Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

บทที่ 2 MICROCOMPUTER



      หัวใจของเครื่อง PC คือ ไมโครโปรเซสเซอร (Microprocessor) หรือหน่วยประมวลผลกาลาง (CPU:Central Processing Unit) ซึ่งเป็นชิปที่ใช้ประมวลผลข้อมูลจริง ๆ สำหรับชิปรุ่นหม่ ๆ จะทำงานได้หลายอย่างรวมถึงการคำนวณทางคณิตศาสตร์

      ซีพียูควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยส่งสัญญาณควบคุมตำแหน่งของหน่วยควาามจำ (memory address) และข้อมูลจาก ส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่ง โดยอาศัยระบบเชื่อมต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียนกว่า บัส (bus) ตามตำแหน่งของบัสจะมีพอร์ต (port) สำหรับการไหลเข้าหรือออกของข้อมุลที่เชื่อมต่อกับหน่วยความจำต่าง ๆ และชิปช่วยการทำงานไปยังบัสข้อมูลจะผ่านเข้าออกทางพอร์ตต่าง ๆ ในขณะที่ผ่านเข้าออกซีพียู และส่วนอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ ส่วนต่าง ๆ ที่ติดตั้งบนแผงวงจรระบบ จะเชื่อมต่อโดยตรงกับบัส ส่วนประกอบอื่น ๆ สามารถเชื่อกับบัสได้เช่นกัน โดยเสียบเข้ากับสล๊อตส่วนขยาย (expansion slot) ที่ทำเผื่อไว้ สล๊อตนี้เป็นตัวเชื่อมต่อไฟฟ้าแบบมาตรฐานที่คุณสามารถใส่อะแดปเตอร์ (adapter) สำหรับอุปกรณ์ภายนอกต่างๆ มากมาย เช่น ชุดขับดิสก์ (Disk drive) ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) และจอภาพ (Monitor)
      ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088
      เครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรกจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088 ซีพียูนี้ยังใช้ในรุ่นพีซีเอ็กซ์ที (PC/XT) โดยย่อมาจาก extended , พีซีรุ่น Portable และพีญีรุ่น jr ด้วย 8088 เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต
      ไมโครโปรเซสเซอร์ 8086
      8086 ใช้ในเครื่องไอบีเอ็มพีเอสทู (มาจาก PS/2) รุ่น 25 และ 30 และเครื่องเลียนแบบ (clone) อื่น ๆ อีกมาก 8086 แตกต่างจาก 8088 เพียงประการเดียวคือ 8086 ใช้บัสข้อมุล 16 บิต แทน 8 บิตซึ่ง 8088 ใช้อยู่
      ไมโครโปรเซสเซอร์ 80286
      ตอนแรกนำใช้กับไอบีเอ็มพีซีเอที (PC/AT โดย AT ย่อมาจาก Advanced Technology) และรุ่นอื่น ๆ ของไอบีเอ็มพีเอสทู และเครื่องเลียนแบบอื่น ๆ 80286 มีทรานซิสเตอร์ 134,000 ตัว มีความเร็วในการทำงานเป็น 2 MIPS จุดเด่นที่สำคัญที่สุดสุดของ 80286 คงเป็นส่วนที่สามารถทำงานแบบมัลติทราสก์กิ้ง (Multitasking : ทำงานหลายอย่างได้พร้อมกัน ได้ มัลติทาส์กกิ้ง คือ ความสามารถของซีพียูที่จะทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน 80286 มีลักษณะการทำงานอยู่ 2 แบบ คือ เรียลโหมด และโปรเท็กโหมด
      ไมโครโปรเซสเซอร์ 80386       80386 มีการทำงานตามหลักการพื้นฐานเช่นเดียวกับ 8086 และมีกาจัดการหน่วยความจำในโปรเท็กโหมด เช่นเดียวกับรุ่น 80286 80386 มี 2 รุ่น คือ 80386 DX และ80386SX
      ไมโครโปรเซสเซอร์ 80486
      80486 มีสัญญาณนาฬิกาเร็วกว่า 80386 และมีโปรเซสเซอร์ร่วมทางคณิตศาสตร์ติดตั้งมาพร้อมกันและมีการรวมหน่วยความจำแคชเอาไว้ภายในด้วย 80486 ทรานซิสเตอร์ 1,200,000 ตัว และมีความเร็วในการทำงานเป็น 41 MIPS
      ไมโครโปรเซสเซอร์เพนเทียม       บริษัทอินเทลได้แนะนำโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ของตระกูล 8086 เมื่อปี 1993 ชิปรุ่นใหม่ นี้มีชื่อว่าเพนเทียม ซึ่งต่อไปคงเรียกชื่อซีพียูนี้ว่า 80586 ชิปุร่นใหม่ นี้มีความเร็วสูงกว่า 80486 และยังได้ออกแบบคุณสมบัติใหม่ ๆ บางอย่างออกมาโดยเฉพาะเพื่อโปรแกรมต่าง ๆ ของโฟล์เซิร์ฟเวอร์ ลักษณะใหม่ ๆ
      คุณสมบัติของเซิร์ฟเวอร์
      สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของพีซีเน็ตเวิร์กที่ทันสมัย มีคุณสมบัติดังนี้
      - ประสิทธิภาพ (Performance)
      - ความแข็งแรง (Robustness)
      - ความปลอดภัย (Security)
      - การจัดการทางเน็ตเวิร์ก (Network Management)
      - การกระจายข้อมุลที่เห็นได้ตลอดและพลังงานในโปรเซส (Transparen distribution of data and processing power)
      ฮาร์ดดิสก์คอนโทรลเลอร์
      ฮาร์ดดิสก์จะต้องเชื่อมต่อกับบัสของระบบ เพื่อที่ว่าข้อมูลสามารถถ่ายโอนเข้าออกดิสก์ได้ การอินเตอร์เฟสนี้ได้จากวงจรฮาร์ดดิสก์ ที่เรียกว่า ฮาร์ดดิสก์คอนโทรลเลอร์ (harddisk controller) ในขณะที่คอมพิวเตอร์ได้เพิ่มความเร็วมากขึ้น และได้มีการออกแบบคอนโทรลเลอร์ใหม่ ๆ ในขณะนี้มีใช้อยู่ 4 แบบ ดังนี้
      1. คอนโทรลเลอร์แบบ ST-506
      2. คอนโทรลเลอร์แบบ SCSI
      3. คอนโทรลเลอร์แบบ IDE
      4. คอนโทรลเลอร์แบบ ESDI
      ซีดีรอม(CD-ROM) มาจากคำว่า (Compact Disc-Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบจานแสง ที่ทำให้ใช้ข้อมูลได้มากมายในราคาที่สมเหตุสมผล
      เครื่องพิมพ์เลเซอร์
      เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร อาจเรียกได้ว่าเป็นลูกครึ่งระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารกับเครื่องพิมพ์ กล่าวคือใช้เทคโนโลยีของเครื่องถ่ายเอกสารทำงานร่วมกับเทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์
home back next





Get your Free Advertising...for Thai web sites only!