Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

ทางช้างเผือก (The Milky Way)

 

milkywaysideofmk.JPG (1646 bytes)

 

 

 

 

 

คืนที่ฟ้าใสกระจ่างหากใครได้มองท้องฟ้าได้เห็นดาวระยิบระยับเต็มท้องฟ้าและบางทีอาจจะเห็นแถบสีขาว ผาดผ่านจากขอบฟ้าหนึ่งไปอีกขอบฟ้าหนึ่ง นั่นไม่ใช่เมฆแต่เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่อยู่กันหนาแน่น บนแขนของกาแลกซี่ ที่ดวงอาทิตย์ ของเราเป็นสมาชิกอยู่ เราเรียกทางสีขาวนั้นว่า ทางช้างเผือก (The Milky Way) และกาแลกซี่ที่ดวงอาทิตย์ของเราเป็นสมาชิกอยู่นี้เราเรียกว่า กาแลกซี่ทางช้างเผือก

                กาแลกซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way Galaxy) มีลักษณะเป็นแบบเกลียว Sbc  เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ   150,000 ปีแสง หนาประมาณ 1,500 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์กว่า 200 ล้านล้านดวง มีมวลประมาณ 750 ล้านล้าน ถึง 1 ล้านล้านล้าน เท่าของดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวต่างๆ  เนบิวล่า และกระจุกดาวฤกษ์ที่เราเห็นจากกล้อง โทรทรรศน์ขนาดเล็กล้วนแต่เป็นสมาชิกของ กาแลกซี่ทางช้างเผือกทั้งสิ้น   ดวงอาทิตย์ของเราก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง อยู่ที่ขอบกาแลกซี่ห่างจากจุดศูนย์กลางกาแลกซี่ 30,000 ปีแสง มีระนาบ Ecliptic ทำมุม 63 องศา กับระนาบของกาแลกซี่ และเคลื่อนที่รอบจุดศูนย์กลางรอบละ 240 ล้านปี (โดยประมาณ) พาระบบสุริยะของเราเคลื่อนที่ ด้วยความเร็ว 320 กิโลเมตรต่อวินาที มุ่งหน้าเข้าหาดาววีก้าในกลุ่มดาวพิณ  หรือกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิส
   บางคนอาจเกิดคำถามว่าทำไมเราถึงได้รู้ถึงขนาดนั้น เราเคยส่งยานอวกาศไปนอกกาแลกซี่แล้วถ่ายรูปมาให้ดูหรือไง? ความจริงแล้วความรู้ทั้งหมดมาจากการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า  เราจะเห็นว่าทางช้างเผือกไม่ได้ขนานไปกับ แนวเส้น Ecliptic แต่จะทำมุม 63 องศา และที่เห็นเป็นทางแสดงว่า กลุ่มดาวรวมตัวกันอย่างหนาแน่นในแนวเดียวกัน ไม่หนามากคล้ายกับแผ่น CD ที่แผ่กระจายออก   ไม่ได้กระจายเป็นรูปทรงกลม