Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
New Page 1

Text Box:     :: l Home l Map l Staff l Games l

Text Box: Hotmail
Yahoomail
Thaimail
Sanook
Kapook
Siamsport
Livescore
Google
 
 

Text Box: ไทยรัฐ
คม ชัด ลึก
เดลินิวส์
โพสต์ทูเดย์
ข่าวสด
ฐานเศรฐกิจ
แนวหน้า
ผู้จัดการ
The nation
Bangkok Post
 

Text Box: ร้านขายยา
เหมือนเคย
ประติมากรรมน้ำแข็ง
ดอกหญ้ากับพายุ
อาย
เจ็บหน่อยนะ
ฉันไม่ใช่ดอกไม้
 
 

Text Box: Homepage Internet Cafe' & Games Service [ shinnawat@hotmail.com ]

 

Text Box: :: เด็กตาบอดยอดเก่งสอบติดนิติศาสตร์มธ. 
     ความพิการทางสายตา ที่ไม่เป็นอุปสรรค สำหรับผู้มีความมุ่งมั่น ทำสิ่งที่ดีกว่า ในชีวิตตัวเองครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผย จากนายกำชัย จงจักรพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ว่า 

     ปีการศึกษา 2546 เป็นปีแรกที่ มธ. เปิดรับสมัครคัดเลือกระบบตรง หรือโควตา สำหรับผู้พิการเข้าศึกษาต่อใน 10 คณะ ซึ่งมีผู้พิการทั้งทางสายตา ผู้พิการทางการได้ยิน และผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมาสมัครกว่า 40 คน คณะได้คัดเลือกโดยการสอบ

     และการสัมภาษณ์ ปรากฏว่ามีผู้พิการผ่านการคัดเลือกจำนวน 23 คน ใน 10 คณะ โดยผู้พิการทางสายตา 2 คน สามารถคว้าที่นั่งในคณะนิติศาสตร์ มธ.ได้ 1 ใน 2 ก็คือนายอานนท์ ศรีบุญโรจน์ นักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา

     ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ติดต่อขอสัมภาษณ์นายอานนท์ ศรีบุญโรจน์ วัย 19 ปี โดยนายอานนท์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ดูคะแนนสอบวัดความรู้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (เอ็นทรานซ์) แล้วคิดว่าคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเข้าคณะนิติศาสตร์ มธ.ได้ ดังนั้น ในการสมัครสอบเอ็นทรานซ์จึงเลือกไว้ 4 อันดับ คืออันดับ 1 เลือกคณะสังคมวิทยาและ มนุษยวิทยา มธ. อันดับ 2 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อันดับ 3 คณะสังคมศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และอันดับ 4 คณะวิทยาการจัดการ สาขาพัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร 

     ขณะเดียวกันก็ได้สอบโควตาของคณะนิติศาสตร์ มธ. ซึ่งเมื่อทราบผลว่าสอบได้ก็ดีใจมาก เพราะเป็นคณะที่ใฝ่ฝันอยากเข้ามาก ขณะนี้ไปมอบตัวเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่ใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนคณะนิติศาสตร์ มธ.มาก เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นฐานทางด้านการเมือง และมีศิษย์ เก่าซึ่งสำเร็จจากคณะนิติศาสตร์ มธ.เป็นแบบอย่าง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ อดีตอธิการบดี มธ. นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ซึ่งมีความพิการทางสายตาเช่นกัน

     สำหรับการเตรียมตัวสอบนั้น นายอานนท์กล่าวว่า ไม่มีอะไรพิเศษ เพียงแต่ตั้งใจเรียนในห้อง และนำเทปไปบันทึกการสอนนำกลับมาฟังที่บ้านจนเข้าใจ โดยไม่ได้เรียนพิเศษ เพราะคิดว่าหากตั้งใจเรียนในห้องอย่างดีก็ไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษเพิ่ม 

     ทั้งนี้ตนตาบอดมาแต่ กำเนิด และไม่เคยคิดนำความพิการของตัวเองมาเป็นปมด้อยทำให้เกิดความท้อ แต่ใช้เป็นแรงผลักดันให้มีความพยายามมากยิ่งขึ้น จึงอยากฝากถึงเพื่อนๆที่พิการเช่นกัน อย่าท้อ แต่จงลุกขึ้นสู้ พยายามคิดว่าหากอยากมีชีวิตที่ดีกว่านี้จงตั้งใจฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆให้ได้ และจะประสบความสำเร็จ เพราะไม่ว่าจะเป็นคนพิการหรือคนปกติย่อมต้องมีอุปสรรค ดังนั้น อย่าให้อุปสรรคเป็นสิ่งบั่นทอนกำลังที่จะเดินไปข้างหน้า แต่จงใช้เป็นแรงผลักดันฝันฝ่าไปให้ได้

     นายอานนท์ กล่าวด้วยว่า อยากฝากถึงสังคมและผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรวมถึงรัฐบาล ได้เปิดกว้างให้โอกาสกับคนพิการในทุกๆ ด้านมากกว่านี้ เพราะปัจจุบันสังคมยังปิดกั้นคนพิการอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทางการศึกษา ทั้งที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติระบุให้เปิดกว้างคนพิการได้เข้าศึกษา แต่ในทางปฏิบัติบางคณะยังปิดกั้น ทั้งที่คนพิการมีความสามารถที่จะเรียนแต่กลับไม่ให้ โอกาส รวมถึงการประกอบวิชาชีพที่ยังไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ในหลายวิชาชีพ 

     สำหรับความใฝ่ฝันในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ อยากเป็นทนายความ แต่การเป็นทนายความจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถและเป็นที่เชื่อถือของสังคม ซึ่งความพิการอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมไม่ค่อยเชื่อถือก็ได้ หากไม่สามารถเป็นทนายความได้ ก็คงศึกษาต่อและอาจเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายก็ได้

     ด้านนายสำเนียง ศรีบุญโรจน์ อายุ 54 ปี บิดานายอานนท์ กล่าวว่า นายอานนท์เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวและพิการทางสายตามาแต่กำเนิด เพราะนางอร่ามมารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ แต่ทางบ้านก็เลี้ยงลูกด้วยความรักและส่งไปเรียนที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ มาตั้งแต่อนุบาล และสนับสนุนให้เรียนต่อจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ 

     นับเป็นความภาคภูมิใจของพ่อแม่ และจะสนับสนุนลูกชายให้ศึกษาต่อจนถึงขั้นสูงสุด และหวังว่ารัฐบาลจะมีนโยบายหรือกฎหมาย เพื่อสนับสนุนคนพิการที่เรียนจบมีความรู้ให้รับใช้ชาติและสังคม