Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

ที่มาของหลักจริยธรรม


โดยทั่วไปหลักจริยธรรมจะมีที่มาจากหลักศีลธรรมของศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งเกิดจากแนวทาง การปฏิบัติที่ดีงามของสังคมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรได้มีการศึกษาจริยธรรมที่มีที่มาจากศาสนา ต่าง ๆ ได้แก่


1.จริยธรรมยูดาย

ในลัทธิยูดาย จริยธรรมกับศาสนามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกกันไม่ออก โดยเชื่อว่า พระเป็นเจ้ามีองค์เดียว พระองค์ทรงสร้างโลกและมนุษย์ด้วยฉายาของพระองค์ ทั้งเป็นผู้ตั้งศีลธรรมขึ้น ให้มนุษย์ปฏิบัติตามทุกหนทุกแห่ง ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับต่าง ๆ บ่งถึงหน้าที่ของบุคคลจะ ต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไรบ้าง ตลอดจนหน้าที่ของบุคคลที่มีพระเป็นเจ้า ตราบใดที่จริยธรรมและ ศาสนาอาจจะพัฒนามาจากรากฐานแตกต่างโดยอาศัยธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งจริยธรรมและศาสนา ยังเป็นจุดศูนย์กลางที่มนุษย์จะต้องคิดหาสิ่งสมบูรณ์อยู่เสมอ และสันนิษฐานเอาว่า มนุษย์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้โดยโดดเดี่ยวได้เลย ลัทธิยูดายจึงต้องเกี่ยวพันอยู่กับจริยธรรมและศาสนา อันเป็นลักษณะ แยกกันไม่ออกในฐานะชีวิตยังมีจิตใจอยู่

เป็นความพยายามอย่างแรงกล้าของลัทธิยูดาย เช่นเดียวกับศาสนาที่เจริญทั้งหลายในความ พยายามวางรูปลักษณะของมนุษย์ โดยพยายามยกมนุษย์ให้มีฐานะและภาวะเหนือสัตว์ และสร้าง ความพอใจให้มีความต้องการทางกายภาพสูงขึ้น กับทั้งประสิทธิประสาทให้มนุษย์มีคุณค่าและ ศีลธรรมในฐานะที่มีวิญญาณเช่นกัน ปลุกเด็ก ๆ ที่ยังอ่อนต่อโลกให้มีความรู้แจ้งในมรดกที่พระเป็น เจ้ามีอยู่

ในลัทธิยูดาย มีการย้ำในเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ และย้ำในเรื่องเสรีภาพของ มนุษย์ในฐานะเป็นตัวแทนทางศีลธรรม บุคคลแต่ละคนจะมีความสามารถประจำตัวเพื่อจะได้แยก ว่าอะไรเป็นความถูกหรือความผิด มนุษย์ได้ก่อร่างขึ้นมาในฉายาของพระเป็นเจ้า พระองค์จึงสถิต อยู่ในกายของมนุษย์ ชีวิตที่ดีจึงควรยอมรับปลูกฝังและปลูกฝังความดีงามให้มั่นคง ไม่ควรปฏิเสธ หรือดูถูกพระเป็นเจ้า จะเป็นร่างกาย วิญญาณ หรือจิตก็เป็นภาระของพระเป็นเจ้าสร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องเหลวไหล มนุษย์ไม่ควรหมกมุ่นในกิเลสกาม และการทรมานตนเกินไป พลังอำนาจและความต้องการเกินควรนี้เองเป็นทางไปสู่ความดีหรือความชั่วก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า เขามุ่งไปในทางใด ตราบใดที่องค์ศาสดามุ่งหวังให้เป็นไปตามที่พระเป็นเจ้าต้องการ จึงเป็นอันแน่ใจว่า มนุษย์จะได้รับผลตามที่เขามุ่งหวังและไม่มีการบังคับใด ๆ

ศูนย์กลางจริยธรรมของลัทธิยูดาย คือ คุณธรรม เช่น ความถูกต้อง หรือความยุติธรรม และ ความรัก หรือความมีเมตตา เมื่อมีคำถามว่า อะไรที่ทำให้พระเป็นเจ้ารักท่าน ? องค์ศาสดาจะตอบว่า “ทำอะไรด้วยความยุติธรรม และรักความเมตตากรุณา และนอบน้อมถ่อมตนต่อพระเป็นเจ้าของตน” ความยุติธรรมที่ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ยกมากล่าวอันดับแรก เพราะว่าความรักไม่ควรเพิกเฉยต่อ ความยุติธรรม

ลักษณะจริยธรรมของลัทธิยูดายข้ออื่น ๆ คือ เน้นการช่วยเหลือชุมชนและเอาใจใส่ต่อสังคม เพราะว่าชีวิตของแต่ละคนจะหลีกพ้นชีวิตสังคม หรือชุมชนไม่ได้ การรู้จักรับผิดชอบสังคม คือ การรับ ผิดชอบต่อตนเอง เจตจำนงของพระเป็นเจ้าจะปรากฎผลแก่ทุกคน เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง ครอบครัว และชุมชนอย่างกว้างขวาง ในพันธสัญญาเก่า (The Old Testament) และวรรณคดี ในลัทธิยูดายอื่น ๆ ได้กล่าวถึงคุณธรรม ของบุคคลและสังคมดังกล่าวคือ ความยุติธรรม ความรัก ความสัตย์ ความจริง ความมีปัญญา ความเอื้ออารี ความสันติสุข ความพยายาม และความมีไมตรี ซึ่งกันและกัน

บัญญัติ 10 ประการที่เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานแก่โมเสสที่เขาซีนาย (Sinai) มีดังนี้

(1) เราเป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของท่าน ผู้นำท่านออกจากแผ่นดินอียอปต์ที่ถูกกักขังอยู่ จะมีพระเจ้าอื่นนอกจากเราไม่ได้

(2) จะต้องไม่ทำรูปเคารพใด ๆ หรือรูปอื่นใดเลียนแบบสิ่งที่อยู่ในสวรรค์หรือบาดาล

(3) จะไม่ออกนามพระเจ้าโดยปราศจากความเคารพ

(4) จงจดจำวันสะบาโต (Sabbath) รักษาวันนี้ไว้ให้สมบูรณ์

(5) จงให้เกียรติบิดาและมารดา

(6) ไม่ล่วงละเมิดประเวณี

(7) ไม่ฆ่าผู้อื่น

(8) ไม่ลักขโมย

(9) ไม่เป็นพยานเท็จ

(10) ไม่ละโมบ (ประภาศรี สีหอำไพ, 2540: 184)


2.จริยธรรมคริสเตียน

พระเยซูได้ทรงนำมรดกทางจริยธรรมซึ่งสืบทอดมาจากลัทธิยูดายมาเผยแพร่ และดัดแปลง ใหม่ให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้น

ในอารยธรรมตะวันตก ศาสนาคริสเตียนได้ก่อให้เกิดอุดมคติทางศีลธรรมขึ้น และมีอิทธิพล ยิ่งในการพัฒนาหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม จริยธรรมและชีวิตในอนาคตจะต้องผู้กพันอยู่กับศาสนา คริสเตียนเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดี วิถีชีวิตแบบนี้จะไม่เกี่ยวข้องเฉพาะอารยธรรมตะวันตกเท่านั้น แต่จะมีทั่วไปในวิถีทางดำเนินชีวิตของชาวบ้าน และส่วนมากในสังคมตะวันตกจะเป็นไปอย่างเดียวกัน หรือแม้แต่ผู้เป็นปฏิปักษ์กับอุดมการณ์คริสเตียนก็จะไม่มีต่อไป

เมื่อศึกษาประวัติศาสนจักร คริสเตียน จะทราบได้ว่าจริยธรรมคริสเตียนต่างกันในแต่ละ ยุคสมัย และแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป แต่คำสอนที่ดีแม้จะประสบกับระบบต่าง ๆ ที่พระเยซู ทรงสอนก็ได้บันทึกลงในพันธสัญญาใหม่ (The New Testament) แล้วด้วยดี เซนต์ปอล ผู้เผยแพร่ ศาสนาคริสเตียนองค์หนึ่ง ก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการพัฒนาความคิดคริสเตียนและหลักปฏิบัติ อย่างกว้างขวาง สารของท่านส่วนมากจะเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น ความดี ความชั่ว และบ่อเกิด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ แม้พวกไม่นับถือศาสนาก็บังมีกฎข้อบังคับในใจ และทำสิ่งใดต้องอาศัยกฎทั้งสิ้น

ค่านิยมที่ควรถ่ายทอด

1.ค่านิยมส่วนบุคคล ได้แก่ ความสะอาด ความขยัน การตรงต่อเวลา ความซื่อตรง ความอดทนเอาชนะต่อความยากลำบาก ความเชื่อมั่นในตนเอง ความทะเยอทะยาน ความหวัง ศักดิ์ศรีของการทำงาน

2.ค่านิยมที่ควรมีต่อผู้อื่น ได้แก่ การรู้จักหน้าที่ การมีขันติ การมีมารยาท การมีน้ำใจนักกีฬา การมีใจกว้าง ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที การยอมผ่อนปรน ความมั่นคงแน่วแน่ ความ เคารพในสิทธิของผู้อื่น

3.ค่านิยมต่อหมู่คณะ ได้แก่ ความรัก การให้อภัย การแบ่งปัน โอบอ้อมอารี ความเห้นใจ ต่อผู้อื่น การให้บริการ การทำงานร่วมกัน ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม การยอมรับความผิด ความเคารพในสิทธิมนุษยชน

เอกภาพในจริยธรรม คือ ความรักต่อผู้อื่นแม้เป็นศัตรู คำสอนของพระเยซูเป็นอุปมา อุปไมยด้วยสำนวนกวีมีจินตนาการ เต็มไปด้วยพลังอำนาจดึงดูดใจคน ดังเช่น

“ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ต้องหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย”

“ถ้าผู้ใดอยากจะฟ้องศาลเพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่าน ก็จงให้เสื้อคลุมแก่เขาเสียด้วย”

“ถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ให้ท่านเดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร”

“จงให้แก่ทุกคนที่ขอ อย่าเมินหน้าจากผู้ที่อยากขอทานจากท่าน”

“ถ้ามือหรือตาของท่านทำให้ท่านหลงผิด ก็จงตัดทิ้งและควักเสีย”

“อย่าเชิญเหล่ามิตรสหายหรือพี่น้อง...จงเชิญคนคน คนพิการ คนตาบอด”

พระเยซูใช้วิธีสอนแบบพูดขยายความเกินจริงก็มุ่งหวังเพื่อให้แจ่มแจ้งถึงการเรียกร้องอย่างลึกซึ้ง เพื่อประพฤติตามถึงขั้นบริบูรณ์ หลักจริยธรรมจึงเร้าให้มีความเมตตากรุณา

เนื้อหาสาระจริยธรรมในคริสต์ศาสนา

การละทิ้งความชั่วเพื่อกำหนดทิศทางตามมาตรฐานศีลธรรมใรความหมายของคริสต์ศาสนา มีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

1.การเน้นในเรื่องคุณธรรม ได้แก่ ความรัก ความเชื่อ ความบริสุทธิ์ ความสุขุมมีสติ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เมตตา ความอดทนต่อความทุกข์ทรมาน และการให้ อภัยกัน

2.จริยธรรมในความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างสามีภรรยา นายกับคนรับใช้ เพื่อนบ้าน และเพื่อนมนุษย์ต่างศาสนา ความรอบคอบ ไม่ยั่วยุท้าทาย การแสวงหา ความสงบ ความเมตตากรุณาแม้มิใช่ในหมู่มิตร

3.ความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นประชากรของสังคม มีความเคารพเชื่อฟังต่อผู้มีหน้าที่รักษา กฎหมาย ความซื่อสัตย์ต่อศีลธรรมของพระเป็นเจ้า ความอดทนต่อการเบียดเบียนด้วยความแข็งแกร่ง อดทน มีความระวังสำนึกในหน้าที่ที่เป็นความรับผิดชอบของตน


3.จริยธรรมของ โสเครติส เพลโต และอริสโตเติล

โสเครติส (Socrates) กล่าวถึงคุณธรรมว่า การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศีลธรรมทางจริยธรรม คือ การแสวงหาคุณธรรม เพราะคุณธรรม คือ ความรู้ที่แท้จริง คุณธรรมในสมัยโสเครติส อาจกล่าวว่า หมายถึง คุณลักษณะพิเศษ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ปกครอง คือ ทำให้ผู้นั้นเป็นมนุษย์ ซึ่งที่ว่านี้มีลักษณะ 5 ประการ คือ

1.ความรู้ (Wisdom) หมายถึงความรู้เกี่ยวกับความดี รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี

2.การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (Deity) คือ การทำความดี การเคารพยกย่อง และสิ่งที่ควร เคารพยกย่อง เช่น พระผู้เป็นเจ้า พระธรรม การปฏิบัติตามคำสอนในศาสนา

3.การควบคุมตนเอง (Self control or Temperence) คือ การใช้ปัญญา ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ตลอดจนการกระทำที่ไม่เหมาะสมด้วย

4.ความยุติธรรม (Justice) ได้แก่การปฏิบัติต่อผู้อื่น และตนเองอย่างเหมาะสม คือ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น (พินิจ รัตนกุล, 2525 : 42)


เพลโต (Plato) ได้แบ่งประเภทคุณธรรมออกเป็น 4 คุณธรรมหลัก คือ ปรีชาญาณ ความ กล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม โดยเปรียบเทียบการควบคุมจิตใจกับการปกครอง รัฐอุตมรัฐ (The Republic) ของเพลโต มีสมาชิก 4 ฝ่ายคือ

- ฝ่ายปกครองต้องมีปรีชาญาณ (Wisdom)

- ฝ่ายทหารต้องมีความกล้าหาญ (Courage)

- ฝ่ายธุรการต้องมีการรู้จักประมาณ (Temperence)

และทุกฝ่ายต้องอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันคือ ความยุติธรรม (Justice)

อริสโตเติล (Aristotle) รับทฤษฎีคุณธรรมหลัก 4 ประการของเพลโต มาเปลี่ยนเฉพาะ ข้อแรกจาก “ปรีชาญาณ” เป็น “ความรอบคอบ” ซึ่งก็คือปรีชาญาณในทางปฏิบัตินั่นเอง และอธิบาย เพิ่มเติมว่า คุณธรรมได้แก่การเดินสายกลางระหว่างกิเลสที่ตรงข้ามกัน เช่น ความกล้าหาญ เป็นทาง สายกลางระหว่างความขี้ขลาดกับความบ้าบิ่น การรู้จักประมาณเป็นทางสายกลางระหว่างความ ตระหนี่กับความฟุ่มเฟือย เป็นต้น

คุณธรรมหลัก 4 ประการของอริสโตเติล

1.ความรอบคอบ (Prudence) หมายถึง การเล็งเห็นหรือหยั่งรู้ได้ง่าย และชัดเจนว่าอะไรควร ประพฤติ อะไรไม่ควรประพฤติ

2.ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง การกล้าเสียงต่อการเข้าใจผิด กล้าเผชิญต่อการ ใส่ร้าย และเยาะเย้ย เมื่อมั่นใจว่าตนกระทำความดี

3.การรู้จักประมาณ (Temperance) หมายถึง การรู้จักควบคุมความต้องการและการ กระทำต่าง ๆ ให้อยู่ในขอบเขตอันควรแก่สภาพและฐานะของบุคคล ไม่ให้เกินความจำเป็นตาม ธรรมชาติ ไม่ให้ก้าวก่ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่น

4.ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม (giving every man his due) ซึ่งจะต้องระลึกว่าเรามีกำลังให้เท่าใด ควรให้แก่ใคร เท่าใด และอย่างไร อาจกล่าวได้ว่า ความยุติธรรมเป็นแก่นของคุณธรรมอื่นหลายประการ ซึ่งคุณธรรมอื่น ๆ นั้นเป็นเพียงแง่ต่าง ๆ ของ ความยุติธรรมนั่นเอง ผู้มีความยุติธรรมสูงย่อมเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมต่าง ๆ มาก (วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ ,2537 : 739)

คุณธรรมของอริสโตเติลดังกล่าว เรียกว่า สุวรรณมรรคา (golden means) เป็นคุณธรรม เหมาะสมที่สุด ก่อให้เกิดความดีงามแก่ชีวิตเมื่อปฏิบัติได้ ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งทางภาคทฤษฏีและการปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่ง ของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือ การรู้และการค้นหาความจริงนั่นเอง

2.คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปของคำสอนและมุ่งเพื่อ ความดี งาม คนที่มีคุณธรรมก็คือ คนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม


4.จริยธรรมฮินดู

ศาสนาเป็นคำที่ใช้อ้างถึงอุดมคติและการปฏิบัติของประชากรอินเดียมากกว่า 200 ล้านคน ซึ่งรวมไปถึงลัทธิความเชื่ออันแตกต่างกันพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ โดยเริ่มจากความเชื่อที่ผิด ๆ ของกลุ่มชน ไปจนถึงลัทธิจิตนิยม เคร่งครัดในศีลธรรมที่น่านับถือของปรัชญาเมธีอินเดียบางคน ศาสนาฮินดูจึงได้ พัฒนามาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าศาสนาอื่น ๆ

ระหว่างก่อนคริสต์ศักราช 5000 – 1500 ปี ประชาชนจำนวนมากจากเอเชียกลาง หรือยุโรป ตะวันออกเฉียงใต้อพยพเข้าสู่ประเทศอินเดียจำนวนมาก คือ พวกอารยันซึ่งสามารถพิชิตประชาชน ผิวดำที่อาศัยก่อนอยู่หลายพันปี พวกรุกรานที่เป็นพวกอารยันครั้งแรกได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐปัญจาป ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย อันเป็นภาคที่มีอากาศสบาย พวกอารยันเป็นคน แข็งแรง มีความรักชีวิตตน มีที่ดินอุดมสมบูรณ์ ระยะนี้ได้เกิดพระเวท 4 ชัดเจนยิ่งขึ้น

หลายร้อยปีล่วงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างก่อนคริสต์ศักราช 1200 – 300 ได้มีการเปลี่ยน แปลงครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้น ในเรื่องอากาศก็ร้อนจัด อันตรายจากโรคต่าง ๆ และภัยจากป่าอันกว้างใหญ่ หรือไม่ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ รอบข้าง สิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์เริ่ม ขาดแคลนลง จึงเกิดความคิดว่า มนุษย์ในโลกนี้ไม่มีคุณค่า มีแต่ความทุกข์ จะพ้นได้ จะต้องไม่เกิดอีก การศึกษาปรัชญาอันเป็นมูลฐานของชีวิต หรือโลกทัศน์จึงยุติลงได้ว่าจะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของอาตมันและกฎของกรรม ยิ่งกว่านั้นในสังคมยุคนั้นได้แบ่งชั้นวรรณะกันมากมาย จึงเกิดความเชื่อ ว่า พวกพระ (Priests) เท่านั้นสามารถควบคุมพลังธรรมชาติ และกำลังความสามารถของจักรวาลที่มี อยู่ทุกหนทุกแห่งได้

ในอินเดีย เรื่องวรรณะเป็นเรื่องที่มีการถืออย่างเคร่งครัดมาก วรรณะ คือ กลุ่มประชาชนที่ แตกต่างกันทางสังคม โดยกฎข้อบังคับต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การประกอบอาชีพ การแต่งงาน การอยู่อาศัย และพิธีกรรมต่าง ๆ วรรณะที่ใหญ่ ๆ มีอยู่ 4 วรรณะ ได้แก่

1.วรรณะพราหมณ์ เป็นชนชั้นปัญญาชน มีหน้าที่ศึกษาพระเวท อันเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ สั่งสอน ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อตนเอง และวรรณะอื่น ๆ

2.วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองป้องกันวรรณะอื่น ๆ หรือปกป้องคุ้มครองสังคม

3.วรรณะแพศย์ คือ พ่อค้าและชาวนา ผู้อยู่วรรณะนี้จะทำหน้าที่ใน การค้าขาย คุ้มครอง ปศุสัตว์ และทำเกษตรกรรม

4.วรรณะศูทร เป็นวรรณะต่ำ ใช้แรงงาน ซึ่งรับใช้วรรณะ 3 วรรณะดังกล่าว ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต

นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อย ๆ อีก ที่เรียกว่าจัณฑาล อันเป็นวรรณะที่เกิดจากการแต่งงานข้าม วรรณะ อันเป็นข้อห้ามของศาสนาฮินดู การแบ่งวรรณะออกเช่นนี้ในสังคมมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ การศึกษา และการประกอบอาชีพการงาน อันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสวัสดิภาพของมนุษย์ เพราะแต่ละ คนก็เป็นสมาชิกของสังคม เพื่อให้เหมาะสมแก่ตน ในคัมภีร์มหาภารตะ กล่าวว่า การที่มีการแบ่งแยก วรรณะเกิดขึ้นเพราะผลของการกระทำในอดีตแตกต่างกัน การแบ่งแยกหน้าที่การงานซี่งวรรณะต่าง ๆ กระทำกันจัดเป็นแบบลักษณะทางศีลธรรมโดยเฉพาะ ถ้าวรรณะหนึ่งทำหน้าที่ของอีกวรรณะหนึ่งจึง ขัดหลักจริยธรรมไป กฎเกณฑ์นี้จะใช้ตั้งแต่แรกเกิดซึ่งถือว่าเป็นรากเหง้าจริยธรรมของชนชั้นนั้น ๆ ในอินเดีย

ในเรื่องกรรมของพราหมณ์ – ฮินดู ย่อมเชื่อในกฎแห่งการเปลี่ยนแปลงร่างหนึ่งไปยังอีกร่าง หนึ่งของวิญญาณ (อาตมัน) และมีความคิดว่าวิญญาณมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน จะกระจัดกระจาย อยู่ในที่ต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองวิญญาณของมนุษย์แต่ละคนย่อมเป็นสื่อนำกฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการ หว่านพืชและเก็บเกี่ยวผลพืชที่หว่านไว้นั้น หรือกฎแห่งการที่มนุษย์ต้องเก็บเกี่ยวผลพืชที่ตนหว่านไว้ ในเรื่องกรรมจัดเป็นพลังจักรวาล ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้เลย เพราะเป็นกฎแห่งเหตุผล เหนือธรรมชาติ ไม่มีตัวตน แต่มีพลังอำนาจภายใน เป็นพลังทิพย์ ซึ่งจะต้องแสดงผลต่อผู้กระทำ และมอบผลให้ แก่ผู้กระทำไปเสวยหรือเกิดในชาติต่อไป จะสูงหรือต่ำก็แล้วแต่อดีตกรรมที่ตนทำไว้

ในเรื่องการเกิดใหม่อีก โดยเชื่อว่าการเกิดหรือวิญญาณ (อาตมัน) สามารถเปลี่ยนแปลงจาก ร่างหนึ่งไปยังอีกร่างหนึ่งได้นั้น ไม่ค่อยจะตายตัวนักสำหรับชาวอินเดีย แต่นับว่ามีพัฒนาการอยู่เรื่อย ๆ วิญญาณของมนุษย์เมื่อออกจากร่างที่ตายแล้ว อาจจะเกิดอีก และดังนั้นจึงมีการสืบต่อกันมิได้ขาด ตราบใดที่วงจรชีวิตยังดำเนินไปเช่นนั้น คนเราอาจเกิดเป็นพืช แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ อื่น ๆ เป็นผู้หญิง ผู้ชาย และแม้แต่พระเป็นเจ้าก็อาจเป็นได้ จุดหมายปลายทางของจริยธรรมและ ศาสนาจึงสรุปลงที่ว่า จะคิดค้นเพื่อหาทางหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งผูกพันวิถีชีวิต ของเราได้อย่างไรบ้างนั่นเอง


อาศรม 4

อาศรมหรือช่วงชีวิตของบุคคลแต่ละคน มีความสำคัญมากในจริยธรรมของพราหมณ์ – ฮินดู เพราะช่วงชีวิตใน 4 ช่วงนี้ ทุกคนจะต้องประสบ แต่ไม่ค่อยจะจำเป็นมากนักในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะสังคมหรืออารยธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมชาติอื่นเข้ามาผสมผสานกลมกลืนมากเข้า แต่ผู้ เคร่งครัดในจริยธรรมพราหมณ์ – ฮินดูโบราณจริง ๆ ยังยึดถือปฏิบัติกันอยู่ อาศรมแต่ละอาศรมจะ แบ่งช่วงละ 25 ปี อาศรมทั้ง 4 มีดังนี้ (บุญมี แท่นแก้ว,2541 : 17 - 18)

1.พรหมจรรย์ (Student) เป็นช่วงอายุของบุคคลย่างเข้า 12 ปี ชีวิตพรหมจรรย์นี้ จะต้องศึกษา กฎ ระเบียบ วินัย ประเพณี วัฒนธรรม อันเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับ และความสำคัญของอาตมัน (อัตตา) รวมทั้งความเป็นอิสรภาพจากความโกรธ ความโลภ ความอยาก และการประทุษร้ายผู้อื่น ในขณะเดียวกันจะต้องปลูกฝังความเคารพนับถือ การไหว้ บูชาบิดา มารดา ครูอาจารย์ อย่าง เคร่งครัดด้วยดี (อรรถประโยชน์)

2.คฤหัสถ์ (Householder) เป็นช่วงอายุหลังจากได้ศึกษาเล่าเรียนกฎ ระเบียบ วินัยจาก อาศรมที่หนึ่งมาแล้ว จะต้องกลับสู่บ้านเรือน เพื่อแต่งงานหรือมีครอบครัว และประกอบอาชีพโดย สุจริต เพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่นคง ชีวิตในขั้นนี้ จึงเป็นขั้นที่มีความเกี่ยวข้องกับสังคม หรือช่วยเหลือสังคมมากขึ้น เป็นขั้นแห่งการสร้างสรรค์ความต้องการในรูป เสียง กลิ่น รส และความ สัมผัสในสิ่งที่ตนใคร่ตนปรารถนาและพอใจ (กามประโยชน์)

3.วนปรัสถ์ (hermit) เป็นช่วงอายุประมาณ 50 ปี ขั้นนี้แต่ละคนต้องสละความเกี่ยวข้อง จากโลกียสุขบ้าง ปล่อยวางการผูกพันในการครองเรือนให้บุตรธิดาบ้าง เพื่อแสวงหาความสุข ความสว่างทางปัญญาอย่างแท้จริง ด้วยการฝึกฝนตนและบำเพ็ญฌาน เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริงในอาตมัน พยายามลดละอารมณ์ชั่วร้าย โดยพยายามใช้ชีวิตอยู่ในป่าเขาที่เงียบสงัด อย่างฤาษี เป็นการสร้างคุณธรรม จริยธรรมเพื่อชีวิตตนเองโดยตรง (ธรรมประโยชน์)

4.สันยาสี (Ascetic) เป็นช่วงอายุประมาณ 60 ปี ขั้นนี้จะอนุญาตไว้เฉพาะผู้ปฏิบัติผ่านขั้น ทั้งสามขั้นต้นมาแล้วโดยสมบูรณ์ โดยการปฏิบัติเพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระพรหม จะต้องท่องเที่ยว ไปอย่างโดดเดี่ยวอย่างสงบในป่าเขา ในชีวิตชั้นนี้ความรู้และการฝึกฝนจะให้ได้ผลอย่าง จริงจังต่อเมื่อ รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งเหนือธรรมชาติภายนอกทุกอย่าง และการหลุดพ้นจากกรรมและวิญญาณเปลี่ยน แปลงไป ความทะเยอทะยานและความอยากความใคร่ต่าง ๆ จะหมดสิ้นไป ความสุขความสงบและ ความอิสรเสรีจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เพราะอาตมัน (อัตตา) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณสากล หรือชีวาตมัน คือ อาตมันของแต่ละบุคคล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน (วิญญาณอันยิ่งใหญ่) หรือพรหมัน (เป็นพระพรหมเจ้า) (โมกษะประโยชน์)


หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู คล้ายกับคำสอนเรื่องทิศ 6 ในพระพุทธศาสนา คือ เป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยการปฏิบัติระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละสังคม ดังต่อไปนี้ (บุญมี แท่นแก้ว, 2541 : 18 – 19)

1.ปิตฤธรรม คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของบิดาต่อบุตร เช่น เมื่อบุตรมีอายุตั้งแต่เกิด ถึงอายุ 5 ขวบ จงเลี้ยงดูบุตรด้วยความเมตตากรุณาและด้วยความรัก เมื่อบุตรบรรลุนิติภาวะ ให้ถือว่าบุตร เป็นกัลยาณมิตร

2.มาตฤธรรม คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของมารดาต่อบุตร มารดาจะต้องรับหน้าที่เหมือน บิดามีต่อบุตร และต้องเป็นครูคนแรกของบุตร

3.อาจารยธรรม คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของครูอาจารย์ต่อศิษย์ นั่นคือครูอาจารย์ต้องมี หน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างถูกต้องและเป็นธรรมเสมอหน้ากัน

4.บุตรธรรมและศิษยธรรม คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา และการปฏิบัติ ตามหน้าที่ของศิษย์ต่อครูอาจารย์ คือจะต้องกระทำความเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสอน ของท่าน เพราะผู้จงรักภักดีต่อบิดามารดา และต่อครูอาจารย์ ผู้นั้นจะชนะพรหมโลกอีกด้วย

5.ภารตฤธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของพี่ที่มีต่อน้อง และหน้าที่ของน้องที่มีต่อพี่ ที่พี่จะ ปฏิบัติต่อน้องเหมือนบิดาปฏิบัติต่อบุตร และน้องจะปฏิบัติต่อพี่เหมือนบุตรปฏิบัติต่อบิดามารดา

6.ปติธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา โดยการเลี้ยงดู มีความซื่อสัตย์ต่อภรรยา อย่าริเป็นคนเจ้าชู้กับหญิงอื่น ถือว่าหญิงอื่นเปรียบเหมือนพี่น้อง ลูกหลาน หรือมารดาของตน

7.ปัตนีธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี โดยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อสามีด้วย ความจริงใจ และเอาใจใส่ต่อสามีอย่างสม่ำเสมอ ให้ถือว่าผู้ชายทั้งปวงเว้นสามีของตนเป็นเหมือนบิดา พี่น้อง บุตรหลานของตน

8.สวามี – เสวกธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง) ต่อเสวก (ลูกจ้าง) โดยจ่าย ค่าแรงให้แก่เขาพอที่เขาจะสามารถเลี้ยงชีวิตและครอบครัวพอสมควร อย่าให้ขาดแคลนหรือทุกข์ยาก เกินไป ผู้ที่เป็นลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง

9.ราชธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปกครองกับประชาชน โดยผู้ปกครองจะต้องยึดหลักใน การดูแลอารักขาประชาชน ให้ความอบอุ่นเป็นธรรมแก่ประชาชน และประชาชนก็ต้องให้ความเคารพ นับถือต่อผู้ปกครองอย่างแท้จริงและสุจริตใจ


คำสอนอื่น ๆ

หลักคำสอนอื่น ๆ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีดังนี้

1.มีสัจจะ กล่าวแต่ความสัตย์

2.ปฏิบัติทางธรรม

3.อ่านหนังสือธรรม

4.ถวายจตุปัจจัยแด่อาจารย์แล้วเข้าสู่เพศฆราวาส ปฏิบัติหน้าที่ต่อครอบครัว

5. อย่างประมาทในการพูดความสัจ

6. อย่างประมาทในการกระทำให้เกิดกุศลกรรม

7. อย่าประมาทในการปฏิบัติธรรม

8. อย่าประมาทในการทำให้มีความเจริญก้าวหน้าในวัตถุ

9. อย่าประมาทในการค้นหาความรู้ทางธรรม และการเผยแพร่

10. บูชาสักการะพระเป็นเจ้าและบรรพบุรุษ

11. มารดาเป็นเหมือนพระเป็นเจ้าองค์หนึ่ง

12.บิดาเป็นเหมือนพระเป็นนเจ้าองค์หนึ่ง

13. ครูอาจารย์เป็นเหมือนพระเป็นเจ้าองค์หนึ่ง

14. อติถิ หรือแขกที่มาสู่บ้านโดยบังเอิญเป็นเหมือนพระเป็นเจ้าองค์หนึ่ง ทุกคนเป็นอนฺส (ส่วนหนึ่งของพระพรหม) จึงควรช่วยเหลือดุจสมาชิกในครอบครัว

15. ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณกาล

16. รักษาวัฒนธรรมไว้ตามบรรพบุรุษ

17.เคารพผู้มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิ

18. ให้ของผู้อื่นด้วยศรัทธา เต็มใจ มิใช่ความกลัวหรือถูกบังคับ

19. ถามข้อสงสัยจากผู้มีอาวุโส หรือปฏิบัติธรรม

20. ปฏิบัติตามคำสอนจากพระเวท และอุปนิษัท (ประภาศรี สีหอำไพ, 2540: 134)


5. จริยธรรมของศาสนาเชน

ศาสนาเชน (Jainism) มาจากคำว่า ไชนะ (Jina) แปลว่าผู้ชนะ หรือผู้พิชิต ศาสดาของ ศาสนาเชนคือ พระมหาวีระ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นองค์ติรธังกร แปลว่าผู้สร้างทางข้ามไปพ้นไป เป็นศาสดาองค์ที่ 24 และองค์สุดท้ายของศาสนาเชน

พระศาสดามหาวีระ เดิมเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสิทธารถ กับพระนางตฤศลา แห่งนคร ไพศาลี ประสูติก่อนพุทธศักราช 56 ปี เมื่อพระชนม์ได้ 19 พรรษาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโสธรา มีพระธิดาชื่ออโนชา เดิมทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ต่อมาได้สละราชสมบัติออกผนวชได้ 12 ปี ก็บรรลุ “ไกรวัลย์” หรือธรรมสูงสุด หลังจากนั้นพระศาสดามหาวีระได้แสดงธรรมคัดค้านการแบ่ง วรรณะ ยืนยันความีอยู่แห่งนรกสวรรค์ พระองค์ได้สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนม์ 70 พรรษา มีการ ถวายพระเพลิงที่เมืองปัตนะ แคว้นพิหาร ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเชน

หลักธรรมของศาสนาเชน เป็นประเภทศาสนาเทวนิยม ต่างจากพระพุทธศาสนาในแง่ที่ว่า ศาสนาเชนยังมีตัวตนในนิพพาน หรือนิรวาน นิยมทรมานตนให้ลำบาก ยกย่องการฆ่าตัวตายว่าเป็น การกระทำที่ประเสริฐ เชื่อว่าความทุกข์เกิดจากชีวะถูกกักขังอยู่ในอชีวะ ต้องถอนตัวชีวะซึ่งบริสุทธิ์ ออกจากร่างกายที่เป็นอชีวะที่ไม่บริสุทธิ์ เมื่อคนตายชีวะไม่ตาย จะไปเข้าร่างใหม่ตามกรรมของตน ต้อทำโยคกรรมให้เข้าถึงสภาพโมกษะ เข้าถึงนิรวาน ผู้บรรลุโมกษะได้ชื่อว่าเป็นเกวลิน หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด

เมื่อพระศาสดามหาวีระถึงนิรวาร (ก่อนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประมาณ 3 ปี) สาวก ได้แตกออกเป็น 2 นิกายใหญ่คือ ทิฆัมพร เป็นนักบวชไม่นุ่งผ้า นิกายเศวตัมพร เป็นนักบวชนุ่งผ้าขาว


จริยธรรมในศาสนาเชน

ศาสนาเชนสนับสนุนความเสมอภาค โดยแสดงออกมาในรูปหลักการ ความไม่ก่อความรุนแรง และไม่ทำร้ายผู้อื่น (อหิงสา) คำสั่งสอนทั้งหมดสรุปลงที่การไม่ทำร้าย

แนวทางการปฏิบัติตามจริยธรรมในศาสนาเชนนั้น ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักปัญจศีล คือ

1.ไม่ฆ่าหรือทำร้ายสิ่งมีชีวิตใด ๆ ด้วยคำพูด ด้วยความคิด หรือการกระทำแม้ในการป้องกันตัว

2. ไม่ลักขโมย

3. ไม่พูดเท็จ

4. ประพฤติพรหมจรรย์ (เว้นจากความสัมพันธ์ทางเพศ)

5. ไม่ละโมบ ไม่อยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด

จริยธรรมชั้นสูงอันเป็นเหตุให้เข้าถึงโมกษะ (ความหลุดพ้น) หรือนิรวาน ได้แก่ รัตนะ 3 ประการ ได้แก่

1. สัมมาศรัทธา คือ ความเห็นชอบ เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง

2.สัมมาญาณ คือ ความรู้ชอบ ความรู้ที่ถูกต้อง

3. สัมมาจริต คือ ความประพฤติชอบ ความประพฤติที่ถูกต้อง (ประภาศรี สีหอำไพ, 2540: 138)


6.จริยธรรมของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา มีหลักคำสอนที่สามารถสรุปได้ว่าเป็นทั้งปรัชญา เป็นทั้งทฤษฎี (ปริยัติ) และเป็นทั้งวิถีชีวิตที่ทุกคนสามารถนำไปเป็นหลักในการดำรงชีวิตของตนได้อย่างเหมาะสมและมี คุณค่า

ขณะเดียวกันพระพุทธศาสนามีหลักการที่สามารถอธิบายได้ในแง่ของศาสนาและแง่ของจริยธรรม ในแง่ของจริยธรรม พุทธศาสนาเสนอแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมในเรื่องวิเคราะห์ และ เสนอแนะหลักการดำรงชีวิตอย่างหนึ่งว่าเป็นหนทางเดียว (เอกายโน มัคโค) ที่จะช่วยให้บรรลุถึง ความดีสูงสุด (Summun Bonum) หรือเป้าหมายสุดยอดที่พึงปรารถนาอันเป็นแดนเกษมให้สันติ สุขอันสูงส่ง มีความสมบูรณ์ทางศีลธรรม และเป็นแดนที่บุคคลมีความรู้จริง เห็นจริง (วิชชา)

ในพระพุทธศาสนานั้น ได้บัญญัติความหมายของจริยธรรมว่า “จริยธรรมมาจากคำว่า “พรหมจรรย์” ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง “มรรค” คือ วิธีการปฏิบัติสายกลาง ประกอบ ด้วยองค์ 8 ประการ บางครั้งเรียกว่า “ไตรสิกขา” คือ การศึกษา 3 ประการ อันได้แก่ ศีล สมาธิ และ ปัญญา” (บุญมี แท่นแก้ว, 2541 : 2)


มรรคประกอบด้วยองค์ 8 (อริยมรรคมีองค์ 8) ได้แก่

1.สัมมาทิฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นในอริยสัจ 4 มีทุกข์ สมุทัย มรรค และนิโรธ

2.สัมมาสังกัปปะ ดำริโดยชอบ ได้แก่ ดำริจะออกจากาม 1 ดำริในอันไม่พยาบาท 1 ดำริในอันไม่เบียดเบียน 1

3.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ เว้นจากกายทุจริต 3 อย่าง

4.สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ ได้แก่ เว้นจากายทุจริต 3 อย่าง

5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด

6.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ได้แก่ เพียรในที่ 4 สถาน เช่น เพียรทำความดี เป็นต้น

7.สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ ระลึกในสติปัฏฐาน 4 อย่าง มีการระลึกในร่างกาย เป็นต้น

8.สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ ได้แก่ เจริญฌาน 4 เช่น ปฐมฌาน เป็นต้น

อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นทางสายกลางที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” เป็นทางสายเดียว (เอกมคคํ) เหมือนเชือกเส้นเดียวมี 8 เกลียว ดังนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติไปพร้อมกัน และอาจจะ ย่อลงในไตรสิกขาคือ ธรรมะที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติตาม 3 ประการ ได้แก่ ศีล (สีลสิกขา) 1 สมาธิ (สมาธิสิกขา) 1 ปัญญา (ปัญญาสิกขา) 1 และเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง ย่อมถึงความเป็นพระอริยะ คือ ผู้ประเสริฐ ผู้ไกลจากกิเลสได้


6.จริยธรรมอิสลาม

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่ง เช่นเดียวกับศาสนาพุทธและศาสนา คริสเตียน และจัดเป็นศาสนาสากล ผู้เป็นชาวมุสลิมที่ศรัทธาในศาสนาอิสลาม ต้องนึกย้อนไปถึง ศาสดาผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงดลใจให้มาสั่งสอนมนุษย์แห่งอิสลาเอล และผู้ก่อตั้งศาสนาคริสเตียนผู้เบิก ทางศรัทธาของศาสนาทั้งสอง คำว่า “อิสลาม” หมายความว่า “นอบน้อมต่อพระเป็นเจ้า” บางทีใช้ คำว่า มุสลิม และ “โมฮำเมดานิสม์” ศาสนิกในศาสนานี้นับถือ เคารพพระศาสดามะหะหมัดว่าเป็น ศาสดาของตน แต่ไม่ค่อยใช้พระนามของพระองค์เมื่อพูดถึงศาสดา แต่ชอบใช้คำว่า “อิสลาม” มาก กว่า ซึ่งใช้แสดงถึงทั้งหลักความเชื่อถือ และระบบจริยธรรมหรือวิถีชีวิต หลักจริยธรรมของอิสลาม จึงไม่สามารถแยกออกจากพื้นฐานทางศาสนาได้

เรื่องสำคัญต่อไปนี้ อาจจะเป็นข้อสังเกตให้เห็นเด่นชัดได้ในทัศนะของชาวมุสลิม (บุญมี แท่นแก้ว, 2539 : 35 –36 )

1.ในสมัยที่จริยธรรมของแต่ละเผ่าของชนโบราณแห่งคาบสมุทรอาระเบีย รวมทั้งยิว คริสเตียน และต้นตระกูลของอาระเบียนได้ผสมผสานกันในการประกอบอาชีพร่วมกันด้วยความผาสุก จริยธรรม ของชนเผ่าต่าง ๆ เน้นในเรื่องเกียรติยศ ความกล้าหาญ ความจงรักภักดี ความอารี และความมีจิตใจ กว้างขวาง จึงเกิดความภูมิใจในเชื้อชาติของตน แต่ไม่เคร่งครัดในการสัมพันธ์ทางเพศ จนเป็นเหตุ ให้มีภรรยาได้หลายคน สนใจในการดื่มสุรา และร้องรำทำเพลง

2. ข้อสำคัญในการพัฒนาศาสนาอิสลาม จัดเป็นความเป็นอยู่และประสบการณ์ส่วนตัว ของพระมะหะหมัด พระองค์เป็นเด็กกำพร้าเมื่อเยาว์วัยและลุงได้เลี้ยงดู จึงเป็นเหตุให้พระองค์ ได้ทราบความทุกข์ยาก และความขัดสน เด็กที่ถูกทอดทิ้งได้ดี ต่อมาเมื่อได้ท่องเที่ยวไปค้าขายต่างแดน กับลุง จึงมีประสบการณ์มากขึ้น เพราะได้รู้จักคุ้นเคยกับคนมากมาย เมื่อท่องเที่ยวไปเช่นนั้นจึงมีชีวิต อย่างทรหด แต่ยังมีบางพวกที่เย่อหยิ่ง เป็นอยู่อย่างหรูหราฟุ่มเฟือย และทารูณโหดร้ายเพราะความ มั่งมีของเขา ในระหว่างที่ท่องเที่ยวไป พระองค์ได้ใกล้ชิดสนิทสนมทั้งกับชาวผิวดำและชาวคริสเตียน ต่อมาได้เป็นผู้จัดการกองคาราวานของหญิงหม้ายผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง เพราะความใกล้ชิดกันจึงเกิด ความรักและได้แต่งงานกันในเวลาต่อมา พระองค์ใฝ่ในการปฏิบัติ ชอบอยู่ในที่สงัด ค้นหาคำสอน ที่แท้จริงจึงเกิดความรู้แจ้ง โดยปรากฏว่ามีเทพเจ้ากาเบรียลมาจำแลงกายให้พระองค์เห็นแล้วเปิดเผย ความจริงในคัมภีร์กุระอาน อันเป็นคัมภีร์ลึกลับให้พระองค์รู้แจ้งโดยตลอดเกี่ยวกับการสั่งสอนหลัก ธรรม พระองค์ได้เสด็จไปยังเมกกะอันเป็นเมืองที่พระองค์เคยปกครอง โดยยึดเมืองนั้นไว้ได้ แล้ว ประกาศพระศาสนาทันทีโดยมีสานุศิษย์เลื่อมใสและปฏิบัติตามจำนวนมาก

คำสอนที่สำคัญอันเป็นมูลเหตุให้เกิดศรัทธาของศาสนาอิสลามมี 5 ประการ คือ

1.เชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ พระอัลเลาะห์ พระองค์มีอำนาจมาก และเป็นผู้ปกครอง จักรวาลที่สมบูรณ์ยิ่ง เป็นผู้ตัดสินองค์สุดท้าย มีเจตนารมณ์สูงยิ่ง สามารถให้รางวัลและลงโทษได้ ผู้ทำดีไปสู่สวรรค์ ผู้ทำความชั่วย่อมตกนรก

2.เชื่อในเทวทูต เพราะเทวทูตเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้า ผู้ที่สามารถนำความปรารถนาของมนุษย์ ให้สำเร็จได้ เทวทูตฝ่ายชั่วคือ ปีศาจร้าย

3.เชื่อในพระคัมภีร์อัลกุระอาน เพราะเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์

4.เชื่อในศาสดาพยากรณ์ของพระอัลเลาะห์ ซึ่งมีพระมะหะหมัดเป็นองค์สุดท้าย และยิ่งใหญ่ที่สุด

5.เชื่อในการตัดสิน มนุษย์ได้รับการยกย่องว่า จิตใจสูง และจะได้รับการตัดสินตามการกระทำ ของตน สวรรค์หรือนรกเป็นรางวัลของแต่ละคน มุสลิมทุกคนจะได้รับความคุ้มครองในที่สุด

สำหรับคนดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ได้แก่ หลักปฏิบัติห้าประการ (Five Pillars of The Faith) คือ

1.กล่าวซ้ำหลักความเชื่อบ่อย ๆ ว่าไม่มีพระเจ้าองค์อื่นอีก นอกจากพระอัลเลาะห์ และพระ มะหะหมัดเป็นตัวแทนของพระอัลเลาะห์ การกล่าวซ้ำบ่อย ๆ เท่ากับเป็นการปฏิญาณโดยปริยายว่าจะ ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในคำกล่าวที่ว่า

“ข้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์ และข้าฯขอปฏิญาณ ว่ามูฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์”

2.สวดมนต์วันละห้าครั้ง การสวดมนต์ทุกครั้งต้องหันหน้าไปทางนครเมกกะการสวดมนต์ เป็นการยืนยันว่าบุคคลนั้นยังตั้งอยู่ในความศรัทธา เป็นกิจวัตรที่ต้องทำตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลาบ่าย เวลาเย็น เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน

จุดมุ่งหมายของการนมัสการ 5 เวลาคือ

(1) ให้เกิดความนอบน้อมถ่อมตน

(2) ขัดเกลาจิตใจและสอนให้รู้จักมารยาทในการแสดงความจงรักภักดี

(3) ให้ตรงต่อหน้าที่และตรงต่อเวลา

(4) ให้ตระหนักถึงความเสมอภาค เคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ

(5) ให้เกิดความยำเกรงต่อความเกรียงไกรของพระผู้เป็นเจ้า รักษาสัจจะ ซื่อตรง ไม่โลภ มีความเป็นธรรม ฯลฯ

(6) เคร่งครัดต่อระเบียบ และเคารพกฎหมาย

(7) รักษาความสะอาด ทั้งสถานที่และร่างกาย มีการอาบน้ำละหมาด เรียกว่า “ทำวุฏอู”

ผู้ใดละทิ้งการทำละหมาด ผู้นั้นไม่ใช่มุสลิม การทำละหมาดจะต้องหันหน้าไปจุดเดียวเพื่อให้ เกิดเอกภาพ การนมัสการนั้นจะทำคนเดียวก็ได้ แต่ถ้ารวมกันทำเป็นหมู่ ๆ ยิ่งจะได้กุศลเพิ่มมากขึ้น

3.อดอาหารในเดือนรอมดอน เป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปฏิบัติตามด้วยศรัทธาต้องงดเว้นจากการ รับประทานอาหาร เครื่องดื่ม และเสวยสุขทางร่างกาย ตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นจนถึงอาทิตย์ตก แต่จะมีการรับ ประทานกันอย่างมากในเวลากลางคืนก็ได้ เดือนรอมมะดอน คือ เดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลาม เรียกว่าปีฮิจญ์เราะฮ์ศักราช

จุดประสงค์ของการถือศีลอด คือ

(1) เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์

(2) ให้รู้จักควบคุมจิตใจและตัดกิเลส

(3) ให้รู้รสของการมีขันติ อดกลั้น หนักแน่น อดทน

(4) ให้รู้รสสภาพของคนยากจนอดอยาก หิวโหย จะทำให้เกิดความเมตตาแก่บุคคลทั่วไป

4.บริจาคทานซะกาต คือ ทรัพย์สงเคราะห์ที่อิสลามกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้มีฐานะที่ บริจาคให้แก่ผู้ยากจนและอื่น ๆ การบริจาคทานอาจจะเสียภาษี หรือบริจาคเพื่อทำบุญในพระศาสนา ก็ได้ โดยคำนึงถึงฐานะและตำแหน่งหน้าที่ของตน

ผู้ที่จะรับทานซะกาต ได้แก่ ผู้ยากจน ผู้ขัดสนอนาถา ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ซะกาต ผู้เข้ารับอิสลามใหม่ ปลดปล่อยทาส ผู้มีหนี้สินล้นพ้นที่เกิดจากการทำดี ผู้ให้วิถีทางแห่งอัลเลาะห์ และ ผู้เดินทางที่ขาดทุนรอน

ประเภทของทรัพย์ที่ต้องบริจาคซะกาต ได้แก่ รายได้จากพืชผล รายได้จากปศุสัตว์ ทองคำ เงิน ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการค้า

5.การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือเดินทางไปแสวงบุญที่เมกกะ โดยปฏิบัติให้ได้อย่าง จริงจังอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต แต่อาจส่งตัวแทนไปแทนได้

จุดประสงค์ของการให้มุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ได้แก่

(1) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

(2) เพื่อแสดงให้เห็นถึงเอกภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของโลก

(3) เพื่อแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีฐานันดรศักดิ์ของสังคมต่างกัน แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าพิธีของพระเจ้าแล้ว ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน จะนำมาซึ่งความเข้าใจต่อกัน ได้ง่าย

ผู้ที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง จะถือเป็นมุสลิมที่เคร่งครัด ศาสนาอิสลามจึงเป็นศาสนาแห่งพระคัมภีร์ อันศักดิ์สิทธิ์ คือ พระคัมภีร์อัล กุรอาน ซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าดลใจให้ปรากฎและไม่บกพร่องตกหล่น ถือว่าเป็นเอกสารที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในวรรณคดีอาหรับทั้งปวง ในพระคัมภีร์จะได้พบเห็นหลายตอนที่ ได้รับการรวบรวมอุดมคติทางจริยธรรมขั้นสูง และการทำลายกิเลสเพื่อความถูกต้อง เพื่อใช้เป็นแนว ทางในการระงับกามราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในความรัก ความต้องการในรูป เป็นต้น

นอกจากกุระอานแล้ว ยังมี ซุนนะ (The Sunna) ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของศาสดา พยากรณ์ และอาดิษ หรือประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อช่วยเหลือเห่าสาวกในการตีความหมาย ของคำสอนให้ถูกต้อง และยังมีอิชฌา หรือข้อตกลงที่เหล่าสาวกเห็นพ้องด้วย แต่ไม่รวมอยู่ในพระ คัมภีร์อัล กุรอานหรือคัมภีร์อื่น ปัจจุบันศาสนาอิสลามมีหลายนิกาย

ในระหว่างมุสลิมด้วยกันแม้ว่าจริยธรรมมีพื้นฐานมาจากศาสนาปัญหาจริยธรรมมักจะเกี่ยว ข้องอยู่กับการเผยแพร่หลักศรัทธา การกระทำผิดเป็นการฝ่าฝืนกฎของพระอัลเลาะห์ ในทัศนะของ ชาวตะวันตกสมัยใหม่ เห็นว่าจริยธรรมมุสลิมจะผสมผสานแบบเดิมกับมาตรฐานสมัยใหม่นิดหน่อย โดยเห็นด้วยกับการบริจาคทาน ความมีใจเอื้ออารี ความซื่อสัตย์ ความมีมนุษยธรรมต่อทาส ให้ ความเอื้อเฟื้อต่อคนกำพร้า และเว้นจากการดื่มน้ำเมา มีการออกพระราชบัญญัติต่อต้านอัตวินิบาต กรรม ความไม่มีมนุษยธรรม การลักขโมย การเล่นการพนัน การพูดให้ร้ายผู้อื่น การให้พยานเท็จ การให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยสูง การพูดหลอกลวง และการบริโภคสิ่งมึนเมา ส่วนบางสิ่งได้แก่ การมีทาสไว้ใช้ และการมีภรรยาหลายคนไม่ได้ห้ามไว้ พระมะหะหมัดยอมรับทาสไว้ใช้ในเป็นส่วนหนึ่ง ของการช่วยสังคมที่พระองค์รับผิดชอบ ดังนั้น พระองค์ได้สร้างสถาบันขึ้นโดยการปฏิรูปให้เหมาะสม อันเป็นความต้องการของมนุษยชาติ ลัทธิมีเมียมาก และลัทธิมีสามีได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ได้เคยปฏิบัติมาเป็นระยะเวลานานก่อนสมัยพระมะหะหมัด พระองค์ไม่เห็นด้วยที่สตรีจะมีสามี ได้หลายคน แต่ให้ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน แต่จำกัดไว้เพียงสี่คน


7.หลักจริยศาสตร์ขงจื้อ

ขงจื้อสอนให้คนประพฤติตามแบบของ ลี ซึ่งถือว่าเป็นความสำคัญสูงสุดในการจัดระเบียบ และวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ 5 ประการ คือ

(1) ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน

(2) ระหว่างบิดากับบุตร

(3) ระหว่างสามีกับภรรยา

(4) ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน

(5) ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย

ลี มีความหมายในลักษณะที่ว่า เป็นความประพฤติที่เหมาะสม ความสุภาพอ่อนน้อมหรือเป็น ระเบียบของสังคมที่ทุกอย่างสมบูรณ์ เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมที่จะช่วยให้ทุกสังคมมีความสุขสงบ (ชูชีพ พุทธประเสริฐ, 2538: 8)


8.หลักจริยศาสตร์ของเต๋า

ในคัมภีร์เต๋าเตกเกง ของลัทธิเต๋า ได้ระบุเกี่ยวกับจริยศาสตร์ว่า คือ ความสงบ ไม่วุ่นวาย แนะนำให้ใช้ความดีงามทั้งกับคนชั่วและคนดี หรือปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความอ่อนโยน จริยศาสตร์ ที่สำคัญ จะเน้นให้บุคคลกระทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

(1) รักสงบ ไม่นิยมความฟุ้งเฟ้อ

(2) ไม่นิยมการคิดที่จะเป็นเจ้าใหญ่ในโลก

(3) ถ่อมตน ไม่วางตนสูงกว่าผู้อื่น

(4) รักษาความดีงามให้คงที่

(5) ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยไม่แฝงไว้ซึ่งความเห็นแก่ตัว (ชูชีพ พุทธประเสริฐ, 2538: 9)


9.หลักจริยศาสตร์ลัทธิชินโต

คำสอนของศาสนาชินโต จะกล่าวถึงสิ่งสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

(1) หัวใจที่แจ่มใส

(2) หัวใจที่บริสุทธิ์

(3) หัวใจที่ถูกต้อง

(4) หัวใจที่ตรง (ชูชีพ พุทธประเสริฐ, 2538: 8)


บรรณานุกรม


ชูชีพ พุทธประเสริฐ. 2538. คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. เชียงราย : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงราย.

ธันยวัฒน์ รัตนสัค. 2544. “ลัทธิชินโต.” (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://welcome.to/thanyawat

วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. 2537. “การพัฒนาภาวะผู้นำ”. บทใน เอกสารการสอนชุดวิชา ประสบการณ์ไทยคดีศึกษา . นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญมี แท่นแก้ว. 2541. จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์.

ประภาศรี สีหอำไพ. 2540. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินิจ รัตนกุล. 2525. โซคราตีส และปัญหาเรื่องความดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


BACK