Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
|หน้าแรก | พันตรีเกร็งกริว | สถาบันการศึกษา | ดาวน์โหลด | ฟรีe-mail |หน่วยงานของรัฐบาล | 20สโมสรฟุตบอลชื่อดัง | ธนาคาร | คำศัพท์ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต | ฟรีแบ็คกราวด์ |
   

t

u

n

j

a

i

   
บทความโดยพันตรีเกร็งกริว(สมรภูมิเสียดสี)

ตำนานแม่บ้านสวนมะลิ

เงื่อนชีวิตสมรแม้นศรี ผัวรู้ได้... แต่ลูกรู้ไม่ได้ จะว่าไป... การหาลำไพ่พิเศษของแม่บ้านบางกลุ่มในยุคเศรษฐกิจบีบคั้นอย่างนี้... หากเป็นการงานบริการ หรืองานค้างานขายทั่วๆ ไป ไม่ใช่เรื่องแปลก... แต่เรื่องที่เสียงซุบซิบนินทากันว่า มีแม่บ้านแอบไปให้บริการอย่างว่า... จนเป็นที่รู้จักมักคุ้นในหมู่ผู้ชายที่เรียกตัวว่าอาชาไนยนี่น่ะซี... อาจดูเป็นเรื่องแปลก ความแปลกมาพร้อมกับความประหลาดใจ เธอเป็นแม่บ้านทำงานสมัครเล่นๆ หรือเป็นโสเภณีอาชีพ ใช้ฉากแม่บ้านเสริมกระบวนการขาย ทั้งที่แปลก ปนๆ กับความฉงนสนเท่ห์ แต่เรื่องทำนองนี้มีเป็นตำนานสืบทอดกันมานานหลายสิบปีโดยเฉพาะที่โรงแรมเล็กๆ แห่งหนึ่ง ย่านสี่แยกแม้นศรียิ่งดูเหมือนว่าบริการจากแม่บ้าน จะถูกใช้เป็นป้ายยี่ห้อนำหน้า เขาว่ากันว่า... ที่นี่... โรงแรมแห่งนี้เป็นสถานที่ที่แม่บ้านกลุ่มหนึ่ง ได้ยึดหัวหาด... เปิดเป็นโชว์รูมจำหน่ายสินค้าส่วนตัวด้วยการทำงานแบบเช้ามาเย็นกลับ ความจริงข้อนี้มีแค่ไหน... หลับตานึกถึงสี่แยกแม้นศรีต้องเห็นสำนักงานการประปานครหลวง (เก่า) ที่มีถังนํ้าประปาเก่าๆ ตั้งตระหง่านบรรยากาศตึกรามบ้านช่องละแวกข้างเคียง ยังคงสภาพเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากนัก กลางวันแสนจะพลุกพล่าน รถราแออัดเยียดยัดผู้คนเดินขวักไขว่ บ่ายแก่เต็มทีเข็มนาฬิกาบอกเวลาเลิกงานริมบาทวิถี... มุ่งหน้าไปถนนบำรุงเมืองเข้าซอยสวนมะลิ 1ฝั่งตรงข้ามซอยแม้นศรี หญิงสาวสักคน... ในชุดสะดุดตา...มองผิวเผินภายนอก ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่า หล่อนน่าเป็นสาวออฟฟิศแห่งใดแห่งหนึ่ง ตามเธอไป... เธอเดินหายเข้าไปในบริษัทแห่งหนึ่ง ในซอยซอกข้างตึกแถว ซอกซอยนั้นไม่มีสิ่งใดเด่นสะดุดตาแต่เหตุไฉนจึงมี... ผู้ชาย... มากหน้าหลายระดับ ตั้งแต่เฒ่าแก่ไปจนถึงจับกัง กระทั่งคนในเครื่องแบบข้าราชการเดินเข้า-เดินออก ลึกเข้าไปถึงภายในบริเวณที่มองเผินๆ ว่าน่าจะเป็นบริษัทการค้าสักแห่ง แต่แค่ก้าวแรกที่เหยียบย่างบริเวณชั้นล่างสัญชาตญาณผู้ชาย ก็บอกได้ฉับพลันทันทีว่า นี่ธุรกิจบริการโสเภณี กลางห้องโถง ไม่กว้างมากนัก... ผู้หญิงหลายคนมากกว่าสิบคนนั่งอยู่ตรงนั้น เคาน์เตอร์กับโซฟาวางตระหง่านนี่คือจุดติดต่อขอใช้บริการสำหรับลูกค้า ถัดไปทั้งสองฟาก เป็นห้องบริการทุกห้องจะติดหมายเลข มองๆ ไปก็คล้ายโรงแรมทั่วไป สุดมุมทางเดิน... ผู้หญิงคนหนึ่งนั่งอยู่หน้าห้อง... ท่าทีคล้ายเธอกำลังรอใคร แต่งเนื้อแต่งตัวดูดีว่าไม่ส่อแววผู้หญิงอย่างว่าสักหน่อย วัยของเธอบวกกับการ...คำนวณจากตีนกาเส้นประสบการณ์ ที่ปรากฏบนใบหน้า... พอจะเดาได้ว่าหล่อนผ่านและกร้านกรำกับโลกใบนี้มากพอสมควร แน่นอน... เธอเป็นแม่บ้าน สัญลักษณ์บริการย่านนี้ บางคนอาจมองอย่างเข้าใจค่อนไปข้างเห็นใจเธอเป็นแม่ศรีเรือนยุคใหม่ ยุคไอเอ็มเอฟ ที่ดิ้นรนต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่บีบคั้น มองไปที่ทางขึ้นชั้นสอง...บันไดไม้ไม่ต่างจากโรงนํ้าชา หรือโรงแรม ... ย่างพ้นขั้นสุดท้าย อาโกกับลูกน้องสามคนนั่งอยู่เคาน์เตอร์ถัดไปเป็นห้อง ภายในมีสาววัยรุ่นปะปนกับสาววัยเฉียด 30นั่งประมาณ 20 คน อีกห้องหนึ่ง อยู่สุดมุมทางด้านซ้ายเป็นสาววัยดึก คาดคะเนด้วยสายตา อายุของเธอไม่น่าจะตํ่ากว่า 40และสาวใหญ่กลุ่มนี้ วันนี้พวกเธอคือเป้าหมาย ธุรกิจแห่งนี้... แบ่งเป็นสองแบบ...แบบสมัครเล่น และแบบมืออาชีพ แบบแรกมาเป็นเวลา แบบหลังเปิดบริการไม่จำกัดเวลา ธุรกิจสองแบบนี้ เมื่อผสมผสาน...มันรุ่งเรืองอย่างไม่น่าเชื่อ ถึงขนาดต้องจองตัวต่อคิว ชนิดอาโกเปลี่ยนผ้าปูที่นอนไม่ทัน ถึงขั้นต้องเร่งเวลาปูผืนใหม่ทับผืนเก่า อัตราค่าบริการ มีให้เลือกตามทุนทรัพย์ คือ200, 300 และ 500 บาท ไม่แบ่งเกรดว่าเป็นมืออาชีพ หรือสมัครเล่น...สนนราคามากน้อยอยู่กับเธอเหล่านั้น สวยหน่อย หรือเด็กหน่อยก็เรียกราคาสูง...คนไหนรู้ตัวว่าไม่สวย ก็เอาแค่ราคาพอเหมาะ ส่วนพวกที่จัดว่าเก่าแก่แตกลายงา ก็ยังมีลูกค้าที่นิยมสมํ่าเสมอ น่าแปลกที่พวกเธอยังใช้อำนาจต่อรองเรียกร้องราคาได้เท่ากับสาวๆ หลักบริหารธุรกิจอาโกก็ง่ายๆไม่ว่าเธอจะค่าตัวเท่าใด ค่าห้องต้อง 100 บาท ระบบปันผลประโยชน์... ไม่มีฝากเข้าบัญชีธนาคาร เหมือนนางทางโทรศัพท์ หรือเก็บไว้ที่แม่เล้าพ่อเล้า ลูกค้าจ่ายปุ๊บก็แบ่งกันปั๊บ ไม่มีติดกัน ข้อสำคัญไม่มีการโกง อาโกเปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 24.00น. ส่วนแม่บ้านเจ้าของสินค้าทั้งหลาย... จะเข้างานเลิกงาน หรือหยุดงานตอนไหนก็ได้...มีสิทธิเสรีภาพส่วนตัวเต็มที่ มีคนไม่มากนักที่จะรู้ว่า... หลังม่านชีวิตของหนึ่งหน้า ในตำนานแม้นศรีเหล่านี้ บางคนมีฐานะจริงเป็นแม่บ้าน ที่มีพร้อมทั้งลูกทั้งผัว เหมือนครอบครัวชาวบ้านสามัญ "พี่ทำงานตรงนี้มาสิบปีกว่าแล้ว" สมรวัยสี่สิบปี เธอคนนี้ยืนยันว่าเป็นแม่บ้านได้อย่างสบายปาก เธออยากเรียกตัวเองว่าพี่ ลูกค้าประจำรู้จัก และเรียกเธอเป็นสัญลักษณ์ว่า "หมอนแม้นศรี" จากพิจิตร จังหวัดบ้านเกิดหนีพ่อแม่ตามสามีอาชีพเซลส์แมน มาอยู่กรุงเทพฯ รายได้จากการขายยาของสามี แรกๆ ก็พอกินพอใช้ ไม่ต้องแสวงหารายได้จากทางอื่น "พอมีลูกคนแรก รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น"หมอนแม้นศรีเปิดอก "ตอนแรกพี่ไปทำงานโรงงานย่านรังสิตก็มีรายได้ช่วยผัวได้อีกแรง แต่พอมีลูกคนที่สอง และคนที่สาม คราวนี้ก็เริ่มยุ่ง ไหนจะไอ้คนแรกต้องเข้าโรงเรียน ไอ้คนที่สองก็โตวันโตคืน ต้องเข้าโรงเรียนอีกคนถึงตอนนี้เงินเดือนจากโรงงานก็ไม่พอแล้ว" สองคนผัวเมียปรับทุกข์กัน หาทางออกยังไม่ได้ หันไปปรับทุกข์กับเพื่อนในโรงงาน "ตอนเพื่อนออกปากชวน ตัดสินใจอยู่ตั้งนานกลัวแฟนพี่เขาจะรู้ แต่ทำยังไงลูกเราต้องเรียนต้องกินเราให้เขาอดไม่ได้ ก็เลยตัดสินใจตามเพื่อน ครั้งแรกทำเฉพาะตอนหลังเลิกงาน แต่เงินก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี" สมรสาวโรงงาน ตัดสินใจเลือกอาชีพใหม่ที่แม้นศรี อยู่กับอาโกอย่างเต็มตัว "ส่งลูกที่โรงเรียนแล้วพี่ก็จะมาที่นี่ก็ประมาณ 10 โมงเช้า แขกประจำส่วนมาก ก็พ่อค้าแถวๆ นี้ กับพนักงานการประปา หมุนเวียนสลับกันมาไม่เคยขาด เวลาที่จำกัด วันหนึ่งบริการได้ไม่เกิน 3 คนได้เวลาก็ต้องไปรับลูกกลับบ้าน ทำกับข้าวให้ลูกให้แฟน" แล้วก็ถึงคำถามเจาะตรงหัวใจ "แฟนกับลูกรู้หรือเปล่า" สมรนิ่งอยู่นาน แล้วก็ค่อยเรียบเรียงคำพูดออกมาช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ "น้องรู้มั้ย... ไม่มีผู้หญิงคนไหนนอนกับคนอื่น แล้วมีความสุขเท่านอนกับผัว ตอนแรกผัวพี่ไม่รู้เขาเป็นเซลส์ต้องไปต่างจังหวัด นานๆ จะกลับบ้านสักที ปิดเขาอยู่ 3 ปี เขาไม่เคยระแคะระคาย ตอนนั้นสงสารเขามากเวลานอนกับเขา รู้สึกขยะแขยงตัวเองมาก จนทนสภาพตัวเองไม่ได้ เล่าความจริงให้เขาฟังผลเป็นไง... เขาอาละวาด ไม่ยอมทำการทำงานเมาทุกวันปีกว่ากว่าเขาจะทำใจได้ ตอนนี้เขาเริ่มรับได้ แต่ยังเมาไม่เลิก แต่ความจริงกับผัวเป็นเพียงด้านหนึ่งความจริงอีกบางด้านกับลูกเล่า "หัวเด็ดตีนขาดยังไง พี่ก็ไม่ยอมให้ลูกรู้..." สมร...หนึ่งในตำนาน "แม่บ้านแม้นศรี" สรุปจากหัวใจของคนเป็นแม่ได้แค่นั้น.
                                           
          เรื่องหมาๆ

         ปล่อยหมาที่วัดฆ่าสัตว์ทั้งเป็น                 ตั้งแต่มีการปฎิรูปวัดเกิดขึ้น
วัดนอกจากจะเป็นที่พึ่งใบบุญของชาวพุทธแล้ว
                     ยังเป็นที่พึ่งของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เพราะเชื่อว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นเขตอภัยทาน
                     เขตที่ใช้ธรรมะเยี่ยวยา
เพื่อให้สรรพสัตว์หลุดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวพุทธทั้งหลาย
                     จึงเชื่อว่า การนำสัตว์ไปปล่อยยังวัด
ก็คือการให้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า เพราะนอกจากสัตว์จะไม่ถูกฆ่าแล้ว
                     ยังได้รับความเมตตาจากคนที่อาศัยอยู่ในวัด
ด้วยการให้ทานให้อาหารอีกด้วย
                     ชาวพุทธทั้งหลายเชื่อกันอย่างนั้น...
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าทำไมเมื่อเราเดินทางเข้าไปทำบุญ
                     หรือร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวัด โดยเฉพาะวัดในกรุงเทพ
จะเห็นสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่
                     และที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ สุนัข หรือ
หมา-เพื่อนยากของมนุษย์นั่นเอง
                     นอกเหนือจากหลงทางใช้วัดเป็นที่พึ่งแล้ว
ส่วนใหญ่ก็เป็นหมาที่ประชาชนไม่ประสงค์จะเลี้ยงมากกว่า
                     อาจจะด้วยสาเหตุประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
บ้างไม่ต้องการ
                     เพราะขาดความน่ารักไม่เหมือนตอนยังเป็นหมาเด็ก
หรือจำใจนำไปทิ้ง
                     เนื่องจากต้องย้ายสถานที่อยู่ใหม่
หรือบางรายที่นำไปทิ้ง                   
อาจไปสร้างความรำคาญให้กับเพื่อนบ้านเรือนเคียงและอีกหลายสาเหตุที่ยากจะคาดเดาได้
                     ท่านผู้รักสัตว์นามว่า 'สุนัข'
ทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า                   
การนำสุนัขไปทิ้งยังวัดอาจจะเป็นทางออกทางหนึ่งก็จริง
เพราะเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้จะไม่อดตาย
                     ไม่ถูกทารุณ
เนื่องจากเป็นสถานที่ของคนปฎิบัติธรรมที่ยึดหลักธรรม
                     โดยเฉพาะศีลข้อแรกที่ตอกย้ำตรึงใจชาวพุทธว่า
ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
                     แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสภาวะที่แปรเปลี่ยนไป
                   
การนำสัตว์ไปทิ้งที่วัดกลับกลายเป็นปัญหาตามมาอย่างใหญ่หลวง
                   
หลายวัดไม่มีความประสงค์ที่จะให้สัตว์เลี้ยงวิ่งเพ่นพ่าน
จึงมีนโยบายงดให้อาหาร
                     เมื่อครบกำหนดสิบห้าวัน หรือภายใน 1 เดือน
ก็จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจับไป เช่น
                     ในเขตกรุงเทพฯ ก็คือ สำนักงานกรุงเทพมหานคร
และการจับไป ก็คือการกำจัดด้วยการฆ่า
                   
ตามนโยบายที่ว่าเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้านั่นเอง

                     แต่ถ้าเป็นในเขตปริมณฑล
ก็จะเรียกสุขาภิบาลมาดำเนินการด้วยการกำจัดเช่นกัน ผู้รักสัตว์ท่านหนึ่ง                   
เล่าเหตุการณ์การฆาตกรรมสุนัขในวัดที่เห็นมากับตาให้ จุดประกาย ฟังว่า
                     มีวัดแห่งหนึ่งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ
เรียกเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลปากน้ำให้มากำจัดสุนัข
                     ด้วยการนำสารสติกนินคลุกใส่เศษกระดูกไก่ให้กิน
จากนั้นก็จับยัดใส่ถุงขยะสีดำ
                     ขณะที่บางตัวก็ยังดิ้นกระแด่วๆ อยู่ในถุ
                     นอกจากนี้ ยังมีสุนัขในวัดบางวัด แม้ไม่ถูกฆ่าตาย
ก็จะถูกทารุณ ต่างๆ นานา
                     จากน้ำมือของพระสงฆ์บางรูป เช่น
ใช้มีดฟันเป็นแผลเหวอะหวะ ถูกตี ถูกเตะจากเด็กวัด
                     หรือชาววัดที่มาขอพักพิงอาศัย                   
อย่างไรก็ตามก็ยังมีอีกหลายวัดในกรุงเทพมหานครที่ปล่อยให้สุนัขอยู่ได้
                     โดยไม่มีการเรียกหน่วยงานมากำจัด วัดไหนมีข้าว
ก็ให้กิน วัดไหนมีเพียงพอฉัน
                     ไม่เหลือติดก้นบาตร หมาก็อด คือให้อยู่ตามมีตามเกิด
ตามสภาพ
                     ตัวที่อ่อนแอไม่สามารถแย่งข้าวกินได้ ก็จะผอมโซ
อดตายในที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นขี้เรือน
                     ติดโรคกันระนาว
                     ทิ้งหมาให้วัด ทรมานสัตว์ทั้งเป็น
                     เหตุผลที่หลายวัดในกรุงเทพฯ                    
และในเขตปริมณฑลต้องสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการกำจัดสุนัข
คือ
                     ประการแรกสุนัขเป็นสัตว์แพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และแสดงอาการแล้ว
                     ไม่มีโอกาสรอดแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว
                     ประการถัดมาคือสร้างความรำคาญ เช่น เห่า
กัดผู้คนที่เดินทางเข้ามาทำบุญในวัด                   
โดยเฉพาะวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในปีอะเมซิ่งไทยแลนด์
                     สุนัขบางตัวทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนถูกหมาเลีย กัด
ก็ขยาดที่จะมาเมืองไทยไปอีกนาน
                     อีกเหตุผลที่ทำให้สุนัขถูกกำจัดออกจากวัด
คือวัดมีสถานที่คับแคบ พระจะเดินทั้งทีต้องค่อยๆ
                     ก้าวเนื่องจากมีหมาเต็มไปหมด และประการสุดท้าย
คือสุนัขถ่ายมูลทำให้วัดสกปรกเลอะเทอะ
                     ส่งกลิ่นเหม็น
เหตุผลเหล่านี้เองที่ทำให้สุนัขหายไปจากวัดหลายวัด
                     เหล่านี้มิอาจสรุปได้ว่า
วัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการกำจัดสุนัขมีความผิด
                     เนื่องจากกระทำการทารุณสัตว์
แต่ต้นเหตุของปัญหามาจากคนเลี้ยงที่ขาดความรับผิดชอบ
                     และผลักภาระให้กับสังคมเสียมากกว่า
เนื่องจากผู้เลี้ยง-เลี้ยงเพราะความน่ารักตอนเป็นหมาเด็ก
                     ไม่มีการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขของตนด้วยการทำหมัน
เมื่อสุนัขท้องออกลูก
                     เลี้ยงไม่ไหวก็จะนำไปปล่อย
และที่สำคัญไม่รับผิดชอบที่จะทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า                   
นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน
ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัข
                     ปลุกฝังจิตสำนึกประชาชน                   
พร้อมกับผลักดันนโยบายการจดทะเบียนสุนัขที่มีบทลงโทษคนเลี้ยงเมื่อไม่นำไปฉีดวัคซีน
                     ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและคุมกำเนิด
และเพิ่มโทษแก่คนที่เลี้ยงสุนัขที่ผลักภาระให้เป็นขยะของสังคม
                     ด้วยการนำสุนัขไปปล่อยตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะวัด                   
ข้อเสนอเหล่านี้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องยังทำหน้าที่และแสดงบทบาทของตนไม่เพียงพอ                    
นอกจากการกำจัดสุนัขด้วยการฆ่าทิ้งที่กระทำกันมาเป็นเวลานับสิบปี
                     แต่ปัญหาสุนัขจรจัดก็มิได้ลดลงเลย
                     'นิด' (นามสมมติ)                   
ผู้หญิงคนหนึ่งที่เลี้ยงหมาจรจัดเกือบสองร้อยตัวในวัดและบริเวณวัดแห่งหนึ่งในเขตบางนา
เล่าว่า
                     สุนัขเหล่านี้ถูกนำมาทิ้งเกือบทุกวัน
โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี
                     บางวันขนใส่รถปิคอัพมาประมาณ 20 ตัว
ลูกหมาก็จับใส่กระสอบข้าวสารแล้วโยนลงมา
                     ไม่เพียงแต่เท่านั้น บางคนขับรถเก๋งยีห้อดีๆ
ก็นำสุนัขมาทิ้งอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ตัว
                     และไม่อยากทิ้งให้คนเห็นอย่างโจ่งแจ้งในวัด
ก็จะขยับไปทิ้งหลังวัด หน้าวัดบ้าง
                     ซึ่งโดยสัญชาติญาณของสุนัขแล้วจะมีจ่าฝูง
การต้อนรับสมาชิกใหม่ คือการเห่าหรือบางตัวก็ไล่กัด
                     ถ้าตัวไหนไม่สามารถปรับตัวให้อยู่กับฝูงได้
ก็จะเร่ร่อนไปหากินที่อื่นหรือบางตัวทิ้งตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น
                     เพราะคิดว่าเจ้าของอาจจะมารับกลับไป
                     "มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขับรถฮอนด้าแอ็คคอร์ดนำมาทิ้ง 7
ตัว ทุกวันนี้ไม่เหลือตายหมด
                     ส่วนใหญ่จะตรอมใจตาย คิดถึงเจ้าของ
ไม่ยอมกินข้าว..." นิดเล่าและว่า
                     "เวลาฝนตกหมาพวกนี้ไม่มีที่หลบ จะเป็นไข้
เป็นหัดติดกันตาย บางตัวก็ถูกรถทับขาเละ
                     กว่าจะสิ้นใจตาย ก็ทรมานไปอีกหลายวัน"
                     นิดให้อาหารหมาจรจัดในวัด
รวมทั้งในชุมชนที่อยู่ใกล้วัดมาแล้วประมาณ 10 ปี เริ่มแรกนั้นมีเพียงแค่
                     7 ตัว จนถึงปัจจุบันมีประมาณ 200 ตัว                  
จากที่เธอเห็นทางวัดโทรศัพท์ไปเรียกให้กรุงเทพมหานครมาจับสุนัขที่วัดเป็นประจำ
                     เห็นสภาพแล้วทนไม่ได้ จึงได้ขอร้องกับเจ้าอาวาสว่า
จะขอเป็นผู้เลี้ยง ให้อาหาร
                     ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
และทำหมันให้ทุกตัวที่เธอสามารถจับได้
                     เธอ บอกว่า เลี้ยงหมาที่วัดจะมีปัญหามาก
บางคนด่าว่าทำให้วัดสกปรก ทั้งที่บางจุดก็จะหาจานรอง
                     และโดยทั่วไปแล้ว ข้าวที่เทให้จะไม่ค่อยเหลือ
สุนัขกินเกลี้ยง ไม่เพียงแต่เท่านั้น
                     บางคนที่อยู่ในวัดหรือพระสงฆ์ บางรูปโมโหที่หมาเห่า
เอามีดมาฟันเป็นแผลเหวอะหวะก็มี
                     "อยากบอกว่าการเอาหมามาทิ้งแบบนี้
เป็นการทรมานเขามากกว่า เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่นาน
                     ตายหมด บางคนเอามาทิ้งครั้งละ 7-10 ตัว
ส่วนมากจะรอดเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น
                     หรือไม่รอดเลยสักตัว
มีอยู่เจ้าหนึ่งเอาแม่ลูกอ่อนมาทิ้งหลังวัด พร้อมกับลูกอีก 7 ตัว
                     ทุกวันนี้ตายหมดไม่เหลือ ค่อยๆ
ทยอยตายไปทีละตัวสองตัว"
                    นิดเล่าว่า ในช่วงที่คนประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ
สุนัขตัวสวยๆ                   
ที่คนเอามาปล่อยและเธอเป็นผู้ให้อาหารจะหายไปเรื่อยๆ
และคาดว่าจะถูกนำไปแล่ทำลูกชิ้น                    
เพราะได้ยินป้าที่รู้จักกันบอกว่าเห็นกะโหลกสุนัขกองอยู่ตรงเนินหญ้า
ตอนเข้าไปเก็บผัก
                     ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากที่เธอเลี้ยงสุนัขนัก
คาดว่าจะทำกันเป็นโรงงานด้วย
                     และตอนนี้ข่าวคนกินเนื้อสุนัขก็ออกมาบ่อย                    
บางครอบครัวถึงขั้นยึดอาชีพเลี้ยงสุนัขขายแล่เนื้ออีกต่างหาก รายได้ดี
เพราะกิโลละ 80-120 บาท
                     หมาจรจัดจาก 2 วัดที่มีจิตเมตตา
                     การนำสุนัขไปปล่อยที่วัด
น้อยวัดนักที่พระจะนำปัญหาเหล่านี้มาถกเถียงกันเพื่อหาทางออก
                     เนื่องจากอาจคิด ว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่
ถ้าไม่ต้องการจะเลี้ยง เพียงแค่แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาจับ
                     ปัญหาก็จบ
แต่สำหรับวัดที่มีความประสงค์จะให้ความเมตตากับหมาเหล่านี้
                     เมื่ออาหารและสถานที่อำนวย
พร้อมกับมีคนคอยดูแลรับผิดชอบ ก็คงไม่มีปัญหา..                   
แต่จะมีสักกี่วัดที่ให้การเลี้ยงดูสุนัขเหล่านี้อย่างเป็นระบบ
                     วัดญาณสังวรารามวรวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และวัดเจดีย์หอย
                     อำเภอลาดลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
นับเป็นวัดที่มีการเลี้ยงสุนัขอย่างเป็นระบบ มีการฉีดวัคซีน
                     ทำหมัน มีอาหารให้กินทุกวันๆ ละมื้อ
                     พระครูใบฏีกา วงศ์สิน
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรวิหารฯ กล่าวว่า                   
วัดใช้พื้นที่เลี้ยงหมาจรจัดที่ญาติโยมเอามาทิ้งประมาณเกือบ 2 ไร่
สุนัขตอนนี้มีประมาณ 200 ตัว
                     นอกจากนี้ยังมีบางตัวเดินเพ่นพ่านออกมาข้างนอก
มีผู้คนแอบเอามาปล่อย เพื่อไม่ให้ทางวัดเห็นบ้าง
                     และก็มีสุนัข-แมวตามกุฎิพระด้วยประมาณ 30 ตัว
                     ที่ดินประมาณ 2
ไร่ที่วัดจัดสรรไว้เลี้ยงสุนัขจรจัดนั้นอยู่บนเชิงเขา
โดยผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด เล่าว่า
                     เมื่อมีคนนำมาปล่อยในบริเวณวัดแล้ว ประมาณ 15
วันทางเจ้าหน้าที่วัดจะจับไปบนเชิงเขาทีหนึ่ง
                     ซึ่งสุนัขเหล่านี้ประมาณ 10
โมงเช้าจะมีคนของวัดนำอาหารไปเลี้ยงทุกวัน วันละหนึ่งมื้อ
                     มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันเลี้ยง 3-4 คน
                     "คนที่เลี้ยงเหล่านี้เป็นคนงานของวัด
เราถามความสมัครใจเขา ต้องเป็นคนรักสัตว์                   
และถ้าพูดถึงว่าการที่เอาสุนัขมาทิ้งเหมาะไหมในยุคปัจจุบัน จะพูดถึงว่า
เขาขาดเมตตาก็ไม่ใช่
                     หมาอยู่กับเขาก็คิดว่าไม่สมบูรณ์พอ
เพราะรายได้ไม่พอเลี้ยง หรือบางรายหมาของเขาดุ เลี้ยงไม่ได้
                     ทางออกที่เขานำไปทิ้งถูกต้องมั้ย ยุคอย่างนี้
มันก็ต้องยอมรับ บางวัดเขาก็เลี้ยงไปตามมีตามเกิด
                     ส่วนที่นี่ เราจะฉีดยาให้ เราพยายามช่วยเขา
ป่วยเราก็เอาไปหาหมอ"
                     ชีวิตสุนัขในวัดญาณฯ
จะมีหมออาสาสมัครจากกรมปศุสัตว์มาช่วยฉีดวัคซีน
                     คุมกำเนิดด้วยการทำหมันฟรีให้
และในแต่ละเดือนทางวัดจะมีกองทุนสำหรับไว้เลี้ยง
                     เยียวยาสุนัขก้อนหนึ่ง
โดยยอดเงินนี้ทางวัดจะตั้งตู้บริจาคเป็นค่าอาหารสัตว์
                     นอกนั้นก็มีกองทุนพิเศษจากผู้มีจิตศรัทธา
                     "การเลี้ยงหมาอขงทางวัด
ยังไม่มีการประชุมเป็นกิจลักษณะ
                     เราอาศัยเมตตาธรรมว่าจะช่วยกันอย่างไร
และอาตมาว่าการที่เขาเอาหมาไปทิ้ง ยังไงก็ถือว่าเป็นบาป
                     เราจะแบ่งเบาภาระเขาได้อย่างไร
เราน่าจะมีชมรมผู้รักสัตว์ แต่ละกลุ่ม แต่ละอำเภอ น่าจะมีสักกลุ่ม
                     หรือถ้าคิดว่าจะนำไปทิ้ง เพื่อให้ทางวัดดูแล
บางวัดบารมีไม่เหมือนกัน อาจจะมีลาภน้อย รายได้น้อย
                     เนื่องจากบางวัดไม่ค่อยมีคนไปทำบุญมากเท่าไหร่
ทำให้การเลี้ยงดูสัตว์เหล่านี้ มีปัญหา
                     บิณฑบาตรแต่ละวันกว่าจะได้ ก็เดินไกลกว่าจะได้ข้าว"
                     เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านรองเจ้าอาวาสวัดญาณฯ
อยากบอกญาติโยมที่จะนำสุนัขมาปล่อย ให้ดูว่าวัดนั้น
                     หมาจะอยู่ได้หรือไม่ พระมีเมตตาต่อสัตว์ไหม
ซึ่งปัญหาในส่วนนี้ ถ้าหากว่าทางวัดเลี้ยงไม่ได้
                     ก็ควรนำไปบริเวณที่เลี้ยงได้
                     ส่วน พระอาจารย์ทองกลึง สุนทโร
เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หอย เล่าว่า ที่วัดเลี้ยงหมาและแมวประมาณ
                     400 ตัว มีคนดูแลให้ที่อยู่อาศัย ให้อาหาร
และยามเจ็บป่วยก็พาไปหาหมอ                   
โดยวัดต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับสุนัขเหล่านี้ปีหนึ่งตกประมาณ
40,000 บาท
                     นอกจากนั้นยังมีการทำหมัน
ฉีดยาพิษสุนัขบ้าโดยได้รับความเอื้อเฟื้อจากกรมปศุสัตว์อีกด้วย
                     "กลางคืนก็สุมไฟให้ไล่ยุงให้
โดยหมาที่วัดจะมีตำแหน่งต่างๆ อยู่ 4 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกพักอยู่ใกล้ๆ
                     หลวงพ่อนี่แหละ อยู่หน้าห้อง 10 กว่าตัว
ส่วนตำแหน่งที่สองอยู่ที่ศาลาการเปรียญประมาณ 20
                     กว่าตัว
ตำแหน่งที่สามอยู่ที่โรงครัวประมาณร้อยกว่าตัว
และตำแหน่งที่สี่อยู่ที่หน้ากฏิพระ
                     ส่วนผู้รับผิดชอบเลี้ยง คือหลวงตากวง
คือถ้าเป็นขี้เรื้อนก็ใส่ยาให้ สุมไฟให้ไล่ยุง"
                     หลวงพ่อ บอกว่า
เมื่อเป็นวัดก็ต้องให้ความเมตตากับสัตว์ สมัยพระพุทธเจ้า ท่านเมตตากับสัตว์
                     สัตว์พวกนี้ชอบอยู่กับพระ
และเคยอยู่กับพระพุทธเจ้ามาก่อน พระพุทธเจ้าฉันที่ศาลา
                     ออกมาเห็นหมาแม่ลูกอ่อนเดินหิวโหย โซชัดโซเซ
ไม่สบาย เพราะอดอาหารมาหลายวัน ท่านก็ช่วย
                     "อาตมาเดินไปตามสถานที่ต่างๆ
พบกับวัดพระนักปฎิบัติธรรมติดป้ายว่า
                     'ห้ามเอาแมวเอาหมามาปล่อย'
เมื่อที่วัดเป็นที่พึ่งของญาติโยมทุกข์ร้อน หมาเดือดร้อนเข้ามา
                     แมวหมามันพูดไม่ได้ แต่ซื่อสัตย์กับเจ้าของ.."
หลวงพ่อกล่าวและว่า "ถ้าวัดไหนมีของสำคัญ 3 ข้อ
                     คือ คนบ้า, หมาขี้เรือน, ไก่แจ้.. วัดนั้นสมบูรณ์
                     ถ้าใครอยากจะฝากลูกฝากหลานให้มาเรียนหนังสือที่วัด
ก็ควรดูก่อน ว่าหมาอ้วนไหม"
                     หมาที่วัดเจดีย์หอยส่วนใหญ่จะคลุกข้าวกับปลาทู
ซึ่งหลวงพ่อบอกว่า ทอดอย่างดีหรือไม่
                     ก็สั่งเป็ดมาให้กิน นอกจากนั้นยังมีหมาที่วัด
สาขาสอง จังหวัดราชบุรีอีกประมาณ 20 กว่าตัว
                     ไม่เป็นขี้เรือน เพราะอากาศดี เนื้อที่ 800 ไร่
ปลูกสมุนไพรว่านยาทุกชนิด และที่จังหวัดกำแพงเพชร
                     สาขา 3 อีก 50 กว่าตัว
                     นอกจากนั้นที่วัดยังเลี้ยงคนอีก 423 ชีวิต
ด้วยเหตุนี้แต่ละวัน จึงต้องมีการหุงต้มอาหารในปริมาณมาก
                     โดยจะแบ่งอาหารไปให้คุณหมาคุณแมว
เนื่องจากอาหารเหลือคุณหมาแมว ไม่เอา
                     "ถ้าอาตมายังมีชีวิตอยู่
จะเลี้ยงเขาไปตลอด"หลาวงพ่อประกาศ "อย่างก่อนที่เขาจัดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์
                     และจับหมาขังไว้ที่มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์รังสิต 60
ตัว กรมปศุสัตว์ก็เอามาไว้ที่วัด
                     โดยทางกรมให้ค่าอาหาร 6,000 บาท
                     คนปล่อยสุนัขคือผลักภาระให้สังคม
                     นายชูชาติ สายเชื้อ
ผู้อำนวยการกองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร
                     ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการนำสุนัขไปทิ้งวัดว่า
วัดเป็นที่พึ่งได้ของหมาจรจัด
                     แต่การจะนำสุนัขไปทิ้งนั้น ก็ต้องดูวัดด้วย
อย่างวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็ไม่ควรไปทิ้ง
                     เพราะวัดไม่เลี้ยงอยู่แล้ว
หรือวัดที่มีสถานที่คับแคบ หมาเต็มวัด พระท่านเดินไม่สะดวก มีปัญหาแน่
                     "สิ่งที่ผมอยากชี้ประเด็นให้คนเลี้ยงเห็น ก็คือ
เลี้ยงแล้วก็ต้องคุมกำเนิดเขา
                     ฉีดยาป้องกันพิษสุนัขบ้าให้เขา
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องโฆษณาให้ประชาชนทำ และทำฟรีด้วย
                     ตราบใดที่เรายังไม่เปลี่ยนจิตสำนึกของประชาชน
ก็จะกลายเป็นมูลเหุตก่อปัญหา
                     ด้วยการที่ท่านนำไปปล่อย"
                     นายชูชาติ บอกว่า
เรื่องหมาจรนั้นในแต่ละชุมชนมีปัญหาไม่เหมือนกัน
                     บางชุมชนอาจจะไม่มีปัญหาเรื่องสุนัข ก็อยู่ได้
แต่บางชุมชนก็อยู่ไม่ได้
                     แต่ถ้าทำอย่างไรให้ชุมชนรักสุนัข มีส่วนรับผิดชอบ
เลี้ยงสุนัขที่ถูกทอดทิ้ง                   
ท่านจะดูแลชุมชนของท่านที่จะมีชีวิตอยู่กินกับสุนัขอย่างมีความสุขได้อย่างไร
                     ประเด็นปัญหานี้
คือประชาชนต้องให้ความร่วมมือไม่ทิ้งขยะมีชีวิต และที่สำคัญที่สุด                   
เป็นโรคอันตรายทำลายชีวิตของคนได้ถ้าไม่มีการฉีดวัคซีน
เพราะสุนัขเหล่านี้ถ้าเอาไปปล่อยวัด
                     เมื่อวัดเลี้ยง-ก็ดี ถ้าวัดไม่เลี้ยง-ก็อดๆ อยากๆ
ทรมานสัตว์ หิวโซ สุขภาพจิตไม่ดี ไล่กัดคน
                     ก่อเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย
                     ถ้าประชาชนเลี้ยงสุนัขให้ถูกวิธี คือฉีดวัคซีน
ทำหมัน และเลี้ยงเท่าจำนวนที่ท่านสามารถเลี้ยงได้
                     อย่าปล่อยออมานอกถนน ถ้าทำอย่างนี้ได้ 3-5 ปีเห็นผล
และถ้าต้องการทำหมัน ฉีดวัคซีนฟรี
                     กทม.ก็มีบริการให้
เวลานี้สุนัขจรจัดเกิดมาเป็นปัญหาของสังคม
                     บางคนเข้าใจว่าเป็นปัญหาของสุนัขจรจัด
แท้ที่จริงผู้ที่ปล่อย คือผู้ก่อปัญหาให้กับสังคม
                     หากต้องการรับผิดชอบต่อสังคม จึงควรดูแลสุนัขให้ดี
                     เมื่อภาวะเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ สังคมอาจเห็นใจท่าน
แต่การนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก
                     เพราะนอกจากจะเป็นการทรมารสัตว์แล้ว
ท่านคือผู้หนึ่งที่ผลักภาระให้กับสังคมอีกด้วย
                     ฉีดวัคซีนทำหมันฟรีที่กทม.
                     ประชาชนที่ต้องการนำสุนัข แมว
ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำหมัน และฉีดยาคุมกำเนิดฟรี
                     สามารถใช้บริการยังศูนย์สาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
                     1.ศูนย์ 23 สี่พระยา โทร.236-4174,236-4055

                     2.ศูนย์ 43 มีนบุรี โทร.543-7154

                     3.ศูนย์ 24 บางเขน โทร.579-1342,579-9602

                     4.ศูนย์ 21 วัดธาตุทอง โทร.391-6082

                     5.ศูนย์ 33 วัดหงส์ (เขนบางกอกใหญ่)
โทร.472-4799,472-5896

                     6.ศูนย์นุชเนตร (ธนบุรี) โทร.468-2570

                     7.ฝ่ายระบาดวิทยา เขตบางกอกน้อย โทร.411-2432

                     8.ฝ่ายควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เขตดินแดง โทร.245-3311                   
ศูนย์เหล่านี้นอกจากประชาชนสามารถใช้บริการอย่างที่กล่าวมาข้างต้นฟรีแล้ว
                     เมื่อถูกสุนัขกัดก็สามารถไปรับการฉีดวัคซีนฟรีเช่นกัน                    
อันเป็นนโยบายจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อต้องการให้บริการกับประชาชน
                     หากเจ้าหน้าที่รายได้บริการไม่ดี ไม่สุภาพ
หรือไม่รับบริการ
                     สามารถร้องเรียนไปยังผู้บริหารกทม.ได้ทันที
พันตรีเกร็งกริว

จัดหาโดยพันตรีเกร็งกริว

พันตรีกร็งกริวจะเปิดคลังสินค้าที่นี่ เร็วๆนี้

ย้อนรอยพันตรีเกร็งกริว

tunjai@angelfire.com     ICQ=33453212