 ไป 5 ปี หรือเทียบเท่า
1 ปี 8 เดือน
3 ปี
3 ปี
ชั้นยศละ 1 ปี

หมายเหตุ.-

การแต่งตั้งยศโดยปกติให้แต่งตั้งยศเป็น ส.ต.ก่อน ยกเว้นบุคคลดังต่อไปนี้เป็น จ.ส.ต.

    1. นร.นายสิบ ซึ่งมีหลักสูตร 3 ปี ต่อจาก ม.ปลาย
    2. ผู้ได้รับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบเท่าอนุปริญญาทั้งในและต่างประเทศ
    3. ผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศ ซึ่งเทียบเท่าอนุปริญญาในประเทศไทย
    4. ต้องครองอัตรา จ.ถ้าครองอัตรา ส.อ.ให้รับราชการในชั้นยศ ส.ต.8 เดือน ส.ท.1 ปี และ ส.อ.3 ปี

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

  1. เบี้ยหวัด

นายทหารสัญญาบัตร

  1. มีเวลาราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี บริบูรณ์ (รวมวันทวีคูณ)
  2. ออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน โดยมีอายุกองหนุนตามยศ ดังนี้

ยศ

กองหนุน

(อายุไม่เกิน)

นอกราชการ

(อายุไม่เกิน)

พ้นราชการ

ร.ต. - ร.อ.

พ.ต. – พ.อ.

พ.อ. - นายพล

45

50

55

5

60

65

ปรับย้ายประเภทใน 1ม.ค.ของปีถัดไปที่อายุครบเกณฑ์ตามชั้นยศ

หมายเหตุ.-

หน่วยต้นสังกัดครั้งสุดท้ายเมื่อออกจากราชการ ร.ต.-พ.อ. สังกัด จทบ. นายพล สังกัด สป.

นายทหารประทวน และพลอาสาสมัคร

    1. มีเวลาราชการต่อจากกองประจำการไม่น้อยกว่า 1 ปี บริบูรณ์ (ไม่รวมวันทวีคูณ แต่เมื่อมีสิทธิแล้วถึงจะนำไปรวมคิดคำนวณเบี้ยหวัด)
    2. ออกจากราชการยังไม่พ้นกองหนุนชั้นที่ 2 โดยมีอายุกองหนุนดังนี้
    3. 2.2 กองประจำการ 2 ปี

      2.3 กองหนุนชั้นที่ 1 7 ปี

      2.4 กองหนุนชั้นที่ 2 10 ปี

    4. นายทหารประทวนที่แต่งตั้งจากข้าราชการ กห.อายุไม่เกิน 39 ปี บริบูรณ์ (ในกรณีขึ้นทะเบียนกองประจำการเมื่ออายุเกิน 21 ปี บริบูรณ์แล้ว)

หมายเหตุ.-

1. กรณีข้าราชการอายุ 18 ปีบริบูรณ์ เริ่มนับเวลาราชการตั้งแต่ 1 ม.ค.ของปีที่อายุครบ 18 หรือนับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ (กรณีของข้าราชการ กห.พลเรือน)

    1. การย้ายประเภทจะย้ายในวันที่ 1 ของเดือนที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการ

เกณฑ์คำนวณเบี้ยหวัด

1. เวลาราชการไม่ถึง 15 ปี         15 x เงินเดือนเดือนสุดท้าย / 50

2. ตั้งแต่ 15 – ไม่ถึง 25 ปี         25 x เงินเดือนเดือนสุดท้าย / 50

3. ตั้งแต่ 25 – ไม่ถึง 30 ปี         30 x เงินเดือนเดือนสุดท้าย / 50

4. ตั้งแต่ 30 – ไม่ถึง 35 ปี         35 x เงินเดือนเดือนสุดท้าย / 50

5. ตั้งแต่ 35 – ไม่ถึง 40 ปี         40 x เงินเดือนเดือนสุดท้าย / 50

6. ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป                 เวลาราชการ x เงินเดือนเดือนสุดท้าย / 50

หมายเหตุ.-

    1. เบี้ยหวัดต้องไม่เกินเงินเดือน เดือนสุดท้าย
    2. ถ้าอายุอยู่ในเกณฑ์รับเบี้ยหวัด จะขอรับบำเหน็จ บำนาญไม่ได้
    3. เงินเดือน ให้หมายรวมถึง เงินเพิ่มพิเศษที่จ่ายควบกับเงินเดือน (หมวด 100) เว้นเงินประจำตำแหน่ง และอื่นๆ ที่กำหนดโดย กระทรวงการคลัง
  1. บำเหน็จ บำนาญ ปกติ

ผู้มีสิทธิในบำเหน็จ บำนาญปกติ จะต้องเป็นผู้ที่ออกจากราชการด้วยเหตุ 4 ประการ ดังนี้

  1. เหตุทดแทน
  2. ได้แก่ ผู้ที่ทางราชการให้ออกจากราชการเนื่องจากเลิกหรือยุบตำแหน่ง ให้ออกโดยไม่มีความผิด เช่น ลาป่วยเกินกำหนด กำลังพลเสื่อม

  3. เหตุทุพพลภาพ
  4. ได้แก่ผู้ที่ลาออกหรือทางราชการให้ออกเพราะเหตุพิการทุพพลภาพหรือมีโรคขัดต่อการรับราชการทหาร ซึ่งแพทย์ลงความเห็นไม่สามารถรับราชการต่อไปได้

  5. เหตุสูงอายุ ได้แก่
    1. ผู้เกษียณอายุ
    2. ลาออกจากราชการเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์
  6. เหตุรับราชการนาน ได้แก่
    1. กรณีลาออก โดยมีเวลาราชการครบ 25 ปีบริบูรณ์
    2. กรณีทางราชการให้ออก มีเวลาราชการครบ 30 ปีบริบูรณ์

บำเหน็จ สิทธิในบำเหน็จต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

    1. ทางราชการให้ออก โดยไม่มีความผิดมีเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้น 9 ปี 6 เดือน)
    2. ลาออก มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์
    3. ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดย้ายประเภท กรณีที่ผู้ที่มีเวลาราชการไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้น 9 ปี 6 เดือน)
    4. ผู้มีสิทธิในบำนาญ แต่ขอเปลี่ยนเป็นรับบำเหน็จแทน

บำนาญ สิทธิในบำนาญ อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

    1. ทางราชการให้ออก โดยไม่มีความผิด มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    2. ลาออก
      1. มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
      2. มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีอายุครบ 50 ปี บริบูรณ์

สิทธิในบำเหน็จบำนาญ

    1. บำเหน็จบำนาญ มี 3 ประเภท
      1. บำเหน็จบำนาญปกติ เป็นเงินตอบแทนความชอบที่ไดรับราชการมา โดยบำนาญจ่ายเป็นรายเดือนและบำเหน็จจ่ายเป็นเงินก้อนเดียว
      2. บำเหน็จตกทอด จ่ายให้เมื่อข้าราชการประจำการ ข้าราชการบำนาญและทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตาย
  • ข้าราชการประจำการตาย เท่ากับ เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ แล้วแบ่งจ่ายให้ทายาทตาม พ.ร.บ.
  • ข้าราชการบำนาญตาย เท่ากับ 30 เท่าของเงินบำนาญ แล้วแบ่งให้ทายาทตาม พ.ร.บ.

สาเหตุการตาย มี 2 ประการ คือ

    1. เหตุปกติ คือเป็นโรคหรือเจ็บป่วยตาย
    2. เหตุผิดธรรมชาติ คือ อุบัติเหตุกระทำหรือถูกกระทำถึงแก่ความตาย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
    1. บำนาญพิเศษ จ่ายเป็นรายเดือนให้แก่ผู้ที่ได้รับอันตราย ป่วยเจ็บถึงทุพพลภาพ และกรณีถึงแก่ความตายเพราะเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือถูกประทุษร้าย เพราะเหตุกระทำตามหน้าที่ซึ่งเหตุอันตราย ป่วยเจ็บจากการประทุษร้ายนั้น ไม่ได้เกิดนจากความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของตนเอง

เกณฑ์การแบ่งส่วน

บำเหน็จตกทอด (แบ่งจ่ายครั้งเดียว)

1. บิดา มารดา 1 ส่วน

2. คู่สมรส 1 ส่วน

3. บุตร 2 ส่วน มี 3 คนขึ้นไป 3 ส่วน

บำนาญพิเศษ

1. บิดา มารดา 1 ส่วน (ตลอดชีพ)

2. คู่สมรส 1 ส่วน (ตลอดชีพ)

3. บุตร 2 ส่วน มี 3 คนขึ้นไป 3 ส่วนให้ได้รับถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เว้นศึกษาชั้นอุดมศึกษาให้รับถึง 25 ปีบริบูรณ์

การขอพระราชทานเพลิงศพ

การขอพระราชทานเพลิงศพกรณีปกติ (ข้าราชการประจำการและนอกประจำการ)

หลักฐาน

    1. คำขอพระราชทานเพลิงศพ หน่วย หรือทายาท เป็นผู้ขอ
    2. สำเนาใบมรณบัตร จำนวน 2 ฉบับ
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ
    4. สำเนาราชกิจจานุเบกษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ จำนวน 2 ฉบับ

การดำเนินการ

    1. ขอรับคำขอพระราชทานเพลิงศพได้ที่ แผนกพิธีการ กองการสารบรรณ สบ.ทบ.
    2. สบ.ทบ. เป็นผู้ดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ โดยทำหนังสือถึง สำนักงานพระราชวัง (แผนกพิธีการ กองพระราชพิธี)

การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งผู้เสียชีวิตเป็น บิดา มารดา ของข้าราชการทหาร

หลักฐาน

    1. เขียนคำขอพระราชทานเพลิงศพ ซึ่งมียศตั้งแต่ พ.ท.ขึ้นไป
    2. สำเนาใบมรณบัตร (นำฉบับจริงไปด้วย)
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน (นำฉบับตัวจริงไปด้วย)
    4. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ (บุตรผู้ขอ)
    5. ประวัติย่อของผู้ตาย

การขอกองทหารเกียรติยศ

หลักฐาน

    1. ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศ พ.ศ.2528 ข้อ 4.11 กองเกียรติยศจัดสำหรับศพทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการ
    2. ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับศพนายทหารนอกประจำการ พ.ศ.2538
    3. การดำเนินการ รวบรวมเอกสารเสนอ กพ.ทบ.ก่อนอย่างน้อย 15 วัน
    4. หลักฐานประกอบ
      1. สำเนาประวัติ
      2. สำเนามรณบัติ
      3. การ์ดงานศพ

หลักเกณฑ์ นายทหารนอกประจำการที่สามารถขอกองทหารเกียรติยศศพ

    1. ผู้ได้รับพระราชทานโกศบรรจุศพ
    2. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ป.ม.ขึ้นไป
    3. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
    4. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญ
    5. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1

หากเสียชีวิตจากการกระทำอันส่อไปในทางเสื่อมเสียชื่อเสียง หากจัดกองเกียรติยศ การขอต้องขอล่วงหน้าก่อนวันปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า 15 วัน

การจัดกำลัง

    1. พลทหาร และนนส.จัดกำลัง 1 หมู่ ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
    2. นายทหารชั้นประทวนและนักเรียนนายร้อย จัดกำลัง 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วนมีแตรเดี่ยว
    3. นายทหารชั้นนายร้อย จัดกำลังกึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
    4. นายทหารชั้นนายพันขึ้นไป จัดกำลัง 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือแตรวง (ถ้ามี)

การแต่งกาย

เครื่องแบบฝึก สวมถุงมือ ถ้าศพทหาร ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

    1. พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ 2539
    2. ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่ 27 มี.ค.40 จะต้องเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการทุกคน สำหรับผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการก่อน 27 มี.ค.40 สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าสมัครใจจะเข้ากองทุน จะต้องสมัครภายใน 26 มี.ค.40

สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ

    1. เงินประเดิม 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือน โดยรัฐจ่ายให้กองทุน เริ่มตั้งแต่วันเข้ารับราชการถึงวันสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน (เฉพาะผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการก่อน 27 มี.ค.40)
    2. เงินชดเชย 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือน โดยรัฐจ่ายให้กองทุน เริ่มตั้งแต่วันสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ถึงวันลาออกหรือเกษียณอายุ (เฉพาะผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการก่อน 27 มี.ค.40)
    3. เงินสะสม 3 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก (เฉพาะผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการก่อน 27 มี.ค.40ประสงค์ฝากเงินสะสมหรือไม่ก็ได้) บรรจุเข้ารับราชการก่อน 27 มี.ค.40 ต้องฝากเงินสะสมทุกคน
    4. เงินสมทบ 3 เปอร์เซ็นต์ โดยรัฐจ่ายให้กองทุน เริ่มตั้งแต่วันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก(เฉพาะผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการก่อน 27 มี.ค.40 ถ้าฝากเงินสะสมจะได้รับเงินสมทบนี้)
    5. กรณีสมาชิกขอรับบำเหน็จ จะได้รับ
      1. เงินสะสม รวมผลประโยชน์
      2. เงินสมทบ รวมผลประโยชน์
      3. บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
    6. กรณีสมาชิกขอรับบำนาญ จะได้รับ
      1. เงินประเดิม รวมผลประโยชน์ (เฉพาะผู้บรรจุก่อน 27 มี.ค.40)
      2. เงินชดเชย รวมผลประโยชน์ (เฉพาะผู้บรรจุก่อน 27 มี.ค.40)
      3. เงินสะสม รวมผลประโยชน์
      4. เงินสมทบ รวมผลประโยชน์ (เฉพาะผู้บรรจุก่อน 27 มี.ค.40)
      5. บำนาญเป็นรายเดือน = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ / 50

      แต่ต้องไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

    7. เงินก้อนที่ได้รับจาก กบข. (เงินประเดิม,เงินชดเชย,เงินสะสม,เงินสมทบ,และผลประโยชน์) กรณีเกษียณ ทดแทน พิการทุพพลภาพ ไม่เสียภาษี แต่ถ้าเงินกรณีลาออกจะต้องเสียภาษี
    8. หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขบำเหน็จ บำนาญ เหมือนในปัจจุบัน เพียงแต่สูตรในการคิดคำนวณบำนาญเปลี่ยนไป

เงินสินไหมทดแทน (พิทักษ์พล)

    1. ผู้ที่จะได้รับสิทธิ
    2. พลทหารกองประจำการ และนักเรียนทหารของกองทัพบกที่ไดรับอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือพิการทุพพลภาพจนเป็นสาเหตุให้ถูกปลดออกจากกองประจำการ หรือถูกปลดพ้นสภาพจากความเป็นนักเรียนจากสาเหตุทางการฝึกทางการศึกษาทางธุรการ และอื่น ๆ ทั้งนี้ ต้องมิใช่เกิดจากสาเหตุความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือจากการกระทำของตนเอง สืบเนื่องจากยาเสพติด โรงซึ่งเกิดก่อนเข้าเป็นทหารกองประจำการ จนไม่สามารถรับการฝึกตามหลักสูตรเบื้องต้นของทางราชการได้

    3. การขอรับสิทธิ
      1. หน่วยต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการเสนอตามสายการบังคับบัญชา ถึงระดับกองพลหรือเทียบเท่า แล้วจึงเสนอเรื่องให้กพ.ทบ.
      2. ผู้มีอำนาจอนุมัติ (เสธ.ทบ.) อนุมัติแล้ว กพ.ทบ.จะแจ้งให้ สก.ทบ.ทราบเพื่อประสาน บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิ พร้อมแจ้งให้กับหน่วยงานทราบ
      3. สก.ทบ. แจ้งหน่วยที่ขอรับสิทธิและหน่วยต้นสังกัดของกำลังพลที่ขอสิทธิทราบเพื่อมอบเงินค่าสินไหมทดแทนประกันชีวิต
    4. การจ่ายเงินสินไหมทดแทน
      1. พลทหารกองประจำการ รายละ 10,000 บาท
      2. นักเรียนนายสิบ นักเรียนดุริยางค์ของกองทัพบกรายละ 20,000 บาท
      3. นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียนแพทย์ทหาร นักเรียนพยาบาลกองทัพบก รายละ 30 ,000 บาท