Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

04-224-203
โครงการสอนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์

ไฟล์ : microcontroller.html
เริ่มสร้างเวบ : ปีการศึกษา 2544
ผู้สอน : อ.กำธร เรือนฝายกาศ ,คณะวิชาไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ
Email,ที่ทำงาน,เบอร์โทร : gmt_rit@yahoo.com , อท.-300, 221576 ต่อ 2111
เวบไซต์รายวิชา : http://www.geocities.com/gmt_rit

คำอธิบายและจุดมุ่งหมายรายวิชา

วิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้างของไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดคำสั่ง การเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ภายนอก การเขียนโปรแกรม ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ การนำไมโครคอนโทรลเลอร์ ไปใช้ในงานควบคุม เข้าใจโครงสร้าง,ชุดคำสั่ง และหลักการเชื่อมต่อ ไมโครคอนโทรลเลอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก

พื้นฐานที่ต้องการ

นักศีกษาที่ต้องการศึกษาวิชานี้ จะต้องผ่าน วิชา 04-221-102 ดิจิตอลเทคนิค นอกจากนี้ ควรมีความรู้พื้นฐานของสถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์ ภาษาแอสเซมบลี้,ตัวแปลภาษาแอสเซมบลี้ อุปกรณ์ต่อพ่วงกับไมโครโปรเซสเซอร์, การออกแบบวงจรดิจิตอล ระบบปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบปฏิบัติการ DOS, การออกแบบวงจรอนาลอก,ไดโอด,และทรานซิสเตอร์

รูปแบบการสอน

วิชานี้เป็นรายวิชาที่เน้นทักษะด้านปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาฟังและอ่าน เกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ความคิดรวบยอดของการประยุกต์ใช้งานในหัวข้อต่างๆ แล้วนำหลักการเหล่านั้นมาสร้างงาน โดยพัฒนา และแก้ไขระบบฮาร์ดแวร์(hardware) และเฟิร์มแวร์(firmware) นักศึกษาจะได้อภิปราย ในหัวข้อ ต่างๆ ที่ถูกระบุ ชั่วโมงเรียนทฤษฏีจะมีการหยุดพักสั้นๆ ช่วงกลางระหว่างคาบ เกรดขึ้นอยู่กับ การสอบ การทำการทดลองที่ได้ มอบหมายให้ การตอบปัญหาสั้นๆ การทำงานเป็นทีม และการทำโครงงานของกลุ่ม การทดลองจะให้ทำ 5 การทดลองและใน แต่ละในแต่การทดลองจะมีการทดลองย่อย การเรียนทฤษฏีจะมีเนื้อหาที่ ไกล้กันกับการทำการทดลอง และจะได้รับการจัดการ เพื่อให้นักศึกษาได้รับข้อมูลจำเป็น ที่จะทำการทดลองแต่ละการทดลองให้ลุล่วง นักศึกษาจะได้ทำงานเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม ถึง 3 คนต่อหนึ่งโครงงาน สมาชิกในทีมจะถูกกำหนด ให้แบ่งงานกันทำอย่างเท่าเทียมกัน การบ้านแต่ละครั้งจะนำผู้เรียน ไปสู่เนื้อหาใหม่ที่กำลังจะเรียน การบรรยายจะใช้สื่อการสอนประเภทคอมพิวเตอร์เป็นเหลัก โดยใช้ไฟล์ต่างๆ ตามได้อ้างอิงไว้ท้ายหัวเรื่องแต่ละเรื่อง(ที่เขียนขีดเส้นไต้ไว้)

โครงสร้างการสอนและกำหนดการสอน

ควรคลิกอ่านไฟล์ ต่างๆ จากลิ้งค์ที่ทำไว้ตามแต่ละหัวข้อ หากนักศึกษาต้องการศึกษาด้วยตนเอง แบบออนไลน์

สัปดาห์ที่ 1

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจคุณสมบัติของ AVR
      • อธิบายโครงสร้างแบบ AVR RISC
      • อธิบายประสิทธิภาพ และการใช้กำลังงานของ AVR
      • อธิบายการแบ่งหน่วยความจำ
      • อธิบายฮาร์ดแวร์ภายในของ AVR
    • เข้าใจการจัดขาของ AVR
      • อธิบายหน้าที่ขา PORTB (PB7..PB0)
      • อธิบายหน้าที่ขา PORTD
      • อธิบายหน้าที่ขา RESET
      • อธิบายหน้าที่ขา XTAL1 และ XTAL0
    • เข้าใจวงจร Crystal Oscillator สำหรับใช้ร่วมกับ AVR
    • เข้าใจการจัดหน่วยความจำ
      • อธิบายคุณสมบัติของ flash memory
      • อธืบายคุณสมบัติของ SRAM
      • อธิบายคุณสมบัติ EEPROM
    • เข้าใจการแบ่งตระกูล AVR Microcontroller
    • เข้าใจ Instruction mnemonic ของ AVR
    • เข้าใจการทำงานของวงจร ISP
      • อธิบายการต่อวงจรแหล่งจ่ายไฟสำหรับเลี้ยงไอซี AT90S2313
      • อธิบายวิธีการทดสอบวงจร ISP
    • เข้าใจวิธีทดสอบการโปรแกรม MCU
    • เข้าใจการทำงานของโปรแกรม _BLINK.ASM

    ทฤษฏี

    • สถาปัตยกรรม AT90S2313 [Architectural overview],General purpose register file, ALU, In system programmeble flash memory, EEPROM data memory, SRAM data memory, Program and data addressing, Memory access and instruction excetue timing, I/O memory, Reset and interrupt handling ไฟล์ at90s2313.pdf
    • ชุดคำสั่ง, AVR instruction set ไฟล์ wavrasm.hlpและไฟล์ _avr.pdf
    • วงจร In-System Programming ไฟล์ avr.gif และไฟล์ _begin.pdf
    • สาธิตการใช้โปรแกรมอีดิตเตอร์ editv เพื่ออีดิตไฟล์ ledblink.asm
    • สาธิตการใช้ assembler ไฟล์ avrasm เพื่อแปลโปรแกรม ledblink.asm ให้เป็น intel HEX file ไฟล์ ledblink.hex ดูตัวอย่างได้จาก ไฟล์ _begin.pdf
    • สาธิตการใช้โปรแกรมสำหรับเบิร์นโปรแกรม sp12 และ avrasmไฟล์ _begin.pdf
    • การบ้าน #1 ไฟล์ mcu_hw1.html

    ปฏิบัติ

    • ชี้แจงกฎระเบียบ (Lab rules)
    • แนะนำการใช้เครื่องมือ ในห้องปฏิบัติการ

สัปดาห์ที่ 2

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจวิธีการอ่านหน่วยความจำ flash memory
    • เข้าใจการใช้ assembler directive
    • เข้าใจการจัด PORTB,PORTD,PINB และ PIND
    • เข้าใจหน้าที่ของรีจีสเตอร์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพอร์ต
      • อธิบายหน้าที่ของ PORTD,PORTB
      • อธิบายหน้าที่ของ PIND,PINB
    • เข้าใจวิธีการควบคุมอุปกรณ์ i/oผ่านทางพอร์ต
    • เข้าใจและเห็นความสำคัญของ MOS pullup

    ทฤษฏี

    • การอ่านหน่วยความจำ flash และคำสั่ง lpm ไฟล์ at90s2313.pdf ไฟล์ wavrasm.hlp และไฟล์ _27seg.pdf
    • Assembler directives ไฟล์ wavrasm.hlp
    • [I/O ports], PORT B, PORT D ไฟล์ at90s2313.pdf
    • การเขียนรูทีน, คำสั่ง push, pop, rcall และคำสั่ง ret Assembler directives ไฟล์ wavrasm.hlpและไฟล์ _17seg.pdf
    • การบ้าน #2 ไฟล์ mcu_hw2.html

    ปฏิบัติ


สัปดาห์ที่ 3

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการแก้ไขสัญญาณรบกวนในวงจร
      • อธิบายสาเหตุของสัญญาณรบกวน
      • อธิบายผลกระทบของสัญญาณรบกวนต่อการทำงานของวงจร
      • อธิบายวิธีการลด และแก้ไขสัญญาณรบกวนแต่ละชนิด
      • อธิบายวิธีออกแบบวงจรที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณรบกวน
    • เข้าใจหลักการออกแบบวงจรออสซิลเลเตอร์ สำหรับตัวประมวลผล
    • เข้าใจจุดบกพร่อง และข้อควรระวังในการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์

    ทฤษฏี

    • เทคนิคการแก้ไขสัญญาณรบกวน การดีคัปปลิ้ง ไฟล์ iap125.pdf และไฟล์ emc.pdf
    • วงจร Oscillators สำหรับ microcontroller ไฟล์ iap155.pdf
    • การใช้ RC oscillator ภายนอก ไฟล์ rcosc.pdf
    • AT90S2313 errata 2313erta.pdf
    • การบ้าน #3 ไฟล์ mcu_hw3.html

    ปฏิบัติ

    • หัวข้อ การควบคุมแบบมีการป้อนกลับ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
    • การทดลอง #2 การควบคุมถังเก็บน้ำ ไฟล์ mcu_lab2.html
    • ใบให้คะแนน #2 mcu_lab2_so.html

สัปดาห์ที่ 4

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการใช้ตัวชี้สำหรับตาราง
    • เข้าใจวิธีกำหนดตาราง LUT
    • เข้าใจหลักการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณที่ได้จาก LUT
    • เข้าใจกลไก การทำอินเตอร์รัพท์ภายนอก
      • อธิบายความสำคัญของอินเตอร์รัพท์ภายนอก
      • อธิบายหน้าที่ของอินเตอร์รัพท์แฟลก
      • อธิบายการควบคุมอินเตอร์รัพท์
      • อธิบายวิธีเขียน ISR ที่ดี

    ทฤษฏี

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #2 (ต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ที่ 2)

สัปดาห์ที่ 5

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการเขียน/อ่าน SRAM
      • อธิบายการจัดหน่วยความจำ SRAM
      • อธิบายตัวชี้สำหรับ SRAM
      • อธิบายการใช้งานคำสั่ง อ่าน/เขียน SRAM
    • เข้าใจหลักการเขียน/อ่าน EEPROM
      • อธิบายการจัดหน่วยความจำ EEPROM
      • อธิบายวิธีใช้งานรีจีสเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ EEPROM
      • อธิบายขีดจำกัดของ EEPROM

    ทฤษฏี

    • การเขียน/อ่าน SRAM ,รีจีสเตอร์ X,Y,Z คำสั่ง ld และ st ไฟล์ at90s2313.pdf และไฟล์ wavrasm.hlp
    • การเขียน/อ่านอีอีพรอม [EEPROM read/write accrss], address register, data register and control register, prevent EEPROM corruption ไฟล์ at90s2313.pdf ไฟล์ wavrasm.hlp และไฟล์ _eeprom.pdf
    • การบ้าน #5 ไฟล์ mcu_hw5.html

    ปฏิบัติ

    • หัวข้อ การควบคุมผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
    • การทดลอง #3 การควบคุมเครื่องซักผ้า ไฟล์ mcu_lab3.html
    • ใบให้คะแนน #3 mcu_lab3_so.html

สัปดาห์ที่ 6

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการทำงานของ Timer/Counter
      • อธิบายหน้าที่ของรีจีสเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
      • อธิบายวิธีอ่าน/เขียน ค่า counter
      • อธิบายการทำ Capture mode
      • อธิบายการทำงานของ Overflow interrupt
      • อธิบายหลักการทำงานของ PWM

    ทฤษฏี

    • ไทม์เมอร์/เคาท์เตอร์ [Timer counter],8bit timer/counter0, 16bit timer/counter1,timmer0 overflow interrupt,timmer1 overflow interrupt, input capture function, output comparator function, pulse width modulation ไฟล์ at90s2313.pdf และไฟล์ _tinter.pdf
    • การ Setup และการใช้งาน AVR Timers ไฟล์ avrtimer.pdf
    • การบ้าน #6 ไฟล์ mcu_hw6.html

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #3 การควบคุมเครื่องซักผ้า (ต่อเนื่อง 1)

สัปดาห์ที่ 7

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการทำงานของ watchdog timer
      • อธิบายความสำคัญของ watchdog timer
      • อธิบายวิธีใช้งาน watchdog timer
      • อธิบายการประยุกต์ใช้ watchdog timer

    ทฤษฏี

    • [Watchdog timer] ,watchdog timmer control register, watchdog turnoff enable, watchdog enable, watchdog prescaler 2,1 and 0 ไฟล์ at90s2313.pdf
    • มอบ และมอบหมายให้ทำ แบบเสนอโครงงาน, วิธีการเขียนรายงานโครงงาน(course project) ไฟล์ project.txt
    • การบ้าน #7 ไฟล์ mcu_hw7.html

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #3 การควบคุมเครื่องซักผ้า (ต่อเนื่อง 2)

สัปดาห์ที่ 8

    สอบกลางภาค


สัปดาห์ที่ 9

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจการทำงานของ Analog comparator
      • อธิบายหลักการทำงานของ Analog comparator
      • อธิบายการใช้งารรีจีสเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
      • อธิบายอินเตอร์รัพท์ของ Analog comparator
      • อธิบายวิธีอ่านค่าเอ้าต์พุตของ Analog comparator
    • เข้าใจหลักการตรวจจับจุดผ่านศูนย์โวลต์ของไฟบ้าน

    ทฤษฏี

    • อนาลอกคอมพาราเตอร์ [Analog comparator] ,Analog comparator control and status register, Analog comparator disable, Analog comparator output, Analog comparator interrupt flag, Analog comparator interrupt enable, Analog comparator input capture enable, Analog comparator interrupt mode select ไฟล์ at90s2313.pdf
    • การตรวจจับจุดผ่านศูนย์โวลต์ของไฟบ้าน(Zero Cross Detector) ไฟล์ zero.pdf
    • การบ้าน #8 ไฟล์ mcu_hw8.html

    ปฏิบัติ

    • หัวข้อ การออกแบบ เครื่องมือวัดทดสอบที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมการทำงาน
    • การทดลอง #4 ฟังค์ชั่นเจนเนอเรเตอร์ ไฟล์ mcu_lab4.html
    • ใบให้คะแนน #3 mcu_lab4_so.html

สัปดาห์ที่ 10

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจโหมดประหยัดกำลังงานไฟฟ้าของไมโครคอนโทรลเลอร์
      • เห็นความสำคัญ ของการออกแบบ เพื่อประหยัดกำลังงานไฟฟ้า
      • อธิบายวิธีเลือกใช้ และความแตกต่างของโหมดแต่ละโหมด
      • อธิบายวิธีตั้งโหมดประหยัดกำลังงานแต่ละโหมด

    ทฤษฏี

    • โหมดประหยัดกำลังงานไฟฟ้า sleep mode, idle mode and power-down mode ไฟล์ at90s2313.pdf
    • นำเสนอหัวข้อโครงงาน และตัวอย่างของโครงงานที่จะทำ (course project) ของแต่ละกลุ่ม
    • การบ้าน #9 ไฟล์ mcu_hw9.html

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #4 ฟังค์ชั่นเจนเนอเรเตอร์ (ต่อเนื่อง 1)

สัปดาห์ที่ 11

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการทำงานของ UART
      • อธิบายหลักการรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรม
      • อธิบายการใช้งานรีจีสเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ UART
      • อธิบายอินเตอร์รัพท์ของ UART
    • เข้าใจข้อกำหนดต่างๆ ของ RS-232

    ทฤษฏี

    • [UART] Data transmission, data reception, UART control ไฟล์ at90s2313.pdf และไฟล์ inituart.txt
    • หลักการของ RS232, การติดต่อสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Communication) ไฟล์ dan83.pdf
    • การบ้าน #10 ไฟล์ mcu_hw10.html

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #4 ฟังค์ชั่นเจนเนอเรเตอร์ (ต่อเนื่อง 2)

สัปดาห์ที่ 12

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบต่างๆ
    • เข้าใจหลักการของไอซี Driver/Receiver แบบต่างๆ

    ทฤษฏี

    • มาตรฐานการเชื่อมต่อ(interface standard) ไฟล์ nan216.pdf
    • Multichannel RS-232 Drivers/Receivers MAX232 ไฟล์ max232ds.pdf
    • RS-485/RS-422 Transceivers MAX485 ไฟล์ max485ds.pdf
    • การบ้าน #11 ไฟล์ mcu_hw11.html

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #5 ดิจิตอลสตอเรจออสซิลโลสโคป ไฟล์ mcu_lab5.html
    • ใบให้คะแนน #3 mcu_lab5_so.html

สัปดาห์ที่ 13

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการออกแบบวงจร A/D ความเร็วสูง
    • เข้าใจหลักการและวิธีใช้งานไอซีแปลงสัญญาณ A/D

    ทฤษฏี

    • การออกแบบสำหรับ Analog-to-Digital Converters ความเร็วสูง ไฟล์ ad01.pdf
    • การใช้งาน ADC08xx microprocessor compatible Analog to Digital Converters ไฟล์ adc0801.pdf
    • การบ้าน #12 ไฟล์ mcu_hw12.html

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #5 ดิจิตอลสตอเรจออสซิลโลสโคป (ต่อเนื่อง 1)

สัปดาห์ที่ 14

    จุดประสงค์การสอน

    • เข้าใจหลักการเขียนมาโคร
      • อธิบายความสำคัญของมาโคร
      • อธิบายคำสั่งมาโคร
      • อธิบายวิธีเขียนมาโคร
    • เข้าใจวิธีเขียนโปรแกรมเพื่อการคำนวณ
      • อธิบายวิธีเขียนโปรแกรมสำหรับการคูณ และการหารแบบ 8 และ 16 บิต

    ทฤษฏี

    • การเขียนมาโคร ไฟล์ wavrasm.hlp
    • การคำนวณทางคณิตศาสตร์ การคูณ และ การหาร แบบ 8 และ 16 บิต ไฟล์ math.pdf

    ปฏิบัติ

    • การทดลอง #5 ดิจิตอลสตอเรจออสซิลโลสโคป (ต่อเนื่อง 2)

สัปดาห์ที่ 15

  • ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้าย ในการเรียนของภาคเรียนนี้ นักศึกษาจะสาธิตโครงงานต่อชั้นเรียน ในห้องปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อให้การนำเสนอเสร็จสมบูรณ์ อาจจะจำเป็นต้องขยายเวลาเรียนออกไปบ้างถ้าจำเป็น

สัปดาห์ที่ 16

  • สอบปลายภาค

ข้อแนะนำสำหรับผู้เรียน

  • นักศึกษาที่สับสนในเนื้อหา หรือเรียนรู้ได้ช้า ควรใช้เวลาว่างจากการเรียน เพื่อพบผู้สอนโดยเร็ว เป้าหมาย ของวิชานี้ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ในเนื้อหาต่างๆ โดยไม่กดดันให้ผู้เรียนต้องเคร่งเครียด อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่เข้าใจในเนื้อหา ก็ควรถามคำถามให้มาก พร้อมกับพยายามที่จะศึกษา และให้เวลาในแต่ละเนื้อหาให้มากยิ่งขึ้น
  • นักศึกษาที่ขาดเรียน จะต้องรับผิดชอบในการศึกษาเนื้อหาที่ให้ในช่วงทฤษฏีเอง
  • นักศึกษาจะต้องรับผิดชอบแจ้งต่อผู้สอน ทุกครั้งที่พบความเสียหายของเครื่องมือ หรือการสูญหายของอุปกรณ์
  • ดูแลเครื่องมือในห้องปฏิบัตการด้วยความ ทนุถนอม หากเครื่องมือเสียหาย การเปลี่ยนหรือการซ่อมต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เครื่องมือจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกไป จากห้องปฏิบัติการ
  • การบ้าน และรายงานจะต้องเขียนอย่างเป็นระเบียบ อ่านง่าย
  • โปรแกรม จะต้องมีโครงสร้างที่ดี และจะต้องมีหมายเหตุกำกับเสมอ
  • ผังวงจรจะต้องวาดอย่างดี พร้อมสำหรับการนำเสนอ
  • ถ้าต้องการความช่วยเหลือ เกี่ยวกับวงจร นักศึกษาจะต้องแสดงผังวงจรที่ได้ออกแบบไว้แล้ว เสมอ
  • จะต้องส่งรายงานของโครงงาน แต่ละโครงงาน ประกอบไปด้วยวงจร ซอร์สโค้ด เพื่อให้คะแนน
  • งานที่มอบหมาย จะต้องเสร็จในเวลาที่กำหนด การทดลองที่ส่งช้าจะถูกลดคะแนนลง ผู้เรียน จะต้องรับผิดชอบในการ ให้ผู้สอนตรวจและลงชื่อในใบให้คะแนน ก่อนที่จะถึงเวลาที่กำหนดไว้
  • ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติ ตามกฎระเบียบของวิทยาเขตฯ ซอร์พแวร์ หรือฮาร์ดแวร์จะต้องใช้ของที่ถูกกฎหมาย หรือยืมมา โดยที่เจ้าของรับรู้ และอนุญาตเท่านั้น
  • นักศึกษาจะต้องดูแล สมุดจดงานให้ดี สมุดจดงานนี้ควรจะมีการจดเนื้อหาทฤษฏี , ปฏิบัติ , การออกแบบ และข้อมูลอ้างอิง สมุดจะต้องเขียนอย่างปราณีต
  • นักศึกษาสามารถอภิปราย ในหัวข้อที่เรียน และนอกจากนั้นควรให้คำแนะนำ เนื่อหาวิชาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตัวเองเข้าใจ แก่เพื่อนนักศึกษา
  • ผู้เรียนควร ศึกษาดาต้าชีทต่างๆ จากเวบไซต์ของรายวิชา หรือจากเวบไซต์ของบริษัทผู้ผลิต หากต้องการ ก็สามารถพิมพ์ออกมาได้ โดยใช้เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

เกรด

  • คะแนนรวมสำหรับตัดเกรด(100%) ได้มาจาก
    • คะแนนภาคทฤษฏี เต็ม 100 คะแนน นำมาคิดเป็น 40% สำหรับตัดเกรด
    • คะแนนภาคปฏิบัติ เต็ม 100 คะแนน นำมาคิดเป็น 60% สำหรับตัดเกรด
    • การให้น้ำหนักคะแนนเป็นไปดังนี้
      • ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนนสำหรับภาคทฤษฏี
        รายการ คะแนน
        การบ้าน #1-#12 20 คะแนน
        สอบกลางภาค 30 คะแนน
        สอบปลายภาค 50 คะแนน
        รวม 100 คะแนน

      • ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนนสำหรับภาคปฏิบัติ
        การทดลองที่ คะแนน
        การทดลอง #1 10 คะแนน
        การทดลอง #2 15 คะแนน
        การทดลอง #3 15 คะแนน
        การทดลอง #4 15 คะแนน
        การทดลอง #5 15 คะแนน
        โครงงาน(Course project)30 คะแนน
        รวม 100 คะแนน

    • คะแนนจิตพิสัยใช้วิธีหักออกจาก 100% โดยเช็คจากเวลาเรียน ระเบียบการแต่งกาย กริยามารยาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอน จะปรับตามความเหมาะสม
    • การวัดผล การตัดเกรด เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน ระเบียบสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ว่าด้วยการวัดผลการศึกษาระดับประกาศนียบัตร ดังนี้
      • 80-100 A ดี่เยี่ยม(excellent)
      • 75-79 B+ ดีมาก(very good)
      • 70-74 B ดี(good)
      • 65-69 C+ ดีพอใช้(fairly good)
      • 60-64 C พอใช้(fair)
      • 55-59 D+ อ่อน(poor)
      • 50-54 D อ่อนมาก(very poor)
      • 0-49 F ตก(fail)
    • นักศึกษาที่ค้างส่งงาน(การบ้าน, การทดลอง,โครงงาน และงานอื่นๆ ที่ผู้สอนมอบหมาย) จะได้รับเกรดลดลง 1 ระดับใหญ่ เช่น จาก A เป็น B หรือ B+ เป็น B เป็นต้น
    • การทดลองที่ส่งช้ากว่าที่กำหนดไว้ ภายในหนึ่งสัปดาห์ จะถูกหักคะแนน 10 คะแนน และจะถูกหักคะแนนเพิ่มเติมอีก ถ้าส่งช้ากว่านั้น
    • ผู้ที่ขาดเรียนตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไปจะหมดสิทธ์สอบ และได้เกรดเป็น ข.ร.(FA) เว้นแต่มีเหตุอันควร และได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการให้มีสิทธิสอบ
    • หากขาดส่งการทดลองตั้งแต่ 2 การทดลองขึ้นไป จะได้เกรด F

กฏระเบียบในการใช้ห้องปฏิบัติการ

  • ดูแลรักษาเครื่องมือ ปิดสวิตซ์ของเครื่องมือทุกชิ้นก่อนออกจากห้อง การเปิดออสซิลโลสโคป มัลติมิเตอร์ แหล่งจ่ายไฟ คอมพิวเตอร์ ทิ้งไว้ จะทำให้อายุการใช้งานลดลง
  • ปิดสวิตซ์หัวแร้ง เสมอ เมื่อเสร็จงาน เพื่อรักษาปลายหัวแร้งให้ใช้ได้นานขึ้น ควรไล้ด้วย ตะกั่วหลังจากการใช้งาน และอย่าสูดดมควันตะกั่ว จากการบัดกรีเข้าไป เพราะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ
  • ซ่อมสายวัดของออสซิลโลสโคป ให้เรียบร้อย เพื่อคนต่อไปจะได้ใช้งานได้ตามปกติ
  • สายไฟ เศษสายไฟ เศษอุปกรณ์ จะต้องนำไปทิ้งถังขยะที่จัดไว้ให้
  • ห้ามลบ แก้ไข หรือติดตั้ง โปรแกรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ โดยไม่ได้รับคำปรึกษา และความเห็นชอบจากผู้สอนก่อน

หนังสือ สำหรับอ่านประกอบ

โปรแกรมและ data sheet

    1. avrasm ใช้สำหรับแปลงไฟล์ asm ทำงานบน DOS
    2. avrsim สำหรับจำลองการทำงานของ avr ทำงานบน Windows 3.1 ขึ้นไป
    3. sp12 โปรแกรมสำหรับเบิร์น ข้อมูลลงไปในตัว AVR ทำงานบน DOS
    4. editv โปรแกรมสำหรับอีดิตโปรแกรม ทำงานบน DOS
    5. ดาต้าชีท AVR เป็นภาษาไทย ข้อมูลไอซีเอวีอาร์ แปลจากภาษาอังกฤษ (เป็นแฟ้มแบบ acrobat)

วงจรสำหรับแต่ละใบงาน





ข้อควรระมัดระวังในการใช้งาน AVR

    1. Locked mode 3 - ควรปิดแหล่งจ่ายไฟให้กับ AVR ก่อนที่จะปลดสายสำหรับเบิร์น ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากพบว่าบางครั้งจะทำให้ AVR เกิดการ Locked mode 3 ขึ้น ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถอัดโปรแกรมได้ หากเกิดขึ้นให้แก้ไขโดยลำดับดังนี้
      1.1 ต่อไดโอดชนิดซิลิคอน อนุกรมกับไฟเลี้ยง AVR เพื่อให้แรงดันลดลงเหลือ 4.3 โวลต์
      1.2 จากนั้นที่ DOS prompt ให้พิมพ์คำสั่งดังนี้
        sp12 -i13 -E กด Enter
        sp12 -i13 -EB กด Enter
      1.3 หากแก้ไขได้โปรแกรมจะแจ้งว่าได้ลบโปรแกรมแล้ว
      1.4 ถ้าเป็น AVR เบอร์อื่นให้พิมพ์คำสั่งดังนี้
        sp12 -ixx -E กด Enter
        sp12 -ixx -EB กด Enter
        โดยที่ xx คือเลขสองตัวสุดท้ายของเบอร์เช่นเบอร์ AT90S8535 จะต้องพิมพ์ sp12 -i35 -E
    2. Reset - พบว่าขา reset มีความไวต่อสัญญาณรบกวนมากดังนั้น ขา reset ของ AVR ควรต่อตัวต้านทาน 10k เพื่อ pullup ไปยังไฟบวก และต่อตัวเก็บประจุค่า 0.03uF ไปยังกราวด์

เวบไซต์เพิ่มเติม